Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/431
Title: Development of Social-Service Instructional Model To Encourage The Public  Mind of The Grade 8th  Students
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Rungrote Wangchorm
รุ่งโรจน์ หวังชม
Prasong Saihong
ประสงค์ สายหงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
รูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคม
จิตสาธารณะ
Development
Social-Service Instructional Model
The Public Mind
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of the study was 1) to develop the instructional model involving social service in order to encourage the public mind of the grade 8th students and 2) to investigate the effectiveness of the instructional model involving social service in order to encourage the public mind of the grade 8th students The methodology of this study consisted of 3 phases as followed: 1 to study the context, current conditions, concepts, theories, and researches relating to the instructional model in the way of social service; 2 to develop the instructional model involving social service in order to promote the public mind of the grade 8th students; 3 to investigate the effectiveness of the instructional model involving social service in order to encourage the public mind of the grade 8th students at Sa Wai Jeek Pittayakhom School in the 2nd semester in the academic year 2018. The 35 subjects were selected with purposive sampling. The tools used for collecting data were the reflexive-mind records of students conforming to evaluation form of public mind. Mean and standard deviation were employed to analyze data. The finding showed as followed. 1. From finding the basic information, through interviewing the teachers involving in the behavior of public mind of the subjects, it showed that the grade 8th students still faced problems and needed to be developed their public-mind qualities more both inside and outside the school in helping others and participating in any activities of school and society. These could be achieved via arranging various instructional methods in accordance with concept synthesis concerning with the involving theories encouraging public mind desirably. However, there were 6 components of the instructional model involving social service in order to encourage public mind; that is, (1) concepts and principal theories, (2) objectives, (3) procedures of the learning model, (4) social system, (5) principle of reaction, (6) support system. It was found that there were 4 main procedures of the service learning model which consisted of preparation ,action ,reflection and celebration. 2. The evaluation of public mind of the grade 8th students showed that the students had the public mind quality at high level. Besides, the results from reflexive-mind records showed that the instructional model was suitable  for encouraging the public mind of the students properly.
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบทสภาพปัจจุบันและแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยการบริการสังคม ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวายจีกพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการใช้รูปแบบจำนวน 35 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บันทึกสะท้อนคิดของนักเรียนตามรูปแบบ แบบประเมินจิตสาธารณะนักเรียนตามรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จากการสัมภาษณ์ครูผู้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสดงออกด้านจิตสาธารณะของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ยังมีปัญหาและความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาคุณลักษณะด้านการมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น ที่เป็นพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ในด้านการช่วยเหลือผู้อื่น และด้านการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน และสังคม โดยจัดการเรียนรู้ส่งเสริมในบริบทที่หลากหลายและเหมาะสมผ่านกระบวนการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสนับสนุน ในการจัดทำร่างรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะที่พึงประสงค์ ซึ่งผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุนซึ่งด้านขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2)ลงมือปฏิบัติการ 3) การสะท้อนกลับ และ 4) จัดแสดงผลงาน 2. ผลการประเมินจิตสาธารณะของผู้เรียนตามรูปแบบ พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะโดยรวมในระดับสูง ส่วนผลการสะท้อนคิดเห็นของนักเรียน พบว่า รูปการเรียนรู้มีความเหมาะสมสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้นได้
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/431
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010564010.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.