Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/460
Title: Self-Development Guidelines for Teachers under the Jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1
แนวทางการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Authors: Benchamart Wannapakhe
เบญจมาศ วรรณปะเข
Surachet Noirid
สุรเชต น้อยฤทธิ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทางการพัฒนาตนเองของครู
Self-Development Guidelines for Teachers
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research had two aims: 1) to study the current conditions and desirable conditions of self-development for teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1; and 2) to study self-development guidelines for teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1. The research sample was composed of 280 teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1, who were selected through a process of multi-stage random sampling. Data collection tools used for this investigation were a 5-point rating scale questionnaire, interview forms and forms to evaluate the consistency and suitability of the guidelines. Statistics used during data analysis were percentage, average, standard deviation and correlation coefficient. The results showed that there were 3 components and 28 indicators of self-development for teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1. The overall current condition of self-development among teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1 was found to be at a moderate level. The component with the highest rating was ‘Study and research of new knowledge’, followed by ‘Knowledge exchange and network creation’ (high rating) and ‘Creation of innovations to develop the organisation and the profession’ (moderate rating). The overall desirable condition of self-development among teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1 was found to be at the highest level, with each component rated at the highest level. The area of self-development for teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1 found to be in the most need was ‘Creation of innovations to develop the organisation and the profession’ (PNIModified = 0.42), followed by ‘Knowledge exchange and network creation’ (PNIModified = 0.37) and ‘Study and research of new knowledge’ (PNIModified = 0.35). Overall, the consistency and suitability of guidelines for self-development of teachers under the jurisdiction of the Mahasarakham Office of Primary Education Area 1 were evaluated at the highest level. The possibility of the guidelines was evaluated at a high level. The individual component with the highest rating for suitability was ‘Study and research of new knowledge’, followed by ‘Knowledge exchange and network creation’ and ‘Creation of innovations to develop the organisation and the profession’, respectively. The potential of all three components was rated at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 280 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความสอดคล้องความเหมาะสม และความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาตนเองเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 มีองค์ประกอบ จำนวน 3 ด้าน และตัวชี้วัด 28 ตัวชี้วัด 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ ใหม่ รองลงมาคือ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่าย อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการสร้างนวัตกรรมพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า สภาพที่พึงประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า ความต้องการจำเป็นแนวทางการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 มากที่สุดคือ ด้านการสร้างนวัตกรรมพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ (PNIModified = 0.42) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่าย (PNIModified = 0.37) และด้านการศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ (PNIModified = 0.35) 3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ได้แนวทางจากองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านการศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ รองลงมาคือ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่าย และด้านการสร้างนวัตกรรมพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ มีความเหมาะสมน้อยที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายด้านการสร้างนวัตกรรมพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/460
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010586019.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.