Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/455
Title: Factors Affecting and Guidelines to Promote Vocational Education Study : Mixed Methods Research
ปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางส่งเสริมการศึกษาต่ออาชีวศึกษา : การวิจัยแบบผสานวิธี
Authors: Nichanan Pakkarana
นิชานันท์ ปักการะนา
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษา
แนวทางส่งเสริมภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา
Factors Affecting the Study
Guidance Promote the Image of Vocational Education
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research objectives were 1) factors affecting the study of vocational education  2) studies, guidelines to promote vocational education of students in the Inspection area 13 divided into three phases, phase 1 interviews with a group of diploma students who were 15 to determine the factors that affect vocational education. The study was developed as a research tool, Phase 2 to query the factors affecting the study of vocational education. The samples students in vocational number 330 and Phase 3 interviews with 5 administrators and teachers of Ubon Ratchathani vocational college, Yasothon vocational college, Si Sa Ket technical college, Amnat Charoen technical college and Thai-Taiwan (BDI) technological college and interviews 2 executives from the private sector to guidelines for the promotion of vocational education. Data were analyzed using the computer program used for statistical analysis in general, including descriptive statistics (Descriptive Statistic) percentage, average, standard deviation. The results showed that : 1. Vocational students see that. Factors that influence the selection of students in vocational education to the Inspection area 13 overall 8 on an average level (x ̅= 4.19) when considering each that the highest average to low. most found that (1) the cost of learning with the average level (x ̅= 4.46) (2) interest and career with the average level (x ̅= 4.33) (3) influenced by peer groups / seniors with the average level (x ̅= 4.21) (4) image and reputation of the institution with the average level (x ̅= 4.15) (5) expectations for the future with the average level (x ̅= 4.14) (6) facilities, location and environment with the average level (x ̅= 4.12) (7) influenced by the school / teacher with the average level (x ̅= 4.09), and (8) the support of parents with the average level (x ̅= 3.98) 2. Administrators and teachers, government and the private sector found guidelines to promote vocational education of students in the Inspection area 13 there are important factors as follows: (1) interest and career should explore vocational interests of students and parents to use the information in Education, the guidance and supervision to help students effectively and all schools have student data in depth as individuals to promote, support and guidance, the students know the needs and interests of their own. (2) expectations for the future should promote standards or performance standards, encourage students to work and future planning in order to achieve their goals and there are more courses in different fields to meet the needs of students. (3) influenced by the school / teacher that schools should have cooperative programs between vocational education and general education to guide vocational education, there is guidance on further study, vocational services, career guidance is a step ahead of the vocational education. After graduating class And the monitoring of occupational and student work and advertising movie about the curriculum and teaching of vocational school students. Seniors who are successful in a range of occupations, Press and TV Social network. (4) influenced by peer groups / seniors, the school is recruiting alumni, successful older people are the quality of a model with a good career and a happy life prepared by famous alumni for a network to find a job. (5)  support of parents that the school should be promoted and presented in a profession dominated their respective fields, Invention submission and then reward, short-term course fees, graduates of each subject have completed their homework. Parents should know their income at school and at work and promote and support students create independent career, with themself and the market to have an income to support a family. (6) image and reputation of the institution should be a good image and then change in operational direction of vocational education: rebranding and establish acceptance of vocational education standards, the focus of education management is to promote the connection between learning and the world, the world of occupation and work. (7) facilities, location and environment, the school should provide a physical environment that is conducive to learning, drug-free campus, there is a shuttle service arranged for distant students to build a confidence, managed the social environment around the school fence for the purpose of land use right (zoning) by partnering with NGOs, government agencies, educational institutions, and the fences around the relevant and vocational education must have a laboratory, quality and standards in schools and non-schools, in addition, schools should provide adequate and comprehensive professional teaching materials and tools of all courses. (8) the cost of learning, schools should promote vocational school of the Institute of revenues, by events, professional experience and skill in order to find income during studies and need to manage the cost of education. For parents of students with poor economic status.
