Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/426
Title: The Development of Virtual Learning Environment Model to Fortify  Life Skills for Teenage of Thailand
การพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทย
Authors: Songsak Haowharn
ทรงศักดิ์ ห้าวหาญ
Chaiyot Ruangsuwan
ไชยยศ เรืองสุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือน
ทักษะชีวิต
ระบบการฝึกอบรม
Virtual Learning Environment
Model of Life Skills
Critical Events Model
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Developing virtual learning environment model to fortify life skills for teenagers in Thailand is an application between information technology and communication for managing an instruction of life skills and expanding opportunities of Thai teenagers to access to the skills contents.  This research aimed to 1) study the present situations of life skills instruction and examine the current theoretical concepts of life skill teaching via information technology; 2) developed the virtual learning environment model to fortify life skills for teenagers in Thailand; 3) study effects of the model created; and 4) ensure the model created.  There were 4 sample groups: 1) 176 specialists in life skills; 2) 45  teenagers at the age of 12-18; 3) 5 experts in related fields; and 4) 9  specialists in related fields.  The research instruments were: 1) a questionnaire of current situations in life skill teaching and its desirable virtual learning environment for a specialist in life skill teaching; 2) a questionnaire of current situations in life skill teaching and its desirable virtual learning environment for teenagers; 3) the created virtual learning environment model for life skill in teenagers; 4) a form of learning achievement or life skill test; and 5) an approval form of the virtual learning environment in life skills inThai teenagers for experts. The findings were as follows: 1. Regarding the current situations of virtual learning environment from teachers, it revealed that the life skills should be taught to all teenagers.  The contents of life skills should be revised in accordance with the the social situation and its current time.  However, the limitation of time could not cover all of the contents of the life skills. 2. There were 4 components of the model of virtual learning environment to fortify life skills for Thai teenagers: 1) the input factors were learners, instructors, philosophy, contents of life skills, objectives, learning media, learning resources, the internet communication system, evaluation, and learner follow-up system; 2) the processes was the participatory learning and web-based instruction; 3) the output were the achievements of learning and competency (knowledge, attitudes, and skills) and 4) the feedback from the previous 3 components to improve the model. 3. The model of virtual learning environment to fortify life skills for Thai teenagers gained the coefficient of the process at (E1) 0.89, the coefficient of the output at (E2) 0.90, and the coefficient of learning program at 89/90.  The learning achievement or life skills were significantly increased at 0.05. 4. According to the model approval from the 5 experts of the study, it could be said that the model of virtual learning environment to fortify life skills for Thai teenagers could be implemented in life skills teaching in moderate degree (at 3.38).
การพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทย  เป็นการนำเอาคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิต  เพื่อขยายโอกาสให้วัยรุ่นไทยให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระวิชาทักษะชีวิตได้มากขึ้น  การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการเรียนการสอนทักษะชีวิตในปัจจุบันและศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) พัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทย  3) ศึกษาผลการใช้โมเดลที่พัฒนาขึ้น 4) รับรองโมเดลที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 4 กลุ่มดังนี้ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญการสอนทักษะชีวิตจำนวน 176 คน  2) กลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี จำนวน 45 คน  3)  กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  จำนวน 5 คน  4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตในปัจจุบันและสภาพแวดล้อมเสมือนในการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตที่พึงประสงค์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนทักษะชีวิต  2) แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตในปัจจุบันและสภาพแวดล้อมเสมือนในการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตที่พึงประสงค์สำหรับวัยรุ่น 3) โมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทยที่พัฒนาขึ้น  4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือแบบวัดทักษะชีวิต 5) แบบประเมินรับรองโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทยสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้         1. สภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตในปัจจุบัน  ผู้สอนมีความเห็นว่า เยาวชนทุกคนควรได้รับการสอนทักษะชีวิต  ควรมีการปรับปรุงเนื้อหาวิชาทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและยุคสมัยตลอดเวลา แต่การจัดกิจกรรมค่ายทักษะชีวิตในปัจจุบัน มีข้อจำกัดเรื่องเงื่อนไขเวลาและทำให้สอนได้ไม่ครอบคลุมเนื้อหาทักษะชีวิตทั้งหมด         2. โมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทยที่พัฒนาขึ้น  มีองค์ประกอบ 3 กลุ่ม  ได้แก่  1) กลุ่มปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ผู้เรียน ผู้สอน ปรัชญา เนื้อหาวิชาทักษะชีวิต วัตถุประสงค์ สื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ระบบติดต่อสื่อสารของอินเทอร์เน็ต ระบบประเมิน และระบบติดตามผู้เรียน 2) กลุ่มกระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนการสอนผ่านเว็บ 3) กลุ่มผลลัพธ์ ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ (ความรู้  เจตคติ และทักษะ) และ 4) ข้อมูลป้อนกลับ โดยข้อมูลจาก 3 กลุ่มเพื่อปรับปรุงโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทย         3. โมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทยที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) =0.89    ค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) =0.90  และมีค่าประสิทธิภาพของโปรแกรมบทเรียน  = 89 / 90  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือทักษะชีวิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05         4. ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่านได้ประเมินและให้การรับรองโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทย หมายความว่าโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่นไทย สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนทักษะชีวิตได้อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/426
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010562001.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.