Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/424
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Somnuda Summanuch | en |
dc.contributor | โสมณุดา สัมมานุช | th |
dc.contributor.advisor | Thanadol Phuseerit | en |
dc.contributor.advisor | ธนดล ภูสีฤทธิ์ | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2019-11-19T08:55:21Z | - |
dc.date.available | 2019-11-19T08:55:21Z | - |
dc.date.issued | 25/9/2018 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/424 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | This research aimed to examine the components, design, and develop the information technology aspect Learning environment based on the philosophy of sufficiency economy for undergraduate students. The results of system usage in the understanding of the philosophy of sufficiency economy, the desired of sufficiency characteristics, and the attitude to the philosophy of sufficiency economy were also investigated. The samples in this research were 1) the 374 lecturers and undergraduate students of the university in the Northeast of Thailand to gather the survey results , 2) the 7 experts to evaluate the components and the developed system, and 3) the 50 students to experiment the usage of the developed system. The research instruments were 1) the survey about current conditions, problems, and requirements of the learning environment, 2) the philosophy of sufficiency economy understanding test, 3) the desired of sufficiency characteristics assessment test, and 4) the philosophy of sufficiency economy attitude test. The research processes were divided into 3 phrases which were 1) the study and synthesize the components of the system phrase, 2) the system development phrase, and 3) the experiment and results analysis phrase. The results found that: 1. The awareness of the philosophy of sufficiency economy and the information technology aspect learning environment were in moderate level, meanwhile the learning processes and assessments were in high level. The problems in information technology aspect learning environment, the learning processes, and the assessment were in low level, moderate level, and high level, respectively. 2. The system consisted of 3 main components. The input component comprised the information technology aspect learning environment and the contents of the philosophy of sufficiency economy. The process component comprised 1) determine the objective, 2) define the target, 3) analyze the quality, 4) define the desired characteristics, 5) define the development method, 6) define the development tools, 7) operate the environment, and 8) evaluate the results. The philosophy of sufficiency economy which consists with modesty, reasonability, and immunity was applied into the processes of hardware procurement, learning media development, and human development. The output component comprised 1) the desired of sufficiency characteristics, 2) the understanding in the philosophy of sufficiency economy, and 3) the attitude towards the philosophy of sufficiency economy. 3. Regarding the developed system usage results found that the understanding in the philosophy of sufficiency economy, the desired of sufficiency characteristics, and the attitude towards the philosophy of sufficiency economy of the experiment group were higher than the control group statistically significant at the level of .05 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบ ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมถึงศึกษาผลการนำระบบที่พัฒนาไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนรู้ให้มี ความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณลักษณะพึงประสงค์ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีเจตคติที่ดีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของระบบโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์เอกสารงานวิจัย และสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของอาจารย์และนักศึกษา ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตลอดจนเครื่องมือวัดต่างๆ ระยะที่ 3 ทดลองจัดสภาพแวดล้อมและเก็บรวมรวมและวิเคราะห์ผลการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 374 คน ในการสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดสภาพแวดล้อม 2) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินองค์ประกอบและระบบที่พัฒนาจำนวน 7 คน และ3) นักศึกษาจำนวน 50 คนเพื่อใช้ในการทดลองใช้ระบบที่พัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) แบบวัดคุณลักษณะพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ4) แบบวัดเจตคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในด้านการรับรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและด้านสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและด้านการประเมินผลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในด้านสภาพแวดล้อมด้านสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับน้อย และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในด้านการประเมินผลอยู่ในระดับมาก 2. องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางด้านสารสนเทศ และเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการ ประกอบด้วย 1) กำหนดเป้าหมาย 2) กำหนดมาตรฐานคุณภาพ 3) วิเคราะห์คุณภาพ 4) กำหนดลักษณะที่พึงประสงค์ 5) กำหนดวิธีการพัฒนาสภาพแวดล้อม 6) กำหนดเครื่องมือในการพัฒนาสภาพแวดล้อม 7) ดำเนินการจัดสภาพแวดล้อม และ 8) ประเมินผล โดยมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ความพอประมาณ (ทางสายกลาง) มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ควบคู่กับความรู้และคุณธรรม มาใช้กับกระบวนการ การจัดหาอุปกรณ์ การพัฒนาสื่อการสอน และการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร และผลลัพธ์ ประกอบด้วยคุณลักษณะพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ มีเจตคติที่ดีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. ผลการทดลองใช้ระบบ พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดสภาพแวดล้อมมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณลักษณะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านคุณธรรมจริยธรรม และมีเจตคติที่ดีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ | th |
dc.subject | หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | th |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ | th |
dc.subject | Learning Environment | en |
dc.subject | The Philosophy of Sufficiency Economy | en |
dc.subject | Information Technology | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | The Development of Information Technology Aspect Learning Environment Based on The Philosophy of Sufficiency Economy for Undergraduate Students | en |
dc.title | การพัฒนาระบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55010563010.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.