Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/532
Title: The Economies of scale of Sawang Dandin Crown Prince Hospital of SakonNakhon
การประหยัดต่อขนาดของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร  
Authors: Sasithon Chupun
ศศิธร ชูพันธ์
Nitiphong Songsrirote
นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: การประหยัดต่อขนาด, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
Economies of Scale. Sawang Dandin Crown Prince Hospital
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Providing services in the hospital always come with expenses and operation costs; managing them efficiently is crucial and necessary for hospitals, inefficiently managing will lead to many problems. For instance, the financial crisis which troublesome both the operation and management of the hospitals and annually causing the accumulated liabilities. The important costs in the hospital cost management are medicine cost, non-medicine medical supply cost, medical science material cost, and employee's wage. So, the study about economies of scale of hospitals is another effective way to indicate aspects in which the hospital needs to be improved. Hence, this thesis is conducted to study the economies of scale of Sawang Dandin Crown Prince Hospital, Sakon Nakhon to determine the increasing or decreasing trends of the hospital's manufacturing cost and use the data for the hospital's management in order to achieve the highest efficiency of the organization under the quality standard and the best services for the future clients. This study is conducted by compiling secondary data such as annually collected time series data, hospital's annually income and expense reports from 1998-2018, in a total of 21 years, and applying econometric tools for analyzing the relationship between variables in the model, and analyzing the statistic data by estimating with Least Square. The study suggested that the factors that influence the numbers of the clients of the hospital are the average employee's wage, the average medicine price, the average medical science material cost, the average treatment price, and the Universal Healthcare Coverage Policy. Also, the data analysis suggested that the medicine price has the most influence on both the increasing and decreasing of the hospital's total average manufacturing cost, followed by the employee's wage. For the average medical science material cost and the average treatment price, the analysis shows no statistical significance in neither the increasing or decreasing of the hospital's manufacturing cost. In conclusion, the study result of The Economies of Scale of Sawang Dandin Crown Prince Hospital Sakon Nakhon shows that the coefficient of yield of the hospital, which is the numbers of the client, is 1.112, which exceeds the maximum of 1; which means that in the past 21 years, the hospital has not been in the production that is economies of its scale. The study shows that the average manufacturing cost of the hospital is in rising. When the yield increased by 1 percent, the average manufacturing cost of the hospital will rise up to 1.112 percent. This result indicates the inability to efficiently administrate, operate and manage the hospital, and incapability of keeping the average manufacturing rate lower than the product increasing rate.  
การให้บริการในโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน การบริหารต้นทุนของโรงพยาบาลนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะถ้าหากมีการใช้ต้นทุนในการบริการมากก็จะทำให้โรงพยาบาล เกิดภาวะวิกฤติทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลมีการดำเนินการบริหารโรงพยาบาลเป็นไปด้วยความลำบากเกิดภาวะหนี้สินที่สูงสะสมต่อเนื่องไปทุกๆ ปีเนื่องจากการบริหารไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้นทุนที่สำคัญในการบริหารก็จะประกอบด้วย ต้นทุนยา ต้นทุนเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาหรือวัสดุทางการแพทย์ ต้นทุนวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เงินเดือนและค่าจ้างประจำ  ดังนั้น การศึกษาการประหยัดต่อขนาดของโรงพยาบาลเป็นอีกทางหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลควรมีการปรับปรุงต้นทุนในด้านใดบ้าง การศึกษานี้จึงเห็นว่าควรจะศึกษาประสิทธิภาพการประหยัดต่อขนาด ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินจังหวัดสกลนคร จะช่วยให้ทราบว่าต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ยนั้นอยู่ในช่วงที่กำลังลดลง คงที่ หรือเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาการบริหารงานของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินจังหวัดสกลนคร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กรภายใต้มาตรฐานคุณภาพ การบริการที่ดีที่สุดต่อประชาชนผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลในอนาคต โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ลักษณะข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีการจัดเก็บเป็นรายปี จากข้อมูลรายงานค่าใช้จ่าย และรายได้ของโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี 2541 ถึงปี 2561 รวมระยะเวลา 21 ปี ซึ่งจะนำเอาเครื่องมือทางเศรษฐมิติมาใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในแบบจำลอง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุด  ผลการศึกษาสรุปได้ว่าปัจจัยที่ใช้ในการผลิตจำนวนผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาล ได้แก่ เงินเดือนและค่าจ้างประจำเฉลี่ย ราคาค่ายาเฉลี่ย ราคาต้นทุนวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์เฉลี่ย ราคาต้นทุนที่ใช้ในการรักษาเฉลี่ย และนโยบายหลักประกันสุขภาพ แสดงให้เห็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ราคาค่ายาเฉลี่ยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยการผลิตของโรงพยาบาลโดยรวมเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากที่สุดในจำนวนปัจจัยการผลิตทั้งหมด ลำดับที่สอง คือ เงินเดือนและค่าจ้างประจำเฉลี่ยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยการผลิตของโรงพยาบาลโดยรวมเพิ่มขึ้นหรือลดลงรองลงมา ในส่วนของราคาต้นทุนวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์เฉลี่ย และราคาต้นทุนที่ใช้ในการรักษาเฉลี่ยปัจจัยที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่จะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยการผลิตของโรงพยาบาลโดยรวมเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยสรุปผลการศึกษาการประหยัดต่อขนาดของการผลิตผลผลิตรายได้ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินจังหวัดสกลนครพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ของปริมาณผลผลิตของโรงพยาบาลที่ผลิตได้ นั้นก็คือ จำนวนผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาล เท่ากับ 1.112 ซึ่งมากกว่า 1 สรุปได้ว่า ในช่วง 21 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินจังหวัดสกลนคร ไม่อยู่ในช่วงการผลิตที่มีการประหยัดต่อขนาด เพราะต้นทุนเฉลี่ยของการผลิตของโรงพยาบาลอยู่ในช่วงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินจังหวัดสกลนครผลิตผลผลิตเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนเฉลี่ยของการผลิตผลผลิตของโรงพยาบาลจะเพิ่มขึ้นถึง 1.112 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารการผลิต การดำเนินงาน และการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถควบคุมอัตราต้นทุนเฉลี่ยการผลิตของโรงพยาบาลให้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราผลผลิตที่ผลิตเพิ่มขึ้นได้  
Description: Master of Economics Program in Business Economics (M.Econ.)
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/532
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010987005.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.