Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/564
Title: The Process of Improving The Quality of Life and Health Services Accessibility of Migrant  Workers in Regional Heath 8 Office, The Upper  North East, Thailand
กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว ในเขตสุขภาพที่ 8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย
Authors: Jarin Yonphan
จรินทร์  ย่นพันธ์
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: แรงงานต่างด้าว
คุณภาพชีวิต
การเข้าถึงบริการสาธารณสุข
Migrant worker
Quality of Life
Health Services Accessibility
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Migrant workers with increasing every year  in Thailand. We should have an effective management system. The study of development process for quality of life and access to health services of migrant workers in northeastern Thailand aims to study the situation, quality of life problems and access to health services of migrant workers. The development process for quality of life and access to health services of migrant workers with mixed method research which is an explanatory design, which is the nature of research, starting with quantitative research using a cross-sectional descriptive research model (Cross-sectional Descriptive Study) to study the situation from a sample of Lao migrant workers from then on, continuing education in Phase 2, form development with Action Research in linking research results to develop migrant workers, entrepreneurs and health officials in Chiang Khan District, Loei Province The results showed that The sample group of 574 people had a quality of life with moderate quality of life Regarding the use of public health services in the past 6 months, foreign workers had never been ill, 63.4% and 36.6% were sick. Most migrant workers would choose to use public health services. 53.3 percent of district hospitals in the area of ​​access to health services of migrant workers according to the health insurance fund's benefits package found that the treatment of migrant workers has been the most common treatment, such as headache, fever, cough, cold, diarrhea, hundreds of 45.1 per cent of health promotion. Migrant workers who have received the most services are 71.3% of the annual health check-up service. With female workers who used to take family planning services with oral contraceptives 59.06% (n = 381) in the prevention and control of diseases. Migrant workers had received tetanus vaccination services, 39.4 percent. Female migrant workers had received 51.18 percent of urine tests for pregnancy. In general rehabilitation, most foreign workers had received post-treatment follow-up services from public health officials. Accounted for 33.3 percent. The results of the analysis of the relationship between quality of life and access to health services of foreign workers found These workers, quality of life is poor with the opportunity to access health services less than workers with a better quality of life, but no statistically significant 0.51-fold. The result of the analysis of single variable relationship with access to public health services As for population characteristics, it was found that male migrant workers had the opportunity to access health services as low as 2.64 times (OR = 2.64; 95% CI = 1.21-5.76) of female migrant workers without a partner. 3.39 times (OR = 3.39; 95% CI = 1.53-10.11) of people who have a partner or marriage. The results of system development for quality of life and access to health services of migeant workers found that there are 4 important elements in driving the system: policies, health officials, employers and foreign workers. The study of development process for quality of life and health services access of migrant workers. There should be a public health agency, relevant staff to focus on as a policy. As for employers, they should comply with the regulations for bringing migrant workers to register for health insurance in order for migrant workers to have a better quality of life.
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ควรมีระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ  การศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว ในเขตสุขภาพที่ 8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานการณ์ สภาพปัญหา คุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว การพัฒนากระบวนการพัฒนาระบบเพื่อคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการ สาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว โดยมีรูปแบบการวิจัยผสม (Mixed Method Research) ที่เป็นแบบแผนเชิงอธิบาย (Explanatory Design) คือ มีลักษณะการดำเนินงานวิจัยโดยเริ่มต้นที่การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาสถานการณ์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแรงงานต่างด้าวลาว จากนั้นศึกษาต่อเนื่องในระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในการเชื่อมโยงผลการวิจัยนำมาพัฒนาแรงงานต่างด้าว ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 574 คน พบว่า แรงงานต่างด้าวมีคุณภาพชีวิตรวมระดับไม่ดีถึงกลางๆ ร้อยละ 91.8 เมื่อพิจารณารายด้าน ใน 4 ด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายพบว่ามีระดับคุณภาพชีวิตระดับกลางๆ ร้อยละ 93.9 คุณภาพชีวิตด้านจิตใจพบว่ามีระดับคุณภาพชีวิตระดับกลางๆ ร้อยละ 72.1 คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามีระดับคุณภาพชีวิตระดับกลางๆ ร้อยละ 71.6 และคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมกายพบว่ามีระดับคุณภาพชีวิตระดับกลางๆ ร้อยละ 53.8  ด้านการใช้บริการสาธารณสุข ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาแรงงานต่างด้าวไม่เคยป่วยร้อยละ 63.4 และป่วยร้อยละ 36.6 ในแรงงานต่างด้าวที่เจ็บป่วยส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลอำเภอร้อยละ 53.3 ด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าวตามชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสุขภาพ พบว่า การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าวชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสุขภาพส่วนใหญ่มีระดับน้อย ร้อยละ 96.3 ใน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการตรวจรักษาโรคแรงงานต่างด้าวเคยรับบริการมากที่สุด คือ การตรวจรักษาโรคทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ ไข้ ไอ หวัด ท้องเสีย ร้อยละ 45.1 ด้านการส่งเสริมสุขภาพแรงงานต่างด้าวเคยรับบริการมากที่สุด คือ บริการตรวจสุขภาพประจำปีคิดเป็นร้อยละ 71.3 สำหรับแรงงานหญิงเคยรับบริการวางแผนครอบครัวด้วยการยากินคุมกำเนิดร้อยละ 59.06 (n=381) ด้านการป้องกันและควบคุมโรค แรงงานต่างด้าวเคยได้รับบริการฉีดวัคซีนบาดทะยัก ร้อยละ 39.4 แรงงานต่างด้าวหญิงเคยได้รับการตรวจปัสสาวะหาการตั้งครรภ์ ร้อยละ 51.18 ด้านการฟื้นฟูสภาพทั่วไปแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เคยได้รับบริการติดตามผลหลังการรักษาพยาบาลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 33.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว พบว่า แรงงานต่างด้าวที่มีคุณภาพชีวิตไม่ดีมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขต่ำ มากกว่า แรงงานต่างด้าวที่มีคุณภาพชีวิตดี 0.51 เท่า แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรเดี่ยวกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ด้านลักษณะประชากร พบว่า แรงงานต่างด้าวเพศชายมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขต่ำเป็น 2.64 เท่า (OR = 2.64; 95%CI = 1.21-5.76) ของเพศหญิง แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีคู่มีโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขต่ำเป็น 3.39 เท่า (OR = 3.39; 95%CI = 1.53-10.11) ของคนที่มีคู่หรือสมรส ด้านผลของกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการในการขับเคลื่อนระบบ ได้แก่ นโยบาย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว  กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ควรมีหน่วยงานด้านสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญโดยนำไปเป็นนโยบายไปปฏิบัติ ส่วนนายจ้างควรมีการปฏิบัติตามระเบียบในการนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพเพื่อให้แรงงานต่างด้าวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/564
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011460002.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.