Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/448
Title: The Development of Training Program for Enhance Social Emotions Related to Consumption Behaviors
การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมอารมณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภค
Authors: Charunrak Punyamoonwongsa
ชรัญรักษ์ ปัญญามูลวงษา
Rungson Chomeya
รังสรรค์ โฉมยา
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: อารมณ์ทางสังคม
พฤติกรรมการบริโภค
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
Social Emotions
Consumption Behaviors
Transformative Learning
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was a research and development. The purposes of this study were 1) to examine the components and indicators of social emotions related to consumption behaviors of the students. 2) to develop the training program for enhancing social emotions related to consumption behaviors of the students. 3) to study the effects of the social emotions related to consumption behaviors training program. There were three periods in the study. The sample was 24 Thai undergraduate students, 5 experts for in-depth interviews, 1,200 students for EFA and 1,480 students for CFA in the first period, 5 experts and 32 students for trying out the training program in the second period, and 32 students at the last period. The data was analyzed by percentage, mean, standard deviation, Exploratory Factor Analysis (EFA), Confirmatory Factor Analysis (CFA) and One-way Repeated Measure MANOVA The findings were as follows: 1. There were five factors and forty-four indicators of social emotions related to consumption behaviors. 2. The training program according to the transformative learning concept was 14 activities, the average score of each item was between 4.51-4.94 and the average of every activity was at 4.66 The level of training program was in the highest level. 3. The effects of the social emotions related to consumption behaviors training program were as follows: 1) Students had a higher average score after participating in the activities than before significantly at .01 2) The average scores after participating in the activities and the scores after following up in a month were different with a statistical significance at .01 When considering each component,it found that only in the first one the students had higher scores after participating in the activities than before with a statistical significance at .01 The rest of components were not with statistical significance at .01.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของอารมณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษา 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมอารมณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมอารมณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษา มีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในแต่ละระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 24 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 1,200 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และจำนวน 1,480 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ จำนวน 5 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 32 คน ระยะที่ 3 นักศึกษามหาวิทยาลัยอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 32 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้อารมณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษา มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินทางอารมณ์ 2) จิตสำนึกทางสังคม 3) การรับรู้เชิงสัญลักษณ์ 4) คุณค่าในสายตาผู้อื่น 5) การรับรู้บทบาททางสังคม รวมทั้งหมด 44 ตัวบ่งชี้ 2. โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมอารมณ์ทางสังคมตามแนวคิดหลักการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีจำนวน 14 กิจกรรม พบว่า โปรแกรมการฝึกอบรมดังกล่าวมีคะแนนเฉลี่ยแต่ละรายการอยู่ในเกณฑ์ระหว่างตั้งแต่ 4.51-4.94 และมีค่าเฉลี่ยทุกกิจกรรมเท่ากับ 4.66 มีระดับความเหมาะสมของโปรแกรมการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมอารมณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษา พบว่า 1) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ย หลังการเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมกับระยะติดตามผล ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรม 1 เดือน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ในองค์ประกอบที่ 1 นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยระยะติดตามผล 1 เดือน สูงกว่าหลังเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขณะที่องค์ประกอบที่ 2, 3, 4 และ 5 นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมสูงกว่าระยะติดตามผล 1 เดือน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/448
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010564002.pdf9.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.