Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/349
Title: Development of Mathematical Connection skills of Grade 11 Students by using Problem-based Learning with GeoGebra Program
การพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา
Authors: Sornchai Prapngoolueam
ศรชัย ปราบงูเหลือม
Montri Thongmoon
มนตรี ทองมูล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ปัญหาเป็นฐาน
จีโอจีบรา
ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
การวิจัยในชั้นเรียน
Problem-based learning
GeoGebra
Mathematical connection skill
Classroom action research
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:     The proposes of this study were 1) to develop the students’ mathematical connection skills in order to pass the criteria of 50 percent of full score, 2) to study the relationship between the students’ learning achievement and mathematical connection skills, and 3) to study the students’ satisfaction toward the problem-based learning with GeoGebra program learning activities. The target group was 45 students of grade II student in academic year 2017 from Sarakhampittayakhom School, Muang, Mahasarakham. The research methodology is classroom action research which consists of three cycles. The research instruments were: 1) 12 lesson plans of the problem-based learning with GeoGebra program, 2) the mathematical connection skills test, 3) the learning achievement test, 4) the observation form, 5) the interview form, and 6) the satisfaction toward learning activity test. The data was analyzed by using mean, percentage, standard deviation and Pearson correlation coefficient. The results were as follows     1. The students’ mathematical connection skills mean scores in the first, the second, and the third cycle were 45.43, 57.47 and 62.76 percent respectively. Students can identify all mathematical knowledges which necessary to use in solving problems. Moreover, students be able to connect all mathematical knowledges together reasonably which a little recommendations guidance and support from teacher.     2. The relationship between students’ learning achievement and mathematical connection skills was positive, at a high level, with a statistical significance at the level of .05.     3. The level of students’ satisfaction toward problem-based learning with GeoGebra program learning activities was in high level.
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติกับระดับทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนสารคามพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 37 คน รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน 5) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน     ผลวิจัยปรากฏดังนี้         1) นักเรียนมีคะแนนทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ที่ได้จากแบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบราในวงจรปฏิบัติการที่ 1 2 และ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 45.45 57.49 และ 62.78 ตามลำดับ เมื่อนำร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้เทียบกับเกณฑ์ พบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ และพอใช้ ตามลำดับ อีกทั้งจากการสังเกตพฤติกรรมการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์จากแบบสังเกตพฤติกรรมพบว่า นักเรียนสามารถระบุความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นในการแก้ปัญหาได้อย่างครบถ้วน และยังสามารถนำเอาความรู้เหล่านั้นมาทำการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ โดยครูเพียงแค่ให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทาง และสนับสนุน         2) คะแนนทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ มีความสัมพันธ์กันทางบวกด้วยระดับความสัมพันธ์สูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบราอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/349
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010556004.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.