Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/485
Title: Developing a Local Curriculum of  Integrated Teaching for Special Economic Zone in Nongkhai by Social Studies, Religion and Culture Subject  at Office of The Secondary Education Region 21
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Authors: Kanchanasuda Chaiphet
กาญจนสุดา ไชยเพ็ชร
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: หลักสูตรท้องถิ่น
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
สังคมศึกษา
Local Curriculum
Special Economic Zone
Social Studies
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aims as are follows: 1. to study the need for local curriculum development on developing a local curriculum of integrated teaching for Special Economic Zone in Nongkhai Province by Social Studies, Religion and Culture Subject at Office of The Secondary Education Region 21 2. to develop the local curriculum on developing a local curriculum of integrated teaching for Special Economic Zone in Nongkhai Province by Social Studies, Religion and Culture Subject at Office of The Secondary Education Region 21 3. The research instruments were interview, local curriculum, learning plan, a local curriculum evaluation form, learning plan evaluation form, achievement test, performance test, and sufficient attribute test 3.1 to study efficiency for local curriculum development on developing a local curriculum of integrated teaching for Special Economic Zone in Nongkhai Province by Social Studies, Religion and Culture Subject at Office of The Secondary Education Region 21 3.2 to compare achievement of before and after study. The target groups were 49 students from grade 9 student in the first semester of 2018 at Chumpholphonphisai School, The Secondary Education Region 21. The collected data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation, and statistically difference average pre-training and post-training test sequence of The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Rank Test. The results were as follows 1. The developing a local curriculum specificity of the special economic development zone in Nongkhai province were adapted to receive changes. 2. The local curriculum with 16 elements were introduction, vision, principles objective performance of learners, desirable characteristics, the content and learning standards, learning standards and indicators, course description, the purpose of learning, learning management, media and learning resources, structure, time for study, measurement and evaluation, and learning unit. The local curriculum was evaluation by experts at the most suitable. The results of the evaluation learning plans were at the most suitable level. 3. The results of the local programs, were as shown. The students were taking courses at local curriculum for grade 9 student on developing a local curriculum of integrated teaching. The efficiency of using the local curriculum of developing a local curriculum of integrated teaching for special Economic Zone in Nongkhai province. E1/ E2 values were according to the criteria. The post-test scored of achievement test higher than pre-test with statistically significant difference at .01 level. The performance test was excellent and sufficient characteristics were the most opinion.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 3. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 3.1 ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์หลักสูตรท้องถิ่น แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินหลักสูตรท้องถิ่น แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที t-test ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ความจำเพาะเกี่ยวกับการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย การปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 2. หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 16 ประการ คือ ความนำ วิสัยทัศน์ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ โครงสร้าง อัตราเวลาเรียน การวัดและประเมินผล และหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งผลการประเมินหลักสูตรท้องถิ่นโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และผลการประเมินแผนการ จัดการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 3. ผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น พบว่านักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย มีประสิทธิภาพของการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย (E1/E2) = 81.37/85.10 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/485
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010584012.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.