Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/502
Title: A Development of the Word Problem-Solving Ability in Chemistry on the Topic of Stoichiometry by Using 5E’s Learning Cycle Model and Polya’s Technique for Mathayomsuksa 4 Students     
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Suthida Saenvang
สุธิดา แสนวัง
Kanyarat Cojorn
กัญญารัตน์ โคจร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมี
เคมี
Word Problem Solving Ability
Chemistry
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study was a classroom action research which consists of 2 spirals. The aim of this research was to improve the word problem solving ability of mathayomsuksa 4/1 students to pass the 70 percent criteria by using 5E’s learning cycle cooperated with Polya’s problem solving technique. The target group was 38 students in mathayomsuksa 4/1 from Chiangyuenpittayakom School in the second semester of the academic year 2018. The research instruments included 1) 12 lesson plans of 5E’s learning cycle cooperated with Polya’s problem solving technique, 2) the 8 items subjective of problem solving test, 3) the interview, and 4) student’s journal. The percentage, mean, and one sample t-test were used for analyzing data. The results showed that the word problem solving ability of students had passed the criterion of 70 percent of the total score. The word problem solving ability of students were increasing. The amount of students who had passed the 70 percent criteria before using 5E’s learning cycle cooperated with Polya’s problem solving technique was 10 students. After the learning process, in the first spiral, 26 students had passed the 70 percent criteria with an average score of 112.76 which higher than the 70 percent criteria. Nevertheless in statistics, the average score and the 70 percent criteria were not different. The second spiral, 37 students had passed the 70 percent criteria with an average score of 130.66 which higher than the 70 percent criteria with the statistical significance at 0.05 level. In conclusion, the target group was effectively improved for the word problem solving ability via learning with 5 E’s learning cycle cooperated with Polya’s problem solving technique.
งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งทำทั้งหมด 2 วงรอบปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 38 คน โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีเป็นแบบอัตนัย 8 ข้อ 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 4) แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที (One Sample T-test ) ผลการวิจัยพบว่าจากนักเรียนจำนวนทั้งหมด 38 คน นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 มีจำนวนเพิ่มขึ้นดังนี้ ก่อนการจัดการเรียนรู้มีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 10 คน โดยวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 26 คน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 112.76 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 แต่ในทางสถิติคะแนนเฉลี่ยกับคะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มไม่แตกต่างกัน ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 37 คน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 130.66 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/502
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556012.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.