Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/480
Title: Development of  Supervision  Model to Enhance  Critical Thinking for Science Teachers in Expansion Schools              
การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 
Authors: Ornuma Bowonsak
อรอุมา บวรศักดิ์
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: รูปแบบ
การนิเทศ
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การสอนงาน
การเป็นพี่เลี้ยง
model
supervision
critical thinking
coaching
mentoring
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to develop the supervision model to enhance critical thinking for science teachers in expansion schools by using the research and development as the research methodology. This method separated into 3 phases included phase 1: studied on actual and desirable context of supervision. A sample group ware 384 science teachers in matthayom suksa 1 under the Office of the Basic Education Commission, selected by the multistage stage sampling. The research instrument was a questionnaire. Analyzed data by Modified Priority Needs Index (PNImodified) technique. Phase 2: developed supervision model at 3 best practice schools and arranged the focus group discussion by experts. The research instruments were interview form and group discussion note form. Phases 3: studied result and assessed the supervision model implementation. The target group were 11 matthayom suksa 1 science teachers under the Primary Educational Service Area Office of Nong Khai province, area 2 who volunteered to join the development. Data collection instruments were assessment form, observation form, learning management note form, and after-action review (AAR) form. Statistic were used in included percentage, mean, and standard deviation. The research found that; 1. The overall image of actual supervision model to enhance critical thinking for science teachers in expansion schools was in the “moderate”, the desirable context was in the “highest”. After the consideration on development necessary by order from the highest to lowest, the researcher could order as supervision principle, working assessment and improvement, and educating and learning. 2. The supervision model to enhance critical thinking for science teachers in expansion schools called ARPED Model. It had elements of principles and purposes comprised of 1) Assessment: A, 2) Relationship building: R, 3) Practice: P, 4) Evaluation: E, and 5) Development: D. For the 3rd element on teaching supervision principle development, it included 5 steps called ATOMS, 3.1) Assessment of context: A, 3.2) Teaching and learning method: T, 3.3) Observation: O, 3.4) Mentoring and coaching: M, and 3.5) Summative evaluation and improvement: S. 3. The implementation result of developed supervision model to enhance critical thinking for science teachers in expansion schools and assessment shown that 1) the overall image of science teachers’ reaction on supervision model was in the “high” level. 2) The assessment result of critical thinking knowledge and skills before development had the average value for 34.60 or 86.50 percent and after development was 37.00 or 92.50 percent. 3) For the supervision and learning management that enhance critical thinking assessment, the overall image of teachers’ self-assessment before development was in the “high” level and after development was in the “highest” level. The overall image of administrators’ self-assessment before development was in the “high” level and after development was in the “highest” level. 4) The assessment on knowledge and skill implementation for expansion school’s duties, for teachers’ self-assessment, the overall image was in “highest” and administrators’ self-assessment was in “high”. 5) the overall image of students’ learning outcomes on supervision model was in “high”.
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2)  พัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 3)  ศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาไปใช้  โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development:  R&D)   กลุ่มตัวอย่างเป็นครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน  384  คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 2  ที่สมัครใจเข้าร่วมพัฒนา จำนวน   11  คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94  แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบทดสอบ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified ) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ หลักการนิเทศ การประเมินผลและปรับปรุงงาน และการให้ความรู้และวิธีการเรียนรู้ 2. รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา คือ ARPED Model มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบหลัก  คือ 1) การประเมินสภาวการณ์ปัจจุบัน (Assessment : A)  2) การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Building : R)   3) การสร้างแนวปฏิบัติการนิเทศการสอน (Practice : P) ประกอบด้วย  3.1) หลักการ 3.2) วัตถุประสงค์ 3.3) กระบวนการนิเทศ ประกอบด้วย 3.3.1)  ประชุมก่อนสังเกตการสอน (Pre Observation Conference)  3.3.2) สังเกต เหตุการณ์สำคัญในการจัดการเรียนรู้  3.3.3) การไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflecting) 3.4) การเป็นพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring and Coaching) 3.5)  การประเมินผลและปรับปรุงงาน (Summative Evaluation and Improvement) 3.5)  4) การประเมินผล (Evaluation) และ 5) การพัฒนาและปรับปรุงงาน (Development) 3.  ผลการนำรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาไปใช้และการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  พบว่า 1) ครูวิทยาศาสตร์มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อรูปแบบการนิเทศการนิเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินความรู้และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 34.60 คิดเป็นร้อยละ 86.50 และหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 37.00 คิดเป็นร้อยละ 92.50   3) การประเมินทักษะการนิเทศและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยครูประเมินตนเองก่อนการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมินก่อนการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก หลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประเมินการนำความรู้และทักษะไปสู่การปฏิบัติในหน้าที่ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  โดยครูประเมินตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้บังคับบัญชาประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/480
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010566008.pdf8.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.