Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/53
Title: Prediction of Cardiovascular Disease  in Elderly with Metabolic Syndrome
การทำนายการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุที่เป็นเมตาบอลิกซินโดรม
Authors: Arinrada Ladla
อริณรดา ลาดลา
Pramote Thongkrajai
ปราโมทย์ ทองกระจาย
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: โรคหัวใจและหลอดเลือด
เมตาบอลิกซินโดรม
การทำนาย
ผู้สูงอายุ
Cardiovascular diseases
Metabolic syndrome
Prediction
Elderly
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study is a multi-center and aims to investigate the metabolic syndrome that associates with cardiovascular disease, creation of model and risk score to predict incident of cardiovascular disease in the elderly. A 10-year retrospective cohort study was conducted from January 1, 2007 to December 31, 2016 for 1080 elderly patients who aged ≥ 60 years and admitted in the out-patient department (OPD) of tertiary care hospitals. The random sampling was operated by the sysmatic sampling and data was collected patient demographics and laboratory test results. Diagnosis of CVDs was based on the ICD-10 coding (International Classification of Diseases and Related Health Problems). Risk factors associated with CVDs were identified by the Cox proportional hazards regression while confounding factors were controlled by the adjusted hazard ratios and risk score was created by the B coefficients. The results revealed that during the 10-year follow-up period, among 1080 elderly patients with metabolic syndrome were 231 persons diagnosed with the first CVDs. The factors associated with cardiovascular disease include: age of 70-79 years, fasting blood sugar of ≥ 110 mg%, systolic blood pressure ≥ 130 mmHg and high density lipoprotein (≤ 40 mg/dL in male; ≤ 50 mg/dL in female). The values of HRadj that increased the risk of developing CVDs were 1.68 (95% CI: 1.02, 2.78), 2.89 (95% CI: 1.56, 5.37), 2.39 (95% CI: 1.08, 5.26) and 1.68 (95% CI: 1.05, 3.13) respectively statistical significance. In the constructed model comprised Age, FBS, SBP, HDL, confounding factors were controlled by the adjusted hazard ratios. Predictive value performance was tested by Akaike Information Criterion (AIC) = 476.0381 and Bayesian Information Criterion (BIC) = 501.1488 that the model was minimally approximate error. In addition, variables in this model were used to define risk scores for CVDs prediction in the elderly that risk scores were between -2 and 9 points, cut – off point was 3, the sensitivity was 75.5%, the specificity was 61.8%, and the ROC curve was 71% (95% CI: 0.65, 0.76). In conclusion, this study was specific to the elderly. There were found that the metabolic syndrome associated with cardiovascular diseases consisted of Age, FBS, HDL and SBP. The model was minimally approximate error and  risk scores was efficiency at a fair level. From these results, there could be used to support the treatment planning in an attempt to inform individuals without CVDs of the possible metabolic syndrome in order to reduce CVDs incident risk as the context.
การศึกษาครั้งนี้เป็นเแบบหลายแห่ง (Multi-center) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเมตาบอลิกซินโดรมที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การสร้างแบบจำลอง และการสร้างคะแนนความเสี่ยง สำหรับทำนายการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ  วิธีการศึกษา เป็นการติดตามไปข้างหน้าและติดตามย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study) เป็นเวลา 10 ปี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในผู้ที่มีเมตาบอลิกซินโดรม อายุ 60 ปีขึ้นไป ณ แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 1,080 ราย   สุ่มตัวอย่างแบบ Sysmatic Sampling เก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการรักษาในโรงพยาบาล ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยโรคด้วยรหัส ICD10 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Cox proportional-hazards regression ควบคุมอิทธิพลตัวแปรกวน ด้วยวิธี Adjusted Hazard Ratio และสร้างคะแนนความเสี่ยงด้วยค่าของ B Coefficients  ผลการศึกษาพบว่า ขณะติดตามผู้สูงอายุที่มีเมตาบอลิกซินโดรม จำนวน 1,080 ราย   เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดครั้งแรก 231 ราย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ อายุระหว่าง 70 – 79 ปี, น้ำตาลในเลือด ≥ 110 mg%, ความดันโลหิตซีสโตลิก ≥ 130 mmHg และไขมัน HDL ต่ำ (เพศชาย ≤ 40 mg/dl และเพศหญิง ≤ 50 mg/dl) โดยมีค่า HRadj เท่ากับ 1.68 (95% CI: 1.02, 2.78), 2.89 (95% CI: 1.56, 5.37), 2.39 (95% CI: 1.08, 5.26) และ 1.68 (95% CI: 1.05, 3.13) ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อสร้างแบบจำลองประกอบด้วย Age, FBS, SBP, HDLควบคุมอิทธิพลตัวแปรกวนด้วย Sex , Smoke , Alcohol , Body Mass Index ,Triglyceride และ Diastolic Blood pressure ทดสอบประสิทธิภาพการทำนายด้วยค่า Akaike Information Criterion (AIC) = 476.0381 และ Bayesian Information Criterion (BIC) = 501.1488  พบว่าเป็น Model ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และนำตัวแปรในแบบจำลองข้างต้นมาสร้างคะแนนความเสี่ยงทำนายการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ ได้ค่าคะแนนความเสี่ยงรวมอยู่ระหว่าง -2 ถึง 9  คะแนน จุดตัดเท่ากับ  3 คะแนน (cut – off point)  จะมีความไว (Sensitivity) เท่ากับ 76.19% และความจำเพาะ (Specificity) เท่ากับ 54.33%  ค่า ROC curve เท่ากับ 70% (95% CI: 0.58, 0.81) สรุป การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะผู้สูงอายุ พบเมตาบอลิกซินโดรมที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประกอบด้วย  Age, FBS, SBP และ HDL การสร้าง model พบมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อย และการสร้างคะแนนความเสี่ยงมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับพอใช้ จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลมาใช้ประกอบวางแผนการรักษา สำหรับให้ข้อมูลผู้ป่วยที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด  เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีความเหมาะสมตามบริบทต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/53
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011560010.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.