Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/43
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNutchanet Inthidaen
dc.contributorนุจเนตร อินธิดาth
dc.contributor.advisorPrasart Nuangchalermen
dc.contributor.advisorประสาท เนืองเฉลิมth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2019-08-08T07:01:33Z-
dc.date.available2019-08-08T07:01:33Z-
dc.date.issued10/2/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/43-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractLearning management through 7-E inquiry and socioscientific issues-based instruction are learning models with an emphasis on enhancing students’ learning outcomes according to the learner-centered approach. The purposes of this study were: 1) to develop organization plans toward 7-E inquiry and socioscientific issues-based instruction to have a required efficiency of 80/80 2) to find out effectiveness indices of learning organization of 7-E inquiry and socioscientific issues-based instruction, and 3) to compare learning achievement, analytical thinking, and attitudes toward science learning of Matthayomsueksa 3 students between of 7-E inquiry and socioscientific issues-based instruction. The sample used inthis study consisted of 68 Matthayomsueksa 3 (grade 9) students from 2 classrooms at Banluemphitthayasan school, Banluem district, Nakornratchasima in the academic year 2015, obtained using the cluster random sampling technique. One classroom of 33 students was learned using 7-E inquiry. The other classroom of 35 students was learned using socioscientific issues-based instruction. The instruments used in the study were : 1) 7-E inquiry plans and socioscientific issues-based instruction plans, 7 plans for each model ; 2) a 40-item 4 choice achievement of Matthayomsueksa 3 test on The Heredity with discriminating powers (B) ranging 0.32 – 0.63 and reliability (rcc) of 0.92, 3) a 20-item 4 choice analytical thinking test with difficulties (p) ranging 0.39 – 0.79, discriminating powers (r) ranging 0.32 – 0.86 and a reliability (Rtt) of 0.93 ; and 4) a 20-item 5-rating-scale inventory on science learning attitude with discriminating power ranging 0.24 – 0.88 and a reliability (rxy) of 0.83. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, and Hotelling T2 were employed for testing hypotheses.      The findings were as follow :           1. The develop 7-E inquiry plans and socioscientific issues-based instruction plans entitled The Heredity in the science learning strand for Matthayomsueksa 3 students had efficiencies of 82.67/81.14 and 83.48/82.07 respectively.           2. Effectiveness indices of the 7-E inquiry and socioscientific issues-based instruction entitled The Heredity in the science learning strand for Matthayomsueksa 3 students were 0.6975 and 0.7144 which the students showed the post-test higher scores than pre-test were 69.75 and 71.44 respectively.           3. Learning achievement, analytical thinking, and attitudes toward science learning between of 7-E inquiry and socioscientific issues-based instruction were no significance difference, and the attitudes toward science learning difference is statistically significant at the .05 level.      In conclusion, the 7-E inquiry plans and socioscientific issues-based instruction plans were appropriately efficient and effective. The both plans were no significance difference on learning achievement and analytical thinking, and the point average show post-test higher attitudes toward science learning than pre-test. Therefore, science teachers could implement both models as appropriate.en
dc.description.abstractการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมการเรียนของนักเรียนตามหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเหลื่อมพิทยาสรรพ์ อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 ห้อง 68 คน ปีการศึกษา 2558 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม หนึ่งห้องเรียนจำนวน 33 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น อีกหนึ่งห้องเรียนจำนวน 35 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม แต่ละรูปแบบมีจำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.63 ค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (p) ตั้งแต่ 0.39 ถึง 0.79 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.86 ค่าความเชื่อมั่น (rtt) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่น (rxy) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้ Hotelling T2      ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้           1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.67/81.14 และ 83.48/82.07 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้           2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 0.6975 และ 0.7144 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 69.75 และ 71.44 ตามลำดับ           3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนที่เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมไม่แตกต่างกัน แต่เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      โดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นและแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งสองรูปแบบนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ไม่แตกต่างกัน และมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังนั้นครูวิทยาศาสตร์จึงสามารถนำวิธีการสอนทั้งสองนี้ไปใช้ได้ตามความเหมาะสมth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนth
dc.subjectเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์th
dc.subjectสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นth
dc.subjectประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมth
dc.subjectการคิดวิเคราะห์th
dc.subjectLearning achievementen
dc.subjectAttitudes toward science learningen
dc.subject7-E inquiryen
dc.subjectSocioscientific issues-based instructionen
dc.subjectAnalytical thinkingen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleComparisons of Learning Achievement, Analytical Thinking, and Attitudes toward Science Learning of Matthayomsueksa 3 Students between of 7-E Inquiry and Socioscientific Issues-Based Instructionen
dc.titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น กับแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010585040.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.