Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/535
Title: Guiding Application Development for Finding Information Resources in the Academic Resources Center, Mahasarakham University
การพัฒนาระบบแอปพลิเคชันช่วยเหลือการค้นหาเส้นทางทรัพยากรสารสนเทศในสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Authors: Phurithat Manphonsri
ภูริทัต  หมั่นพลศรี
Ratanachote Thienmongkol
รัตนโชติ เทียนมงคล
Mahasarakham University. The Faculty of Informatics
Keywords: ระบบนำทาง
แอปพลิเคชันมือถือ
มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการออกแบบ Human Centre Design(HCD)
สื่อต้นแบบ
Way-finding
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Guiding System
Mobile Application
Human-Centre Design
Prototype Media
Way-finding
Mahasarakham University Academic Resource Center
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to explore and develop the application and classification symbol system to simulate the guiding system for information searching at the Mahasarakham University Academic Resource Center (MSU Library) in which the scope of study covered the 9-main book classification system. In fact, the MSU Library is a large data searching unit storing over 500,000 pieces of books and documents to serve averagely 3,000 users per day but the current guiding system or WebOPAC is still ineffective and provides some confusing results for the users. Particularly in this research, the Human Centre Deign (HCD) was used as the conceptual framework where the knowledge-based community need from the stakeholders was granted as the heart of the guiding application development and design. After the prototype media evaluation, the significant finding highlighted the need for the book classification symbol design for each category of book and the User Interface (UI) format to function properly on a mobile application. The research outcome was eventually resulted as 9 graphic symbol sets with suitable functions that were already tested for their performance used with the prototype application.    
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาและพัฒนาระบบแอปพลิเคชันและสัญลักษณ์ประจำหมวดหมู่สำหรับจำลองการนำทางการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศในสำนักวิทยบริการเพื่อพัฒนาระบบแอปพลิเคชันช่วยเหลือการค้นหาเส้นทางทรัพยากรสารสนเทศในสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อประเมินคุณภาพของสื่อต้นแบบ ด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความพึงพอใจ โดยขอบเขตด้านเนื้อหาในงานวิจัยจะครอบคลุมประเด็นศึกษาในด้านหมวดหมู่หนังสือหลักที่สำคัญทั้ง 9 หมวด ซึ่งสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานสืบค้นข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่ มีหนังสือเอกสารการค้นคว้ามากกว่า 500,000 เล่ม มีจำนวนผู้เข้าใช้บริการเฉลี่ย 3,000 คน ต่อวัน หากมีระบบการช่วยเหลือการนำทางจากการสืบค้นของ WebOPAC ที่ยังไม่ครอบคลุมสมบูรณ์ในการนำทางเพื่อสืบค้นข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎี “มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการออกแบบ” Human Centre Design (HCD) มาเป็นกรอบแนวคิดหลักในการพัฒนา เพื่อนำเอาความต้องการบนพื้นฐานของ Knowledge based community จาก stakeholders เข้ามาเป็นศูนย์กลางในกระบวนการออกแบบและพัฒนาระบบแอปพลิเคชันนำทาง ผลการศึกษาสำคัญหลังจากประเมินคุณภาพ ในงานวิจัยจะรายงานผลในส่วนของการเก็บข้อมูลด้านการศึกษาความต้องการในการออกแบบสัญลักษณ์ประจำหมวดหมู่หนังสือหลักที่สำคัญ และการจัดวางรูปแบบของสื่อต้นแบบ User interface(UI) เพื่อการใช้งานบนแอปพลิเคชัน ซึ่งผลวิจัยที่ได้ในครั้งนี้คือการออกแบบและพัฒนา สัญลักษณ์ต้นแบบ prototype ได้จำนวน 9 ชุด และฟังชั่นการใช้งานเพื่อที่จะนำไปทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานบนแอปพลิเคชัน โดยใช้องค์ประกอบในการออกแบบ เช่น การจัดการสารสนเทศ โครงสร้างการให้บริการ ระบบฐานข้อมูลของ WebOPAC โดยการประเมินผลคุณภาพหลังจากการพัฒนาสื่อต้นแบบทั้ง 3 ด้านคือ  ด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล ความพึงพอใจ (Usability test) ผลการวิเคราะห์สรุปรวมผลคะแนนค่าเฉลี่ยของ ของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (เอ็กบาร์=4.06) และผลการวิเคราะห์สรุปรวมผลคะแนนค่าเฉลี่ยของ ของกลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองจำนวนทั้งสิ้น 30คน อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (เอ็กบาร์=4.41)    
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/535
Appears in Collections:The Faculty of Informatics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011251008.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.