Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/559
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Jesada Surawan | en |
dc.contributor | เจษฎา สุราวรรณ์ | th |
dc.contributor.advisor | Teabpaluck Sirithanawuthichai | en |
dc.contributor.advisor | เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Medicine | en |
dc.date.accessioned | 2019-11-19T09:48:29Z | - |
dc.date.available | 2019-11-19T09:48:29Z | - |
dc.date.issued | 10/5/2018 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/559 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this study were to determine the prevalence, factors associated with memory disturbance and dementia and to create the risk score for prognosis of memory disturbance and dementia in acute ischemic stroke patients during hospitalization before discharge, 3 and 6 months after stroke. Prospective observational cohort study was conducted with 401 acute ischemic stroke patients who admitted in Srinagarind Hospital, Khon-Kaen Hospital and Chum-Phae Hospital, Khon-Kaen Province, during January 1, 2017 and December 31, 2017. Data were collected about personal and clinical characteristics of patients, history of previous disease and use of drugs, laboratory tests result, and evaluated by medical record form, depression screening form, NIH Stroke Scale (NIHSS), and Mini Mental State Examination (MMSE), respectively. Dementia was diagnosed with the standard classification of Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-V). Factors associated with memory disturbance and dementia were analyzed by logistic regression using STATA version 10, and the risk score was defined from β coefficients of each factor. Results were found that for during hospitalization before discharge, the prevalence of the memory disturbance and dementia was 56.6% with statistical significance factors including age, educational levels, and severity of stroke. For after stroke 3 months, the prevalence of the memory disturbance and dementia was 41.6% with statistical significance factors including age, educational levels, and severity of stroke. For after stroke 6 months, the prevalence of the memory disturbance and dementia was 38.2% with statistical significance factors including age and educational levels. The risk score for prognosis of memory disturbance and dementia during hospitalization before discharge was 5 points (ROC curve 0.81, Sensitivity 76.2, Specificity 71.8). For after stroke 3 months was 5 points (ROC curve 0.83, Sensitivity 80.6, Specificity 68.7). For after stroke 6 months was 5 points (ROC curve 0.85, Sensitivity 84.1, Specificity 68.6). In conclusion, the prevalence of memory disturbance and dementia was still high percentage for three duration times: before discharge, 3 and 6 months after stroke. Factors associated with memory disturbance and dementia comprised age, educational levels, and severity of stroke. This risk score was suitable for prognosis of memory disturbance and dementia in acute ischemic stroke patients. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม และจัดทำค่าคะแนนความเสี่ยงเพื่อพยากรณ์การเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ขณะพักรักษาในโรงพยาบาลก่อนจำหน่าย หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 3 เดือน และ 6 เดือน เป็นการศึกษาจากสาเหตุไปหาผล โดยการติดตามไปข้างหน้า (Cohort study) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน จำนวน 401 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลชุมแพ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล อาการทางคลินิก ประวัติการเจ็บป่วยและการใช้ยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและประเมินผล ด้วยแบบบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย ภาวะสมองเสื่อมวินิจฉัยตามเกณฑ์เพื่อจัดกลุ่มในการรักษาของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM-V) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วย logistic regression โดยใช้โปรแกรม STATA version 10 และจัดทำค่าคะแนนความเสี่ยงรวมจากค่า β Coefficients ของแต่ละปัจจัย ผลการศึกษาพบว่า ขณะพักรักษาในโรงพยาบาลก่อนจำหน่าย พบความชุกของการเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 56.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา และระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 3 เดือน พบความชุกของการเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 41.6 โดยมีปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์กับความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 6 เดือน พบความชุกของการเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 38.2 พบว่าปัจจัยด้านอายุ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าคะแนนความเสี่ยงสำหรับการทำนายเพื่อพยากรณ์การเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม ขณะพักรักษาในโรงพยาบาลก่อนจำหน่าย เท่ากับ 5 คะแนน (ROC curve 0.81, Sensitivity 76.2, Specificity 71.8) หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 3 เดือน เท่ากับ 5 คะแนน (ROC curve 0.83, Sensitivity 80.6, Specificity 68.7), และหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 6 เดือน เท่ากับ 5 คะแนน (ROC curve 0.85, Sensitivity 84.1, Specificity 68.6) ตามลำดับ สรุป ความชุกของการเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อมยังคงสูงทั้งสามช่วงระยะเวลา โดยมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษาและระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ค่าคะแนนความเสี่ยงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้มีความเหมาะสมสำหรับการทำนายเพื่อพยากรณ์การเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การพยากรณ์ ความบกพร่องของสมองในด้านความจำ ภาวะสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง | th |
dc.subject | Prognosis Memory Disturbance Dementia Acute Ischemic Stroke | en |
dc.subject.classification | Medicine | en |
dc.title | Predicting Prognosis for Memory Disturbance and Dementia in Acute Ischemic Stroke Patients | en |
dc.title | การทำนายเพื่อพยากรณ์การเกิดความบกพร่องของสมองในด้านความจำและภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Medicine |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57011560003.pdf | 3.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.