Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/436
Title: A Comparison of Achievement and Mathematics Problem Solving Ability between Problem-Based Learning and Project-Based Learning
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและใช้โครงงานเป็นฐาน
Authors: Theerawat Jantamoka
ธีรวัฒน์ จันทะโมคา
Montri Thongmoon
มนตรี ทองมูล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
mathematics problem solving ability
problem-based learning
project-based learning
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this study were to compare of mathematics problem solving ability of eleventh grade students between problem-based learning and project-based learning, to compare student’s achievement between problem-based learning and project-based learning and determine the satisfaction of students after using problem-based learning and project-based learning. The samples of the study consisted of 100 eleventh grade at Phadungnaree school with selected by using the cluster random sampling method. The instruments used in the research were 1) the problem-based learning instruction plan, 2) the project-based learning instruction plan, 3) the achievement test, 4) the mathematics problem solving ability test, and 5) the satisfaction questionnaires. The statistical analysis employed were mean, standard deviation, t–test independent sample. The results revealed that: 1. The mathematics problem solving ability of eleventh grade students using problem-based learning was significantly higher than of problem-based learning at the .05 significance level. 2. The achievement of students using problem-based learning was significantly higher than of problem-based learning at the.05 significance level. 3. The student’s learning satisfaction after using problem-based learning was at good level and using problem-based learning was at good level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องเวกเตอร์ ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องเวกเตอร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและใช้โครงงานเป็นฐาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 และ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 100 คน โรงเรียนผดุงนารี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง เวกเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน 12 ชั่วโมง 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง เวกเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน 12 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 5) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบ t-test Independent Sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เวกเตอร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าใช้โครงงานเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องเวกเตอร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าใช้โครงงานเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยในระดับมากและการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/436
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010556013.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.