Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/457
Title: The Causal Factors Influencing and The Development Model of Factors that the Ability to Learn Mathematics Literacy Century 21st of Mattayom Suksa 3 Students under the Secondary Euducation Sevice Area Office 26                           
ปัจจัยที่มีอิทธิพลและแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
Authors: Wachiraporn Thiabpet
วชิรภรณ์  เทียบเพชร์
Songsak Phusee - orn
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ปัจจัยที่มีอิทธิพล
การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
ความเชื่อมั่นในตนเอง
ความรู้พื้นฐานเดิม
ความถนัดทางการเรียน
The Causal Factors Influencing
Mathematics Literacy Century 21st
Attitude toward mathematics
Achievement Motivation
Self-Confidence
Mathematics Basic Knowledge
Learning Aptitude
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were1) to study  the Causal Factors Influencing to Mathematics Literacy Century  21st of Mattayom Suksa 3  Students  under the Secondary Euducation Sevice Area Office 26. 2) to construct predictive equations of Mathematics Literacy Century 21st of Mattayom Suksa 3 Students under the Secondary Euducation Sevice Area Office 26. 3) to study guidelines the for enhance of Mathematics Literacy Century  21st  of Mattayom Suksa 3 Students under the Secondary Euducation Sevice Area Office  26. The samples were 700  Mattayom Suksa 3 Students on 2nd  Semester, Academic year 2015. under  the  Secondary Euducation Sevice Area Office 26 by Multistage Random Sampling and 5 mathematics teachers using purposive sampling. The research instruments were 1) Mathematics Basic Knowledge Test  in 20 items with discriminating powers ranging difficulty  index is .23 - .56 and a reliability .83 2) Learning Aptitude Test in 20 items with discriminating powers ranging difficulty index is .20 - .53 and a reliability .80 3) Mathematics Literacy Century 21st Test in 30 items with discriminating powers ranging difficulty index is .20 - .67 and a reliability .85 4) Factors influencing to Mathematics Literacy  Century  21st scale  in 3 part in 15 items. Part 1 Attitude toward mathematics Questionnaires  with discriminating  powers ranging .324 -.804 and a reliability  .91.  Part 2 Achievement Motivation Questionnaires  with  discriminating powers  ranging .269 -.636  and a  reliability .82. Part 3 Self-Confidence Questionnaires with discriminating powers ranging  .204 -.619 and a reliability .83. 5) Structured interview for  guidelines for enhance Mathematics Literacy Century 21st of Mattayom Suksa 3 Students under the Secondary Euducation Sevice Area Office 26. The  statistics used for analyzing were percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.  The  results  of  the  study  were  follows : 1. The predictors were positively related to variable at the .01 level of significance include Mathematics Basic Knowledge (X1), learning aptitude (X2),  attitude toward mathematics (X3), Achievement Motivation (X4), Self-Confidence (X5). The predictors variables that are related to the highest criteria Mathematics Basic Knowledge (X1) has a correlation coefficient equal to .378 the variables that are related to the lowest criteria Achievement  Motivation (X4) has a correlation coefficient equal to .223. 2. The predictors which could predic to Mathematics Literacy Century 21st  of Mattayom Suksa 3 Students under the Secondary  Euducation  Sevice Area  Office 26 including: Mathematics Basic Knowledge (X1), learning  aptitude (X2), attitude toward mathematics (X3), Self-Confidence (X5) and Achievement Motivation (X4) These Variables could explain variables of Mathematics Literacy Century 21st (Y) at  25.50 percent. Predictive equations could be constructed in a raw-score  form and a standard-score form as below.  An equation in a raw-score form : Y'  =  4.706 + .379X1 + .287X2 + .078X3. + .030X5 + .029X4 An equation in a  standard-score form  :  Z'Y'  =  .283Z1 + .200Z2 + .174Z3 + .092Z4 + .084Z 5 3. The guidelines to enhance were as follows. 3.1 The guidelines for promoting and developing teacher to have the knowledge in relevant content. Teachers must analyze the learners. Know and understand and can design learning methods for learners. 3.2 The guidelines for teaching  and  learning  activities. Students need to create their own knowledge. Therefore, teachers must bring a variety of multimedia.To be a tool for organizing teaching and learning activities Teaching and learning by using STEM Education, Active learning, emphasizes students to practice and create knowledge by themselves. Dare to think creatively. 3.3 The guidelines for evaluation, Teachers must use the measurement method and evaluate according to authentic Assessment and multiple method. Both qualitative methods Quantitative methods Students and other stakeholders have participated in the assessment. Create and develop the portfolio of  learners to be standard and quality.