Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/373
Title: The Development of Teachers in  Teaching and Learning   of Local sufficiency schools for Udon Thani Municipality
การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
Authors: Wasana Pithak
วาสนา พิทักษ์
Thanyatorn Sriwichien
ธัญญธร ศรีวิเชียร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
The Development of Teachers in Teaching and Learning
Local sufficiency schools
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims 1) to study the current condition And desirable condition Teacher development in teaching and learning of local self-sufficient schools for schools under the Municipality of Udonthani Municipality 2) To develop teachers in teaching and learning of local self-sufficient schools for schools under the Municipality of Udon Thani Conducting research This research is a research and development. The population consisted of 469 teachers under the Udon Thani Municipality School. The sample used in the research was 210 people. The study was divided into 2 phases. Phase 1 studied the current condition. And desirable conditions for the development of teachers in teaching and learning of local self-sufficient schools for schools under the Udon Thani Municipality The sample group consisted of 210 teachers. The instrument used for data collection was the estimation scale with 5 levels, 14 items with the confidence value of .97. Phase 2 Teacher development in teaching and learning of the school was sufficient. Local for schools under the Udon Thani Municipality Data contributors are 5 experts. The statistics used for data analysis are as follows: percentage, mean, standard deviation And the value of the necessary needs index (PNI modified)              Research results appear as follows.                1. Current conditions and desirable conditions for the development of teachers in teaching and learning of local self-sufficient schools for schools under the Municipality of Udonthani Learning unit of the Sufficiency Economy Philosophy at a high level and integrating the philosophy of sufficiency economy into organizing secondary learning activities and desirable conditions The overall picture is in a high level, in the following order. Media and learning resources about the philosophy of sufficiency economy at a high level and integrating the philosophy of sufficiency economy into learning activities And index values, prioritizing the needs of the needs (PNI modified) of the current condition And the overall desirable condition by sorting the need for necessity from the least as follows: media and learning resources about the philosophy of sufficiency economy The level of the importance index of necessary needs (PNI modified) in the participation Secondly, measurement and evaluation of learning activity management according to the philosophy of sufficiency economy            2. Teacher development in teaching and learning of local self-sufficient schools for schools under the Udon Thani Municipality The results of the study of schools with best practices under the Udon Thani Municipality Obtained from synthesis Appear the following results 4 steps of teacher development process and teaching and learning management activities of local self-sufficient schools 4 In the aspect of the questionnaire, the opinions of experts with the opinion that they are appropriate, in each aspect, are at a high level. The most important aspect When considering the average order, the most is the learning unit of the sufficiency economy philosophy. And the overall possibility of each side is at a high level When considering the average order, the most is the integration of the sufficiency economy philosophy into learning activities. Every item is appropriate. With the highest average of 1 item and the average of 13 points when considering the highest mean value, ie teachers arranged learning activities that integrated the philosophy of sufficiency economy in the subject group Learning And all possible possibilities, with the highest average of 1 item and the average of 13 items Philosophy of sufficiency economy in the learning strand The results of the development of teacher guidelines for teaching and learning management of local self-sufficient schools for schools under the Udon Thani Municipality Is a document Contains important Principles and reasons, objectives, characteristics and development of teacher guidelines for teaching and learning of local sufficient schools Guidelines for teacher development in teaching and learning of local sufficient schools Scope and mission of teacher development in teaching and learning of local sufficient schools The conceptual framework for the development of teacher guidelines in teaching and learning of local sufficiency schools and learning activity management            By summarizing teacher development in teaching and learning of local self-sufficient schools for schools under the Udon Thani Municipality Consisting of 4 teacher development processes and the scope and mission of teaching and learning of the local self-sufficient schools of the schools under the Municipality of Udon Thani, consisting of 4 areas which can be applied to develop the teacher guidelines in the teaching and learning of the school enough Only local Of all schools
  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน  และสภาพที่พึงประสงค์ การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี 2) เพื่อการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  การดำเนินการวิจัย  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรได้แก่ ครู สังกัดโรงเรียนเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 469 คน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 210 คน โดยดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1ศึกษาสภาพปัจจุบัน  และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  กลุ่มตัวอย่าง ครู จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบร่วมข้อมูล คือ แบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ จำนวน 14 ข้อมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97    ระยะที่ 2  การพัฒนาแนวทางครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ  5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI modified)            ผลการวิจัยปรากฏดังนี้                 1.  สภาพปัจจุบัน  และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูในจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  สภาพปัจจุบัน ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมาก และการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระดับรองลงมา ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับดังนี้ สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมาก และการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และค่าดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น  (PNI modified)  ของสภาพปัจจุบัน  และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม  โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย  ดังนี้  สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง    ระดับค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น  (PNI modified)  มีระดับมาก  รองลงมาการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                 2. การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ผลการศึกษาของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี  (Best  Practice)  สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  ได้จากการสังเคราะห์ ปรากฏผลดังต่อไปนี้ กระบวนการพัฒนาครู  4 ขั้นตอน และภารกิจการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น  4  ด้าน  ผลการสอบถามความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมโดยรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีความสำคัญสูงสุด  เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเรียงลำดับมาก ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็นไปได้โดยรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยลำดับมาก ได้แก่ การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ส่วนรายข้อมีความเหมาะสมทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ข้อและค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากจำนวน 13 ข้อ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยลำดับมาก ได้แก่ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้  และความเป็นไปได้ ได้ทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 1 ข้อ และค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 13 ข้อ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยลำดับมาก ได้แก่ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้  ผลการจัดทำการพัฒนาแนวทางครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี เป็นเอกสารรูปเล่ม มีสาระสำคัญประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์  ลักษณะและการพัฒนาแนวทางครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น  ขอบข่ายและภารกิจการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวทางครูในการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้                โดยสรุป  การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  ประกอบด้วยกระบวนพัฒนาครู 4 ขั้นตอน  และขอบข่ายและภารกิจการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  ประกอบด้วย  4  ด้าน  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ของโรงเรียนได้ทุกแห่ง  
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/373
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59030580046.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.