Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/363
Title: Developing a Program to Enhance Teacher’s Competency on Classroom Management for Schools under Nakhonratchasima Primary Educational Area Office 7
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
Authors: Nipaporn Saiphoklang
นิภาภรณ์ ซ้ายโพธิ์กลาง
Sivakorn Krissanasuvan
สิวะกรณ์ กฤษณสุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครู
การบริหารจัดการชั้นเรียน
Program to Enhance Teacher's Competency
Classroom Management
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study the factors and competency indicators of classroom management of teachers in schools under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7, 2) to study the current state and desirable conditions of classroom management competency of teachers in schools under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7, and 3) to develop the program for enhancing classroom management competency of teachers in schools under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7. There were 3 phases of implementation in research and development including: 1) studying the factors and competency indicators of classroom management; the 5 professionals were the group of informants. The research instrument is the evaluation form. The statistics used for analyzing data were mean, and standard deviation. 2) Studying the current state and desirable conditions of teachers on classroom management competency; the samples consisted of 322 advisory teachers. The research instrument is the questionnaire. The statistics used for analyzing data were mean, and standard deviation.  3) The program development for enhancing classroom management competency; the 7 program assessors were the group of informants. The research instrument is evaluation form. The statistics used for analyzing data were mean,  standard deviation and Modified Priority Need Index.            The results of the study were as follows: 1. There were 5 element and 27 indicators on competency indicators of the classroom management of teachers in schools under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7.  The first element was  class atmosphere and safety (5 indicators). The second was  the classroom management (7 indicators). The third element was classroom information (4  indicators). The fourth was positive behavior between teacher and  student (6 indicators). The fifth was Facility for learning (5 indicators). The suitability and probability were at high level. 2. The results of the current and desirable conditions  about competency indicators of the classroom management of teachers in schools under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7. Were reported that the program’s possibility, suitability and utility were  at high level with the X̄ of 4.63 3. The result of development program of development  for enhancing classroom management Competency of teachers in schools under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 7 were 9 categories. The first category was  the background and important of program. The second category was the aim of program. The third category was  the goal. The fourth category was the technic of development. The fifth category was the structure of program . The sixth category was content. The seventh category was how to do activity. The eighth was the technic and tool. The ninth the  an evaluation. The program was divided into 5 Module. The Module 1 was    class atmosphere and safety. The Module 2 was the classroom management. The Module 3 was classroom information . The Module 4 was positive behavior between teacher and  student. The last  was facility for learning. The results of possibility, suitability  were  at high level.   
ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 3) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนประจำชั้น จำนวนทั้งสิ้น 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปแกรม 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI ผลการวิจัยพบว่า 1. การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ และ 27 ตัวชี้วัด คือ 1) การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน มี 5 ตัวชี้วัด 2) ด้านการกำกับดูแลชั้นเรียน มี 7 ตัวชี้วัด 3) ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา มี 4 ตัวชี้วัด 4) การส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกระหว่างครูกับนักเรียน มี 6 ตัวชี้วัด 5) ความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มี 5 ตัวชี้วัด ซึ่งทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัดมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด 2. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสี เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̄ = 3.80) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสี เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̄ = 4.63) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสี เขต 7  ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 9 ส่วน ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เป้าหมาย 4) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 5) โครงสร้างของโปรแกรม 6) เนื้อหา 7) แนวการจัดกิจกรรม 8) เทคนิคและเครื่องมือ และ 9) การประเมินผล และขอบข่ายเนื้อหา แบ่งออก 5 Module ได้แก่ 1. การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน 2. ด้านการกำกับดูแลชั้นเรียน 3. ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา 4. การส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกระหว่างครูกับนักเรียน และ 5. ความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  และ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ ระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/363
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010586015.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.