Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/51
Title: Dental Health Care Model for the Elderly Diabetics Patient by Caregiver in Ubonratchathani, THAILAND
รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โดยบทบาทของนักบริบาล จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Namphet Tungyingyong
น้ำเพชร ตั้งยิ่งยง
Niruwan Turnbull
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: นักบริบาล
ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
สุขภาพช่องปาก
ผู้สูงอายุ
Caregiver
Elderly patients with diabetes
Oral health
Elderly
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The elderly experience degenerative changes which require more care, especially in elderly with diabetes. Diabetes slows down the healing process to the body and oral cavity ulcers. The aim of this research and development was to study the oral care among elderly patients with diabetes from caregivers in Ubon Ratchathani province. The participants of this study were elderly patients with diabetes in Ubon Ratchathani province. Proportional to the estimation of the population, the sample size was 403 patients for contextual study. There were 245 patients who received jointed development oral care. They were separated into an experimental group of 141 patients with caregivers and a control group of 104 patients without caregivers. Data was collected using questionnaires with a reliability of 0.8, and analysis was conducted using statistical tools, number, percent, mean, standard deviation, Independent sample t-test and Paired sample t-test. The research shown that the development of the oral care model of the elderly was based on a 9-step development process, consisting of: 1) Appointing a research team and selecting the participants; 2) Observing the situation of oral care provided to the elderly with diabetes. 3) The use of information from the study to set oral care for elderly patients with diabetes. 4) The establishment of a workshop on implementing an action plan. 5) The team worked on the oral care model for testing in the area and prepared the lesson. 6) Development of data processing and importing data from the lesson. 7) Extension for specialized oral care skills. 8) Refer all elderly patients with diabetes and oral health problems for treatment. And 10) Monitor for support while strengthen the working group. This development process had made new oral care for the elderly with diabetes in Ubon Ratchathani province which name is “DDS CG  UBONRATCHATHANEE DENTAL HEALTH CARE”. This was the factor for processing succession: information and situation of oral health problems for the elderly (Data of Dental Problems), adjustment of the dental health service system for easier access (Dental Service Reorient), increase the channels of information recognition from many sectors (Social of Information), the development of potential skills in oral care among the elderly and their relatives (Support for Potential Skills), education training for elderly people with diabetes can be self-care (Self Care Management Training), and Follow-up visits for strong empowerment (Strong Empowerment Follow-up) by using caregivers to closely monitor the elderly at their home. The results of the development of the oral care model of elderly patients with diabetes have shown that the average knowledge, attitude, and behavior scores of the elderly in the experimental group was significantly higher than that of the control group at the statistical significance level of p=<0.05. The satisfaction among elderly patients with diabetes and caregivers on the development of the oral care model for elderly patients with diabetes was in the high level. The results from the study can be applied for consistency of information from current such as the service was easy to access, the development of the potential and skills of the elderly patients with diabetes and their involved, as well as follow-up for strength and teamwork.
ผู้สูงอายุร่างกายอยู่ในสภาพเสื่อมถอยต้องการการดูแลมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ป่วยเป็น โรคเบาหวาน ซึ่งมีผลต่อการหายช้าของแผลในร่างกายรวมถึงแผลในช่องปาก การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โดยบทบาทของนักบริบาล จังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาจากผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้สูตรการประมาณค่าสัดส่วนของประชากรในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาบริบทจำนวน 403 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 245 คน แบ่งเป็นกลุ่มลุ่มทดลองซึ่งมีนักบริบาลดูแล จำนวน 141 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีนักบริบาลดูแล จำนวน 104 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ค่าความเชื่อมั่น 0.8  ใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent sample t-test และ Paired  sample t-test ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ใช้กระบวนการพัฒนา 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) แต่งตั้งทีมวิจัยและคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย 2) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 3) นำข้อมูลจากการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานนำเข้าเพื่อใช้ในการกำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการดำเนินงาน 5) คณะทำงานนำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้ในพื้นที่และจัดทำบทเรียน 6) พัฒนาระบบการจัดทำข้อมูลและนำเข้าข้อมูลจากการถอดบทเรียน 7) ขยายการฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากเฉพาะด้าน 8) ส่งต่อผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและมีปัญหาสุขภาพช่องปากให้ได้รับการรักษาครบทุกราย และ 9) การกำกับติดตาม เพื่อเสริมพลังของคณะทำงาน  กระบวนการพัฒนาดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบใหม่ในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจังหวัดอุบลราชธานี ชื่อว่า “DDS CG  UBONRATCHATHANEE  DENTAL  HEALTH CARE”  ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน คือ การมีข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่เป็นปัจจุบัน (Data of Dental Problems) การปรับระบบบริการด้านทันตสาธารณสุขให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น (Dental Service Reorient) การเพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากหลายภาคส่วน (Social of Information) การพัฒนาศักยภาพและทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุและญาติ (Support for Potential Skills) อบรมให้ความรู้ฝึกทักษะให้กับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้สามารถดูแลตนเองได้ (Self Care Management Training) และการติดตามเยี่ยมเสริมพลัง (Strong Empowerment Follow-up) โดยมีนักบริบาล (Caregiver: CG) ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดที่บ้าน ซึ่งผลการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานส่งผลให้ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและนักบริบาลต่อการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง ผลจากการศึกษาที่ค้นพบ สามารถนำประเด็นที่ค้นพบไปปรับใช้ให้มีความสม่ำเสมอเป็นปัจจุบันทั้งข้อมูล ระบบบริการที่เข้าถึงได้ง่าย การพัฒนาศักยภาพและทักษะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและตัวผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเองตลอดจนการติดตามเยี่ยมเสริมพลังที่มีความต่อเนื่องและเป็นทีม
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/51
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011460005.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.