Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/440
Title: The Teacher Development System to Applying Professional Learning Community  in Managing  Learning  Mathematics For Secondary School
การพัฒนาระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
Authors: Nutthacha Kaewnetra
ณัฐชา แก้วเนตร
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาระบบ
ชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพ
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
Development System
Professional Learning Community
Managing Learning Mathematics
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of the research were to 1) study a factor of a teacher development system of using Professional Learning Community of Mathematics teaching in Secondary Schools. 2) study Current and Desirable states of a teacher development system of using Professional Learning Community of Mathematics teaching in Secondary Schools. 3) develop a teacher development system by applying the concept of Professional Learning Community of Mathematics teaching in Secondary Schools. 4) study results of teacher development system by applying the concept of Professional Learning Community of Mathematics teaching in Secondary Schools. A research procedure was divided into Four steps.  The sample were 122 secondary schools in the Office of the Basic Education Commission: OBEC which was 367 by using two-stage Random Sampling Technique. The sample were  mathematics teachers, consisted of  principles,  chiefs of academic section and mathematics teachers, which was obtained by using Simple Random Sampling Technique. The tool used for the research was five rating scale questionnaires in the topic of current and desirable states of a teacher development system by using Professional Learning Community of Mathematics teaching in the Secondary School. The statistics used for the quantitative research were mean and standard deviation.  Content Analysis was used to describe the qualitative research. The findings were      1. The development of mathematics instructional coaches consists of four main elements: Firstly, Input;  (i) Administrator  (ii) Curriculum (iii) Mathematics teacher (iv) budget. Secondly, Process; (i) Student Analysis (ii) Curriculum Analysis (iii) Determining Learning Objectives (iv) Learning Activities Design (v) Learning Management (vi) Evaluation. Then, Output; (i) the Understanding of Mathematics Teaching.      2. The Ability of a Teacher in teaching. Finally, Feedback; (i) Reporting (ii) Improvement, development and Proceed through planning, Team working and exchanging knowledge management in working.      3. A teacher development system applying the concept of Professional Learning Community of mathematics teaching in secondary schools through six subdivision: consists of; (i) student analysis (ii) curriculum analysis (iii) determining learning objectives (iv) learning activity design (v) learning management, and (vi) measurement and evaluation by using four elements of the Professional Learning Community: Namely; (i) creating a shared vision (ii)team cooperative learning and developing (iii) exchanging knowledge management in working. And      4. Studying results of teacher development system applying the concept of Professional Learning Community of mathematics teaching in secondary schools. It was discovered that teachers’ knowledge and understanding about mathematical learning management using the Professional Learning Community was rated higher than the criteria and teachers can teach mathematics through the Professional Learning Community. Overall, at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) พัฒนาระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาและ 4) ศึกษาผลการนำระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาไปใช้ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของระบบ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบ ระยะที่ 3 การพัฒนาระบบและประเมินผลระบบ และระยะที่ 4 การศึกษาผลการนำระบบไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินองค์ประกอบของระบบ จำนวน7 ท่าน ระยะที่ 2 ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 122 โรง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย  ผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอนคณิตศาสตร์ จำนวน 367 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินระบบ จำนวน 9 ท่าน และระยะที่ 4 ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.  องค์ประกอบของระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย  ผู้บริหาร  หลักสูตรการจัดการเรียนรู้  ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ทรัพยากรที่มาสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์หลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล ด้านผลผลิต (Output) ประกอบด้วยครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ประกอบด้วย การรายงานผล และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามข้อเสนอแนะ 2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์มีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดด้านกระบวนการ สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์มีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิต สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์มีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านข้อมูลป้อนกลับสภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์มีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย ผู้บริหาร หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ทรัพยากรที่มาสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม (Process) มีการทำงานผ่านหน่วยระบบย่อยทั้ง 6 หน่วยระบบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การวิเคราะห์หลักสูตร 3) การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 4) การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล โดยขับเคลื่อนผ่านกระบวนการของแนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน 2) การปฏิบัติงานร่วมกัน และ 3) การสะท้อนผลร่วมกัน ด้านผลผลิต (Output) ประกอบด้วยครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ประกอบด้วย การรายงานผล และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามข้อเสนอแนะ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการนำระบบพัฒนาครูโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาไปใช้ พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพมีคะแนนทดสอบหลังการใช้ระบบสูงกว่าก่อนการใช้ระบบ 2) ครูมีความสามารถจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก 
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/440
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010560014.pdf9.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.