Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/432
Title: Performance  Development  Program for Badminton Players 
การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน
Authors: Wanchai Kongpolprom
วันชัย กองพลพรหม
Chairat Choosakul
ชัยรัตน์ ชูสกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: สมรรถนะของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน
โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะ
ผู้เล่นแบดมินตัน
Performance Development
Performance Program
Badminton Players
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research were :  to study the current condition, problems and need for development of performance development program (PDP) for badminton, to design development program, to implement development program and to evaluate performance development program. The research design was used a research & development, into four phases of study , the samples in phase were divided according to each phase, In phase 1 enquired of 325 badminton athletes and coaches, phase 2 focus group was conducted by 6 experts, phase 3 program implementation with 30 participants, and phase 4 evaluated the program by 5 experts. The statistics used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation, test t (t-test) and One-way MANOVA The research findings were as follows: The results of the performance of the badminton players form 325 samples has 3 elements, arranged in order the importance from the most to the least were 9 sport skills ability, 7 psychological fitness, 7 physical fitness, respectively.  The components of the (PDP) for badminton players, summary of issues from focus group by experts  prioritized from most to least sub-elements of the three elements, 9 sports skill ability, including the Service, the Clear, the Smash, the Net Shot, the Drop Shot, the Drive, return of smash, the jab and the lob, 4 psychological fitness including  the confidence, the motivation, the control and the concentration, and 4 physical fitness including the agility, the muscle strength, the speed and the muscle endurance. The results of the experiment (try out) after had an average score better than before the experiment of all components. The results of experiment by using to enhance the PDP of 9 sport skills ability, 4 psychological fitness and the agility, the muscle strength and  the muscle endurance after the experiment which before the experiment Differing in statistical significance at the level of .01 in all aspects, whereas the physical fitness components at different speeds were statistically significant at the level of .05. The evaluation of results PDP in context, input, process and product overall opinion were at the highest level in all aspects.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน  ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทดลองใช้โปรแกรมและประเมินโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งตามระยะได้แก่ 1) ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน จำนวน 325 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน นักศึกษากลุ่มทดลอง (try out) จำนวน 20 คน 3) นักศึกษากลุ่มทดลอง 30 คน 4) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และนักศึกษากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบประเมินการใช้โปรแกรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที (t-test) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย One-way MANOVA ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน มี 3 องค์ประกอบ จากกลุ่มตัวอย่าง 325 คน เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คือ ความสามารถทางทักษะกีฬา 9 ทักษะ สมรรถภาพทางจิตใจ 7 ด้าน และด้านสมรรถภาพทางกาย 7 ด้าน ตามลำดับ องค์ประกอบของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน สรุปประเด็นจากการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยขององค์ประกอบย่อยใน 3 องค์ประกอบ คือ ความสามารถทางทักษะกีฬา 9 ทักษะ ได้แก่ ลูกโด่งหลัง การส่งลูก ลูกตัดหยอด ลูกตบ ลูกหยอดหน้าตาข่าย ลูกดาด ลูกงัด ลูกแย็บ และการรับลูก  สมรรถภาพทางจิตใจ 4 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อมั่น แรงจูงใจ การควบคุมตนเอง สมาธิ และด้านสมรรถภาพทางกาย 4 ด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่ว ความอดทน ความแข็งแรง ความเร็ว ผลการทดลอง (try out) หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยดีกว่าก่อนการทดลองทุกองค์ประกอบ ผลการทดลองใช้โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน ด้านความสามารถทางทักษะกีฬา สมรรถภาพทางจิตใจ สมรรถภาพทางกายด้านความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง และความอดทนหลังการทดลองกับก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน ส่วนองค์ประกอบด้านสมรรถภาพทางกาย ด้านความเร็ว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน ด้วยรูปแบบ CIPP  Model การประเมินภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด แยกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/432
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010565006.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.