Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/504
Title: The development of mathematics problem solving ability of eleventh grade students taught by SSCS
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS
Authors: Jirapa Lamungkhun
จิระภา ลามุงคุณ
Montri Thongmoon
มนตรี ทองมูล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS
mathematics problem solving ability
taught by SSCS
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study was to develop mathematics problem solving ability of students using taught by SSCS to score not less than 70 percent of the full score.  The target group in this research was 35 Matthayomsuksa 5 room 4 students, obtained using purposive sampling technique. The instruments used for the study comprised of : 1) mathematics learning plan using taught by SSCS, the introduction to graph theory, with 9 plans for 9 hours; 2) record form for observing student learning behavior; 3) observing behavior patterns of teacher learning activities  and 4) mathematics problem solving ability test around 5 items per spiral, is a subjective test. This research is action research, has 2 spirals. The statistics used for analyzing quantitative data were percentage, mean, standard deviation, presented qualitative data in narrative analysis. The results of the study was as follows : Developing students' ability to solve math problems by using SSCS learning management in Mathayomsuksa 5 students, it was found that the target group had the average score of problem solving ability after the 1st spiral was 40.49 points, representing 67.48 percent and the average score of mathematics problem solving ability after the second spiral was 48.86 points, which accounted for 81.43 percent, as intended.
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS ให้มีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2561 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 แผน รวม 9 ชั่วโมง 2) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการรู้ของครู และ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ วงรอบละ 5 ข้อเป็นข้อสอบอัตนัยแสดงวิธีทำ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยวงจรปฏิบัติการวิจัย 2 วงจร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังจบวงรอบที่ 1 เท่ากับ 40.49 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 67.48 และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังจบวงรอบที่ 2 เท่ากับ 48.86  คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 81.43 เป็นไปตามความมุ่งหมาย
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/504
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556018.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.