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1)  ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  26   2)  สร้างสมการพยากรณ์การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่  3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  26  3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  26  กลุ่มตัวอย่างคือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา  2558  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  26  จำนวน  700  คน  โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  (Multistage  Random  Sampling) และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  26  จำนวน  5  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1)  แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์  จำนวน  20  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .23  ถึง  .56 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .83  2)  แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน  จำนวน  20  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .20  ถึง  .53  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .80  3)  แบบทดสอบวัดการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  จำนวน  30  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .20  ถึง  .67  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .85  4)  แบบวัดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21 แบ่งออกเป็น  3  ตอน  ตอนละ  15  ข้อ  ดังนี้  ตอนที่  1  แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .324  ถึง  .804  มีค่าความเชื่อมั่น  .91  ตอนที่  2  แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .269  ถึง  .636  มีค่าความเชื่อมั่น  .82  ตอนที่  3  แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .204  ถึง  .619  มีค่าความเชื่อมั่น  .83 5)  แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 26  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  (Multiple  Regression  Analysis)  โดยวิธีแบบเป็นขั้นตอน  (Stepwise) ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้ 1.  ตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรเกณฑ์  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01   ได้แก่  ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์  (X1),  ความถนัดทางการเรียน  (X2),  เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  (X3),  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  (X4)  และ  ความเชื่อมั่นในตนเอง  (X5)  ตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเกณฑ์สูงสุด  คือ  ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์  (X1)  มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ  .378  ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเกณฑ์ต่ำสุด  คือ  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X4)   มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ  .223 2.  ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  26  คือ  ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์  (X1)  ความถนัดทางการเรียน  (X2)  เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  (X3)  ความเชื่อมั่นในตนเอง (X5) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  (X4)  อธิบายความผันแปรของการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  (Y)  ได้ร้อยละ  25.50  สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y'=  4.706 + .379X1 + .287X2 + .078X3 + .030X5 + .029X4 สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z'Y'       =  .283Z1 + .200Z2 + .174Z3 + .092Z4 + .084Z 5 3.  แนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  จากการสัมภาษณ์เชิงลึก  (In-depth  interview)  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  21  ผลปรากฏว่าครูผู้สอนได้เสนอแนวทางการส่งเสริม  สรุปได้ดังนี้ 3.1  ส่งเสริมและพัฒนาด้านครูผู้สอนให้มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี  ต้องรู้ลึก  รู้รอบในเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   ครูผู้สอนจะต้องวิเคราะห์ผู้เรียน  รู้และเข้าใจและสามารถออกแบบวิธีการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ 3.2  ส่งเสริมและพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ผู้เรียนจะต้องสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้นครูจะต้องนำสื่อประสมที่หลากหลาย มาเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  จัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด STEM Education  ,Active  learning  เน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  กล้าคิด  กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ 3.3  ส่งเสริมด้านการวัดผลประเมินผล  ครูผู้สอนจะต้องใช้วิธีการวัดผลและประเมินตามสภาพจริงและมีความลากหลาย ทั้งวิธีการเชิงคุณภาพ วิธีการเชิงปริมาณ ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมประเมิน สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ 3.4  ส่งเสริมด้านนักเรียน  ครูจะต้องส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่รู้จักกันว่า  3R  7C  นักเรียนเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ  มีวินัย  มีความรับผิดชอบ  และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  นักเรียนได้สร้างชิ้นงานหรือภาระงานที่สะท้อนการเรียนรู้ เป็นผู้กล้าคิดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม 3.5  ส่งเสริมด้านสถานศึกษา  สถานศึกษาจะต้องกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน  มีการนิเทศ  กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง  
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/457
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010584019.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.