Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/418
Title: DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT MODEL FOR EARLY CHILDHOOD TEACHERS USING PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY OF THE SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Panasaya Rattanapun
ปนัสยา รัตนพันธุ์
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Learning Management
Professional Learning Community
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research purpose to : 1. study the components of learning management for early childhood teachers; by using  the professional learning community concept of school Under the Office of the Basic Education Commission.2. study the essential needs of learning management for preschool teachers. for early childhood teachers; by using  the professional learning community concept of school Under the Office of the Basic Education Commission. 3. Develop a learning management model for early childhood teachers; by using  the professional learning community concept of school Under the Office of the Basic Education Commission. The instrument used to collect data was a questionnaire. The coefficient value of alpha coefficient was .90, with the classification coefficient ranged between .20 and .65.The population sample consisted of 67 person were  administrators and early childhood teachers from Anuban School  in Southern Andaman. Statistics used in the analysis were percentage, mean, standard deviation and content analysis by using description. The research was divided to 3 phases and the results were  as follows: Phase 1. The components of learning management for early childhood teachers using professional learning community concept consist of five components: 1) The principles of learning management for early child teachers using the  professional learning community concept. 2) The Supporting the use of professional learning community concepts by school administrators. 3) The development of professional learning management for teachers. 4) Learning to use PLC tools. 5) Development of learning management skills for preschool children. Phase 2. A study of the need for learning management for early childhood teachers using the professional learning community concept in school. Under the Office of the Basic Education Commission in descending order is: 1) Development of learning management skills for preschool children.2) Learning to use PLC tools 3) Support for the use of the professional learning community concept of school administrators. 4) Principles of learning management for early childhood teachers using of professional learning community concept. and 5) The development of professional learning management for teachers. Phase 3. The learning management model for early childhood teachers by using the professional learning community concept of the school Under the Office of the Basic Education Commission. That Includes: 1. Community learning strategy, 2. The process of learning the community is "PDR" And 3. Learning activities 7sets. The results of the evaluation of the suitability and feasibility of the overall model showed that the suitability and feasibility were at the highest level.  
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20 - .65 และมีค่าความเชื่อมั่น (ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา) ทั้งฉบับเท่ากับ .90กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูล  ประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน และกลุ่มครูปฐมวัย จำนวน 67 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด  5 จังหวัดในภาคใต้ฝั่งอันดามัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยใช้การบรรยายเชิงพรรณนา  ผลการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ปรากฎดังนี้ 1.  ผลการศึกษาองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชาการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย 2) การสนับสนุนการใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา  3) การพัฒนาวิชาชีพด้านจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย 4) การใช้เครื่องมือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5) พัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2) การเรียนรู้การใช้เครื่องมือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) การสนับสนุนการใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา 4) หลักการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 5) การพัฒนาวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย ตามลำดับ 3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1. กลยุทธ์การเรียนรู้ของชุมชน 2. กลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานของขุมขน คือ “PDR” และ 3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 7 ชุด  และผลการประเมินระดับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยรวม พบว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/418
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010560005.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.