Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/472
Title: | Factors Related to Work Stress of Government Officials Under the Provincial Education Office in the Northeast ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Authors: | Don Roopsom ดอน รูปสม Sombat Thairueakham สมบัติ ท้ายเรือคำ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | ปัจจัย ความเครียดจากการทำงาน Factors Work Stress |
Issue Date: | 20 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims 1) to compare the stress of government officials under the Provincial Education Office In the northeast 2) to develop a causal factor model that influences the stress of government officials under the Provincial Education Office In the northeast. The sample group used in this research is Government officials under the Provincial Education Office In the northeastern region, 308 peoples from 20 provinces, which is obtained from multi-stage random sampling. The tools used in the research were. 1) Questionnaires about the causal factors influencing job stress of government officials under the Office of Provincial Education in the Northeast. 2) Questionnaire for opinions about Operational stress of government officials under the Provincial Education Office in the Northeast.
Research results appear follows:
1. There is no interaction between the status of civil servant affecting stress, have a different government with different no stress and government officials under the Provincial Education Office In the northeast with different marital status, stress significantly different at .05.
2. Variables can predict stress of government officials under the Provincial Education Office In the northeast, explain the variation of the stress was 37.8 percent according to the equation in the raw scores and standard scores below.
Regression equation of raw score
y' =1.489+ .262Wor+ .315Car +.086Org
Regression equation of standard scores
Zy' =.314ZWor+ .317ZCar+ .111 ZOrg การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสถานภาพและระยะเวลาการรับราชการต่างกัน 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความเครียดของข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 308 คน จาก 20 จังหวัด ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ฉบับ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของข้าราชการ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านสัมพันธภาพในองค์กร ด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ และด้านบทบาทหน้าที่ในองค์กร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพ กับระยะเวลาการรับราชการ ที่ส่งผลต่อความเครียด และพบว่า ข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระยะเวลาการรับราชการที่ต่างกันมีความเครียดไม่แตกต่างกัน และข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสถานภาพที่ต่างกัน มีความเครียดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความเครียดของข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โดยอธิบายความแปรผันของความเครียดได้ร้อยละ 37.8 ตามสมการในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ y' =1.489+ .262Wor+ .315Car +.086Org สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zy' =.314ZWor+ .317ZCar+ .111 ZOrg |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/472 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57030581004.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.