Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/443
Title: | Developing a Program to Strengthen Learning Leadership of School Principals under the Office of Secondary Education Service Area การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา |
Authors: | Aphisayarat Prarasri อภิศญารัศมิ์ ประราศรี Umnat Chanavong อำนาจ ชนะวงศ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การพัฒนาโปรแกรม ภาวะผู้นำการเรียนรู้ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา Developing a Program Learning Leadership School Principals |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research objectives were to 1) study components and indicators of learning leadership of school principals under the Office of Secondary Education Service Area, 2) to investigate existing and and desirable situation of learning leadership of school principals under the Office of Secondary Education Service Area, 3) to develop program to enhance learning leadership of school principals under the Office of Secondary Education Service Area, and 4) study the results of implementing the developed program to enhance learning leadership of school principals under the Office of Secondary Education Service Area. This research and development study employed four phases. The first phase was the study of the components and indicators of learning leadership of school principals with content analysis and synthesis. Seven experts verified and confirmed the results. The second phase was the study of the existing and desirable situation of learning leadership. The researcher employed questionnaire form to collect data from 444-member sample of school principals under the Office of Secondary Education Service Area. The third phase was the development of the program to enhance learning leadership of school principals and evaluation by 9 experts. The fourth phase was the study of the results of the implementation of learning leadership program. The target group consisted of 18 school principals under the Office of Secondary Education Service Area 27 (Roi-et). The group was derived from purposive sampling method. Data collecting tools were interview form, questionnaire, test form, evaluation form, and focus group record form. Analyzing statistics were mean, percentage, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified).
The results were as follows:
1. The learning leadership of school principals under the Office of Secondary Educational Service Area consists of 6 components and 21 indicators. They are 1) Creativity and Courage with 4 indicators: 1) initiative thinking, 2) fluent thinking, flexible thinking, and detailed thinking; 2) Self-Directed Learning with 4 indicators: self-needs analysis, defining learning purpose, learning planning, and learning resource seeking; 3) Team Learning with 4 indicators: team communication, team capacity, creating learning, and learning transfer activities; 4) Employing Facilitating Technology and Innovation Learning in Digital Era with 3 indicators: capacity development for information and communication technology, supporting with money and resources on information and communication technology, and ethical use of information and communication technology; 5) Integrating Pluralism with 3 indicators: integrative thinking, integrative learning process, and relating and creating new knowledge; 6) Context-Oriented Transformation with 3 indicators: shared learning with stakeholders, creating learning network, reflection results of shared learning. The suitability evaluation of the components and indicators is at highest level.
2. The present condition of learning leadership of school principals under the Office of Secondary Educational Service Area as a whole is at medium level. The desirable condition is at the highest level.
3. The program for enhancing learning leadership of school principals under the Office of Secondary Educational Area comprises 1) 3-module program content, 2) program structure with development ratio 70:20:10 70 percent on the job training experience, 20 percent off the job training and professional learning community (PLC) process/personal feedback, and 10 percent training; 3) learning leadership enhancement method self-learning activities, workshop, brain storming, knowledge sharing, and knowledge formation; and 4) 3-phase development phase 1 training, phase 2 integration with work practice, and phase 3 follow up and evaluation.
4. The implementation results of learning leadership enhancement program for school principals under the Office of Secondary Educational Service Area, it is found that the level after development of learning leadership of school principals under the Office of Secondary Educational Service Area as a whole is at highest level. This level is higher than before development with statistical significance of .05 with all passing 80 percent criterion. The evaluation level on participants’ reaction is at highest level. The participants express the highest satisfaction on learning leadership enhancement program as a whole. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 4) ศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นไปใช้โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ดำเนินการเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา การตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำการเรียนรู้ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา จำนวน 444 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนและประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ ระยะที่ 4 การศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาไปใช้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 18 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มี 6 องค์ประกอบ 21 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) กล้าคิดสร้างสรรค์ มี 4 ตัวบ่งชี้ คือ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความละเอียดลออในการคิด 2) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง มี 4 ตัวบ่งชี้ คือ การวิเคราะห์ความต้องการของตนเอง การกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ การวางแผนการเรียนรู้ และการแสวงหาแหล่งวิทยาการ 3) การเรียนรู้เป็นทีม มี 4 ตัวบ่งชี้ คือ การสื่อสารของทีมงาน ความสามารถของทีมงาน การสร้างการเรียนรู้ และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) การสร้างสภาพแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีจริยธรรม 5) การบูรณาการความหลากหลาย มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การบูรณาการทางความคิด การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และ การเชื่อมโยงสัมพันธ์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ 6) การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะกับบริบท มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การเรียนรู้ร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และการสะท้อนผลการเรียนรู้ร่วมกัน ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 3. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 1) เนื้อหาสาระสำคัญของโปรแกรม 3 Module 2) โครงสร้างของโปรแกรม กำหนดสัดส่วนการพัฒนา 70:20:10 คือ ร้อยละ 70 ฝึกประสบการณ์ในงานฝึกประสบการณ์นอกเหนือจากงาน ร้อยละ 20 และใช้กระบวนการ PLC /การให้ข้อมูลย้อนกลับและร้อยละ 10 เป็นการฝึกอบรม 3) วิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การอบรมปฏิบัติการ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสรุปองค์ความรู้และ 4) ระยะเวลาในการพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การฝึกอบรม ระยะที่ 2 การบูรณาการในการปฏิบัติงาน และระยะที่ 3 การติดตามผลและประเมินผลหลังการพัฒนา 4. ผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาไปใช้ พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา หลังการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน ผลการประเมิน ระดับปฏิกิริยาของผู้เข้าร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เข้ารับการพัฒนามีความพึงพอใจต่อโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Doctor of Education (Ed.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/443 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010560018.pdf | 4.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.