Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/423
Title: The Development of Blended Learning System by Using Gamification Based Learning to Enhance the Mathematics Problem Solving Skills and Connection Skills to Real Life for Primary schools
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา
Authors: Suchanya Yuangklang
สุชัญญา เยื้องกลาง
Thanadol Phuseerit
ธนดล ภูสีฤทธิ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
เกมมิฟิเคชั่น
คณิตศาสตร์
ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง
Blended Learning
Gamification
Mathematic
Problem Solving Skill
Connection Skills to Real Life
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The specific objectives of the research were: 1) to study the current problems, conditions, and requirements of the teaching mathematics and the components of the blended learning system by using gamification; 2) to develop blended learning system by using gamification to enhance the mathematics problem-solving skills and connection skills to real life for primary school students; 3) to investigate the results of the developed blended learning system by using gamification; and, 4) to analyze the students’ satisfaction to the blended learning system by using gamification. The research was divided into 3 phases : Phase 1, studying the current conditions, problems, and requirements for the mathematical teaching of the instructors and determine the model elements. Phase 2 : a developing of the blended learning system by using gamification ; and Phase 3 : investigating the results of using the implemented blended learning system by using gamification. Samples comprise: First stage, 372 mathematics teachers ; Second stage, Experts ; Third stage, 35 Phathom Suksa Six students from elementary school The instruments used in this research were : 1) the learning system developed 2) problem-solving skills test assessment 3) the connection skills test assessment 4) achievement test, and 5) satisfaction questionnaire of students about implemented blended learning system. Data and analyzed to find percentage, mean, standard deviation and the dependent samples t-test. The results found that : 1.  The blended learning system by using gamification enhance the mathematical problem problem-solving skills and connection skills to real life for primary schools in 5 components were: 1) Input 2) Process 3) Control 4) Output 5) Feedback. The teaching system was divided into two phases as follows: 1) prepare learning and teaching, 2) organize instructional process in six steps i.e. presents the problem, teaching have 4 activities ; (1) search (2) plan and select (3) solve (4) share and check, summarize, practice, apply and evaluation. Processes of gamification consisted of Points, Badges, Levels, Leaderboard, and Challenges. The experts in the field are highly qualified and can be used in teaching activities in Primary schools. 2. Regarding the usage result of the blended learning system by using gamification enhance the mathematics problem-solving skills and connection skills to real life for primary schools were significantly higher at 0.01 level. 3.  Students satisfied with the learning system developed at the high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐาน และศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 2) พัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา 3) ศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนการสอน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบระบบการเรียนการสอนโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการเรียนการสอนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐาน ระยะที่ 3 ทดลองใช้ระบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จํานวน 372 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 7 ท่าน เพื่อทำการประเมินและรับรองระบบการเรียนการสอน และกลุ่มที่ 3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโจดนาตาล สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จํานวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent  t-test )   ผลการวิจัยพบว่า 1.  ระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) การควบคุม 4) ผลลัพธ์ 5) ข้อมูลป้อนกลับ โดยขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอน แบ่งออก 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมก่อนการเรียนการสอน และขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอสถานการณ์ปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นสอน มี 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) ค้นหาปัญหา (2) วางแผนหาวิธีการแก้ปัญหา (3) ดำเนินการแก้ปัญหา (4) การนําเสนอผลและตรวจสอบการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปความคิดรวบยอด ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกทักษะ ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล การใช้เกมิฟิเคชั่นในขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย (1) แต้มสะสม (Points) (2) เหรียญตราสัญลักษณ์ (Badges) (3) ลำดับขั้น (Levels) (4) ตารางอันดับ(Leaderboard) (5) ความท้าทาย (Challenges) ผลการประเมินระบบการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองว่าสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 2.  ผลการใช้ระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.  ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/423
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010563009.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.