Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/52
Title: Effects of Behavior Modification Program on Reducing Overweight among School-aged Students between 12 and 14 years old in Nong Bunnak Subdistrict, Nong Bun Mak  District, Nakhon Ratchasima Province
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มวัยเรียน อายุ 12-14 ปี ตำบลหนองบุนนาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
Authors: Pipatpong Paddanjak
พิพัฒน์พงศ์ แปดด่านจาก
Nitchara Toontom
นิจฉรา ทูลธรรม
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ภาวะน้ำหนักเกิน
กลุ่มวัยเรียน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
Overweight
School-aged students
Health Modification
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This quasi-experimental study aimed to study the effects of behavior modification program on reducing overweight among school-aged students between 12 and 14 years old in Nong Bunnak Subdistrict, Nong Bun Mak District, Nakhon Ratchasima Province. The sample group was selected by simple random sampling from school age groups between 12-14 years of age. One-hundred students who were overweight, with weight for high according to the criteria in level of overweight and obesity were recruited. They were divided into experimental and control group with 50 students each. The experimental group participated in the behavior modification program on reducing overweight for 8 weeks. The program was consisted of the activities in providing knowledge, enhancing perception of self-efficacy, creating success expectations in weight control, arranging group activities to exchange knowledge, sharing experience of success model, exercise program by walking, follow-up, providing health education, encouraging through follow-up visit and using Line group Application.  Data were collected before and after the experiment by using questionnaire. The data was analyzed by using frequency, percentages, mean, standard deviations and paired t-test and independent t – test. The results of the research showed that the experimental group had average scores of knowledge, self-efficacy, success expectations, social support awareness and behavior for reducing overweight more than before experiment and more than the control group with a statistical significance (p-value <0.05). The comparison result of average body weight after the experiment showed that experimental and control group had significantly different average of body weight (p-value <0.05). The experimental group had an average weight loss of 2.02 kilograms after participated in the program. Keys of success for this program is the result of enhancing self-efficacy, creating expectations in the results of actions to reduce overweight, enhancing the participation of network partners involved in monitoring, educating, giving advice, encouraging. These result in accurate knowledge, understanding and perception which lead to better health behavior modification.
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มวัยเรียน อายุ 12-14 ปี ตำบลหนองบุนนาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่ายจากกลุ่มเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 12-14 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คือ มีค่าน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงอยู่ในระดับเริ่มอ้วนและอ้วน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 50 คน โดยจัดให้กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะน้ำหนักเกิน ประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้ การเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองและสร้างความคาดหวังในผลลัพธ์ในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกิน มีการจัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเล่าประสบการณ์จากตัวแบบที่ประสบความสำเร็จ การออกกำลังกายโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเดิน มีการเยี่ยมติดตามให้คำแนะนำ ให้ความรู้ และกระตุ้นเตือนผ่านทางการเยี่ยมบ้านและผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารด้วยการโทรหรือส่งข้อความ (Line Group Application) ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยภายหลังทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ ด้านการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม และด้านพฤติกรรมในการลดภาวะน้ำหนักเกิน เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ส่วนผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวลดลงน้อยกว่าก่อนการทดลอง 2.02 กิโลกรัม ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโปรแกรมนี้ เป็นผลมาจากการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสร้างความคาดหวังในผลลัพธ์จากการปฏิบัติตัวเพื่อลดภาวะน้ำหนักเกิน และการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการติดตามดูแล ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และคอยกระตุ้นเตือน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/52
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011480043.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.