Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/543
Title: The development of brand strategy of Rajabhat University Library : A Case study of Sisaket Rajabhat University Library
การพัฒนากลยุทธ์ของแบรนด์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ : กรณีศึกษาห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Authors: Rerngjai Khewon
เริงใจ  เขียวอ่อน
Gamgarn Sompasertsri
แกมกาญจน์ สมประเสริฐศรี
Mahasarakham University. The Faculty of Informatics
Keywords: พฤติกรรม
ความต้องการ
การรับรู้ภาพลักษณ์
ผู้ใช้บริการ
แบรนด์ห้องสมุด
แบรนด์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
กลยุทธ์
behavior
needs
image perception
user
Library brand
University library
brand Sisaket Rajabhat University library
strategy
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the behaviors and needs of library users at Sisaket Rajabhat University, 2) to study the perception of users towards the image of the library of Sisaket Rajabhat University and 3) to create a brand strategy Sisaket Rajabhat University library. The sample group used in the research was 348 students and personnel of Sisaket Rajabhat University and 11 library personnel. The tools used for data collection was open ended and close ended questionnaires. The statistics used in data analysis were the percentage, mean and standard deviation. The findings of the research showed that most of the service users had the behavior of using the library once a week, the duration was between 2-3 hours, the most frequent library usage was Monday - Friday between 8:30 am - 4:30 pm. The method of acquiring the information of the users was to search from the resources in the library. The reasons to use the service was to get a complete of information resources, variety and match the needs, the objective for access was to search information technology for work, report and homework. The services usage most often were information-borrowing services. The users have the most need for service providers, followed by service, building and environment and resources. The users have the highest perception of the image of the library by building and environment, followed by the service of the service provider and policy and library administration. The brand's target group was students, officer and faculty members. The brand's vision is "to be a center of modern learning and local excellence services". Brand positioning is "to be a professional service organization, clean, comfortable and modern service area with various information resources satisfied to the users. "Brand features are" good service, good atmosphere, variety of resources. "The brand's commitment is" to get impressive every time they come to get services "to create a brand identity system. It should have the name of Sisaket Rajabhat University library in English for internationalization with color of white, gold and purple.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ 3) เพื่อสร้างกลยุทธ์ของแบรนด์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 348 คน และบุคลากรของห้องสมุด จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการมีพฤติกรรมการเข้าใช้บริการ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการเข้าใช้อยู่ระหว่าง 2 – 3 ชั่วโมง ช่วงเวลาใช้บริการ ห้องสมุดบ่อยที่สุดคือ วันจันทร์-วันศุกร์เวลา 08.30 น. – 16.30 น. วิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลของผู้ใช้บริการ คือ ค้นข้อมูลจากทรัพยากรในห้องสมุด เหตุผลที่เข้าใช้บริการเพราะห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศครบถ้วน หลากหลาย และตรงกับความต้องการ วัตถุประสงค์ ในการเข้าใช้เพื่อค้นคว้าสารสนเทศ ประกอบการทำงาน ทำรายงานหรือ การบ้าน บริการที่เข้าใช้บริการบ่อยที่สุด คือบริการยืม – คืนทรัพยากรสารสนเทศ ผู้ใช้บริการมีความต้องการด้านผู้ให้บริการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบริการ ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม และด้านทรัพยากร ผู้ใช้บริการมีการรับรู้ภาพลักษณ์ห้องสมุดด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านนโยบายและการบริหารงานห้องสมุด กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ คือ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และอาจารย์ วิสัยทัศน์ของแบรนด์ คือ “เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ที่ทันสมัยและบริการที่เป็นเลิศในท้องถิ่น”การวางตำแหน่งของแบรนด์  คือ “การเป็นองค์กรที่ให้บริการอย่างมืออาชีพ มีพื้นที่บริการ สะอาด สบาย ทันสมัย ทรัพยากรสารสนเทศหลากหลาย ตรงใจผู้ใช้บริการ” คุณสมบัติแบรนด์ คือ “บริการดี บรรยากาศดี มีทรัพยากรหลากหลาย” พันธะสัญญาของแบรนด์  คือ “ได้รับความประทับใจทุกครั้งที่มารับบริการ” การสร้างระบบเอกลักษณ์ของแบรนด์ ควรมีชื่อประจำห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อความเป็นสากล มีสีขาว สีทอง และสีม่วง
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/543
Appears in Collections:The Faculty of Informatics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011283004.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.