Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/505
Title: The Development of Mathematical Reasoning Ability in Matthayomsuksa 5 students using Cognitively Guided Instruction Process (CGI) with Cooperative Learning Technique
การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Authors: Chaiwat Yollradeecosit
ชัยวัฒน์ ยลรดีโฆษิต
Montri Thongmoon
มนตรี ทองมูล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การให้เหตุผลแบบอุปนัย
การให้เหตุผลแบบนิรนัย
Inductive reasoning
Deductive reasoning
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The proposes of this study were 1) to develop the students’ mathematics reasoning ability in order to pass the criteria of 60 percent of the full score, and 2) to study the students' learning achievement. The target group was 26 students of matthayomsuksa 5 students in the academic year 2018 from Sarakhampittayakhom School, Muang, Mahasarakham.They were selected by using Purposive Sampling for 1 classroom.  The research methodology is action research which consists of three spirals. The research instruments were: 1) 9 lesson plans of cognitively guided instruction process with cooperative learning technique, 2) Mathematics reasoning ability test, 3) the Mathematics achievement tests, 4) the interview form and 5) reasoning ability observation form. The data was analyzed by using mean, percentage, standard deviation and presenting qualitative data by analyzing descriptive data. The results were as follows: 1. The mathematical reasoning ability score of matthayomsuksa 5 students by using the cognitively guided instruction process with cooperative learning technique is as follows: In the first, second, and third spirals, the averages are 59.38 percent, 68.75 percent, and 74.28 percent, respectively.  In the third spiral, each of the students’ scores is higher than 60 percent of the full score.  Moreover, the reasoning ability score is increased in each spiral. 2. The students' achievement mean scores in the first, the second and the third spiral were 61.2, 70.8 and 75.8 percent respectively.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม  และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 5 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 นักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ จำนวน 26 คน  ซึ่งได้มา จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติการ ได้แก่ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 - 3 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 - 6 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 7 - 9 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 59.38 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมี คะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 68.75 และในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 74.28 ซึ่งนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มในวงจรปฏิบัติการที่ 3 และพบว่าคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นในแต่ละวงจรปฏิบัติการ  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 61.2 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 70.8 และในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 75.8 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/505
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556020.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.