Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/375
Title: The study of discussion card and panel discussion to develop communicative strategy  skills and talking-risk in speaking English for Mathayomsuksa 3
การศึกษาการใช้เทคนิคอภิปรายแบบดิสคัสชั่นคาร์ด (Discussion card) และแบบพาเนลดิสคัสชั่น (Panel discussion) เพื่อพัฒนากลวิธีสื่อสารทักษะการพูดและความกล้าเสี่ยงในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Narumon Charoen-pru
นฤมล เจริญปรุ
Prasong Saihong
ประสงค์ สายหงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การอภิปราย
เทคนิคการอภิปราย
การ์ด
discussion card
panel discussion
debate
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study of discussion card and panel discussion to develop communicative, skills and talking-risk in speaking English for Mathayomsuksa 3 Bankhamsametbamrung school, Buriram  province is a place  with foreigners travel regularly, also the students can be used in daily life. The Discussion and debate activities by the Thornbury: 2005, recommended activities to develop speaking skills. Activities discuss and debate, it is one of the activities to develop skills in speaking as well. The purposes of this research were: 1) to determine the effectiveness of activities to develop speaking skills according to the 70/70, 2) to find the index of the effectiveness of activities to develop speaking skills, 3) to compare the speaking skills,  4) to study the communication strategies, and 5) to study the strategies risk. The Samples used in this study consisted of the students in Mattayomsuksa 3 with 41 students from two classrooms were selected by Cluster Random (Cluster-Random Sampling). They were assigned into 2 groups: Experimental group 1 was learning activities Discussion Card and experimental group 2 was learning activities Panel discussion. The instrument employed to collect data were 8 lesson plans, practice, speaking test, observation communicative. The statistics used for analyzing were percentage, arithmetic mean, standard deviation, and t-test (Independent Samples). The research findings were as follow : 1. Effectiveness of learning activities to improve speaking skills and risk-based learning in speaking English by using Discussion Card for Mathayomsuksa 3 Discussion Card 72.07 / 71.88 and the Panel Discussion is 66.12 / 65.33 2. Effectiveness index of learning activities to improve speaking and listening skills in speaking English using the Discussion Card is 0.4706, indicating that the student There were 47.06% of the progress in learning, and the Panel Discussion was 0.3634, indicating that the students had the academic progress of 36.34%. 3. Speaking skills of Mathayomsuksa 3 students who are learning English using the Discussion Card, and panel discussion activities were statistically significantly different at the .05 level. The groups were managed by Disaster Recovery had a higher average score than the Panel Discussion. 4.The communication strategies of the Mathayomsuksa 3 students, who were managed using the Discussion Card, were 81.25 percent and 81 percent, respectively. Panel Discussion. The communication strategies used were 67.81%. The groups were taught using the Discussion Card had an average score higher than that of the Panel Discussion activities. 5. Talking Risk of Mathayomsuksa 3 students. Learning through Discussion Card has an average risk of 67.14% and Panel Discussion were 61.43% risky. The groups were taught by using Discussion Card had an average score higher than that of the panel discussion activities. In summary, learning English activities. Using the Discussion Card is suitable for use in organizing learning activities. To improve the speaking skills and the daring of students.
           การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคอภิปรายแบบดิสคัสชั่นคาร์ด และแบบพาเนลดิสคัสชั่น ในการพัฒนากลวิธีสื่อสารทักษะการพูดและความกล้าเสี่ยงในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 70/70 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบทักษะการพูดโดยใช้เทคนิคอภิปรายระหว่างกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น 4) ศึกษาการใช้กลวิธี การสื่อสาร และ 5) ศึกษาความกล้าเสี่ยงพูดในขณะที่เรียนโดยเทคนิคอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขามเสม็ดบำรุง อำเภอหนองหงส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 41 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 20 คน จัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด และกลุ่มทดลองที่ 2 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 21 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น กิจกรรมละ 8 แผน แบบทดสอบทักษะการพูด แบบสังเกตกลวิธีสื่อสารและแบบสังเกตพฤติกรรมความกล้าเสี่ยงในการพูดของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t– test (Independent Samples)            ผลการวิจัย พบว่า                1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้เทคนิคอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 72.07/71.88 และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 66.12/65.33                2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด มีค่าเท่ากับ 0.4706 และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น มีค่าเท่ากับ 0.3634                3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น                    4. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด มีการใช้กลวิธีสื่อสาร เฉลี่ยร้อยละ 81.25 และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น มีการใช้กลวิธีสื่อสาร เฉลี่ย ร้อยละ 67.81 โดยกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบพาเนลดิสคัสชั่น                5. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด มีความกล้าเสี่ยง เฉลี่ยร้อยละ 67.14 และกิจกรรมพาเนลดิสคัสชั่น มีความกล้าเสี่ยง เฉลี่ยร้อยละ 61.43 โดยกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบกิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ดมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบพาเนลดิสคัสชั่น            โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมดิสคัสชั่นคาร์ด มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและความกล้าเสี่ยงของนักเรียนได้เป็นอย่างดี    
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/375
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010585039.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.