Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/478
Title: The Development of a Program to Social Skills of Non-Formal Education Youth in MahaSarakham Province
การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนนอกระบบการศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม  
Authors: Archanwit Choomponpongsak
อาชัญวิชญ์  ชุมภณพงษ์ศักดิ์
Prasert Ruannakarn
ประเสริฐ เรือนนะการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมการเสริมสร้าง
ทักษะทางสังคม
เยาวชนนอกระบบการศึกษา
Enhancing Program
Social Skills
Non-Formal Education Youth
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:   The objectives of this study were to develop of a program to social skills of Non-Formal Education Youth in Mahasarakham Province by 3 phases of research and development process. Phase 1 studying the problem states and guidelines to social skills with the data from the interviews and focus group. Phase 2 : To develop of a program to social skills and program’s manual, evaluate program in appropriateness and feasibility. Phase 3 : Studies the results of a program to social skills by experimenting with non-formal education youth,  level of social skills, and find out program effectiveness and evaluate the activities’ satisfaction on the program. The participants were 8 non-formal education youths in Mahasarakham and 15 stakeholders obtained using the purposive sampling and snowball sampling technique. The research instruments were 1) interview record form, 2) an evaluation form of the project framework of  Social Skills promote activity, 3) Social Skills promote activity manual,  4) the activity plan, 5) an evaluation form on during learning behavior and non-formal education youths’ works, 6) a questionnaire on the non-formal education youths’ social skills, 7) an observation form on the non-formal education youths’  social skills, 8) a program’ satisfaction on evaluation form and 9)  focus group discussion form. Statistics used in data analyses were percentage, mean and standard deviation. The results of the research were as follows: 1. The problems of Non-formal education youths in the program could be ranged in descending order as drugs, affrays, and Internet dangers. The most important about social skills problem of youths were lack of working plan, problem solving skills and appropriate emotional management. The suggestions for enhancing social skills required as follows: The social skills that the Non-formal education youths needed were enhanced through activities that were ranged by priority as teamwork, interpersonal relationship, decision making, problem solving skills, and emotion management. The stakeholders of the Non-formal education youths were suggested as follows: The youths should be provided a variety of challenging activities with stimulating and arousing learning atmosphere. avoid intensity and focused on enjoyment including using the activities that could promote their self-esteem. In addition, developing decision making skills, problem solving skills and doing some meditation practice for emotional self- control. 2. The program to social skills was developed focus on Non-Formal Education Model for learner’ behavior change based on the Neo-Humanist concept for comprehensive humanization. The program to social skills was developed into 4 units, 8 activities which were; Unit 1 orientation with “I can do” and “Good life Good social skills” activities, Unit 2 Enhancing Social Skills with “Our Home” and “steer clear off [avoid] drug addictions” and “Calm down” activities, Unit 3 Creative works with “Logo and screen shirt design ”and “ The Footstep of My Father” activities, Unit 4 Summary and reflection with “The Scenario” activities. The program was appropriate and feasible at a high level, and program efficiency was 84.06/80.19 which was higher than the expected criteria.   3. Most non-formal education youth had a high level of social skills as overall after using the program to promote social skills and the most satisfaction to program.        
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนนอกระบบการศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการเสริมสร้างทักษะทางสังคม ด้วยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะทางสังคม โดยยกร่างโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรม ประเมินโปรแกรมด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยการทดลองใช้กับเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อศึกษาทักษะทางสังคม หาประสิทธิภาพของโปรแกรม และประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เยาวชนนอกระบบการศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 คน และผู้เกี่ยวข้องกับเยาวชน จำนวน 15 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์ 2) แบบประเมินโครงร่างโปรแกรมเสริมสร้างทักษะทางสังคม 3) คู่มือการใช้โปรแกรมเสริมสร้างทักษะทางสังคม 4) แผนการจัดกิจกรรม 5) แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและผลงาน 6) แบบวัดทักษะทางสังคม 7) แบบสังเกตทักษะทางสังคม 8) แบบวัดความพึงพอใจต่อโปรแกรม และ 9) แบบบันทึกสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ปัญหาของเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่นำมาจัดกิจกรรมในโปรแกรม เรียงจากมากไปหาน้อย คือ การใช้ยาเสพติด การทะเลาะวิวาท และภัยจากอินเตอร์เน็ต ปัญหาเกี่ยวกับทักษะทางสังคมที่สำคัญของเยาวชน คือ ขาดการวางแผนการทำงาน ขาดความสามารถในการแก้ปัญหา และขาดการจัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม แนวทางการเสริมสร้างทักษะทางสังคม มีดังนี้ เยาวชนนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่ต้องการเสริมสร้างทักษะทางสังคม เรียงตามลำดับ คือ ด้านการทำงานเป็นทีม รองลงมา คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา และด้านการจัดการกับอารมณ์ ผู้เกี่ยวข้องกับเยาวชนนอกระบบการศึกษาเห็นว่า กิจกรรมควรหลากหลาย มีลักษณะท้าทาย กระตุ้นและเร้าความสนใจ ไม่เกิดความเครียด เน้นสนุกสนาน และเกิดความภูมิใจในผลงานของตนเอง ฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญอุปสรรค และฝึกสมาธิเพื่อควบคุมอารมณ์ของตนเอง 2. โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่สร้างขึ้น ยึดรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน บนพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะทางสังคม มี 4 หน่วย 8 กิจกรรม ได้แก่ หน่วยที่ 1 ปฐมนิเทศ กิจกรรม “คุณ! ทำได้”, "ชีวิตดี ถ้ามีทักษะสังคม” หน่วยที่ 2เสริมสร้างทักษะทางสังคม กิจกรรม “ก้าวคนละก้าว เพื่อบ้านของเรา” ,“คิดสักนิด ชีวิตไม่ติดยา”, “ใจร่ม ๆ” หน่วยที่ 3 สร้างสรรค์ผลงาน กิจกรรม “ออกแบบโลโก้และสกรีนเสื้อ” กิจกรรม “การแสดงจินตลีลา เพลง“เดินตามรอยพ่อ หน่วยที่ 4 สรุปและสะท้อนปัญหา กิจกรรม “ภาพอนาคต” โดยโปรแกรมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพ 84.06/80.19 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้            3. เยาวชนนอกระบบการศึกษาโดยรวมหลังจากการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะทางสังคม พบว่า มีทักษะทางสังคมสูง และมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/478
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010554003.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.