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาต่ออาชีวศึกษาของนักเรียนในเขตตรวจราชการที่ 13 2) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการศึกษาต่ออาชีวศึกษาของนักเรียนในเขตตรวจราชการที่ 13 แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 จำนวน 15 คน เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาต่ออาชีวศึกษา และนำผลการศึกษาที่ได้มาพัฒนาเป็นเครื่องมือวิจัย ระยะที่ 2 เป็นการสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาต่ออาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 330 คน และระยะที่ 3 เป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารและครู วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษายโสธร วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ และวิทยาลัยเทคโนโลยี   ไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ) จำนวน 5 คน และผู้บริหารภาคจากภาคเอกชน จำนวน 2 คน เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการศึกษาต่ออาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ทั่วไป ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเห็นว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อทางด้านอาชีวศึกษาของนักเรียนในเขตตรวจราชการที่ 13 โดยภาพรวมทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.19) เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด พบว่า (1) ค่าใช้จ่ายในการเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.46) (2) ความสนใจในสายอาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.33) (3) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน/รุ่นพี่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.21) (4) ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของสถาบัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.15) (5) ความคาดหวังต่ออาชีพในอนาคต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (= 4.14) (6) อาคารสถานที่ ที่ตั้ง และสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.12) (7) อิทธิพลจากโรงเรียน/ครู มีค่า เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.09) และ (8) การสนับสนุนจากผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.98) 2. ผู้บริหารและครู ภาครัฐและภาคเอกชนเห็นว่า แนวทางการส่งเสริมการศึกษาต่ออาชีวศึกษาของนักเรียนในเขตตรวจราชการที่ 13 พบว่า มีประเด็นสำคัญตามปัจจัย ดังนี้ (1) ความสนใจในสายอาชีพ ควรสำรวจความสนใจในสายอาชีพของนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแนะแนวการศึกษาต่อ มีกระบวนการแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ และให้ทุกสถานศึกษามีข้อมูลนักเรียนเชิงลึกเป็นรายบุคคล เพื่อที่จะส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทางให้นักเรียนรู้ความต้องการ และความถนัดของตนเอง (2) ความคาดหวังต่ออาชีพในอนาคต ควรมีการส่งเสริมให้มีมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการทำงานและการวางแผนอนาคตเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และมีหลักสูตรวิชาเพิ่มเติมในสาขาที่หลากหลายตรงกับความต้องการนักเรียน (3) อิทธิพลจากโรงเรียน/ครู  สถานศึกษาควรมีแผนงานความร่วมมือระหว่างอาชีวศึกษาและสามัญศึกษาเพื่อแนะแนวการศึกษาต่อสายอาชีพ มีการรณรงค์แนะแนวการศึกษาต่อสายอาชีพโดยดำเนินการบริการแนะแนวอาชีพเป็นขั้นตอน คือ ก่อนการศึกษา ระหว่างศึกษาต่อสายอาชีพ หลังจบการศึกษาสายอาชีพ และมีการติดตามผลการประกอบอาชีพและการทำงานของนักเรียน และจัดทำโฆษณาภาพยนตร์ เกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนอาชีวศึกษา รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพหลากหลายสาขา และทำการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ เครือข่ายสังคม (Social Network) (4) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน/รุ่นพี่  สถานศึกษามีการสรรหาศิษย์เก่า และรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบที่มีคุณภาพ มีอาชีพที่ดี และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยจัดทำทำเนียบศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็นเครือข่ายการหางานทำ  (5) การสนับสนุนจากผู้ปกครอง  สถานศึกษาควรจะประชาสัมพันธ์และนำเสนอจุดเด่นในด้านวิชาชีพแต่ละสาขา สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งเข้าประกวดแล้วได้รางวัล หลักสูตรระยะสั้น รายจ่ายแต่ละสาขา สาขาที่จบแล้วทำงานได้เลย โดยชี้แจงให้ผู้ปกครองเข้าใจ ถึงรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ และส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนสร้างอาชีพอิสระให้กับตนเอง และการทำตลาด เพื่อมีรายได้จุนเจือครอบครัว (6) ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของสถาบัน ควรมีการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และการเปลี่ยนแปลงทิศทางการดำเนินการของอาชีวศึกษา (Re-branding) และสร้างมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ เน้นจัดการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ เชื่อมโยงกับโลกอาชีพ โลกของงาน (7) อาคารสถานที่ ที่ตั้ง และสภาพแวดล้อม สถานศึกษาควรจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ปลอดยาเสพติดในสถานศึกษา ปลอดภัยจากการเดินทาง จัดรถบริการรับส่งนักเรียนอยู่ไกล เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ การบริหารจัดการที่มีคุณภาพของอาชีวศึกษา มีการบริหารจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคมรอบรั้วสถานศึกษา เพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม (Zoning) โดยร่วมมือกับองค์กรเอกชนรอบรั้วสถานศึกษา และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานบันเทิง หอพัก ร้านค้าต่าง ๆ ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานศึกษาสามารถส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้เรียน มีทักษะชีวิต ความสุข ปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดี อาชีวศึกษาต้องมีห้องปฏิบัติการ แหล่งเรียนรู้ ฝึกงานในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และให้สถาบันจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ และเครื่องมือที่ใช้การจัดการเรียนการสอนวิชาชีพให้เพียงพอ และครอบคลุมทุกหลักสูตร และ (8) ค่าใช้จ่ายในการเรียน สถานศึกษาควรส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนของสถาบันอาชีวศึกษา โดยการจัดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อหาประสบการณ์วิชาชีพ และมีรายได้ระหว่างเรียน และต้องมีการจัดการด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา สำหรับนักเรียนที่ผู้ปกครองมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดี 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/455
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010584005.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.