Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/355
Title: | Development of Self-Control Program for Enhancing Desirable Behavior in Mathematics of Lower Secondary School Students การพัฒนาโปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
Authors: | Pattanasak Aphaisom พัฒนศักดิ์ อภัยสม Prasert Ruannakarn ประเสริฐ เรือนนะการ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | โปรแกรมการควบคุมตนเอง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ วิชาคณิตศาสตร์ self-control program desirable behavior mathematics |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this study were 1) to develop a self-control program for enhancing desirable behavior in mathematics of lower secondary school students 2) to study the results of using the program as follows: 2.1) compare the average score of desirable behavior in mathematics before using the program (Pre-test) and after using the program (Post-test) and, 2.2) compare the average score of desirable behavior in mathematics after using the program (Post-test) and after joining the program for two weeks (Follow). The Sample of this study was 30 students derived by using the multi-stage random sampling technique. The research instruments used in this study were 1) the self-control program for enhancing desirable behavior in mathematics of secondary school students 2) program evaluation form and, 3) the desirable behavior in mathematics 60 items form and scale with reliability of 0.95. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation and one - way repeated measure ANOVA F-test.
The results showed that 1) self-control program for enhancing desirable behavior in mathematics of lower secondary school students, created and developed by the researcher was determined with the content validity and overall appropriateness at the most level 2) the result of using the program were as follows: 2.1) the average score of desirable behavior in mathematics after using the program (Post-test) was higher than before using the program (Pre-test) with a .05 level of significance and, 2.2) the average score of desirable behavior in mathematics after using the program (Post-test) with a two weeks participation (Follow) was not different. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนใช้โปรแกรม (Pre-test) และหลังใช้โปรแกรม (Post-test) และ 2.2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังใช้โปรแกรม (Post-test) และหลังเข้าร่วมโปรแกรม 2 สัปดาห์ (Follow) ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนจำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) โปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบประเมินโปรแกรม และ 3) แบบวัดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเอฟสำหรับทดสอบสมมติฐานของการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One - way repeated measure ANOVA F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการใช้โปรแกรมดังนี้ 2.1) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังใช้โปรแกรม (Post-test) สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม (Pre-test) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังใช้โปรแกรม (Post-test) และหลังเข้าร่วมโปรแกรม 2 สัปดาห์ (Follow) ไม่แตกต่างกัน |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/355 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010584018.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.