Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/565
Title: Effects of Smoking Cessation Program by Medications Use Reduction Tobacco Dependence Type Nicotine Gum and Vernonia Cinerea Lozenge with An Intensive Counseling and Behavioral Therapies at Home : A Case Study of Roi-Et Province
ผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่โดยใช้สารลดความอยากบุหรี่ในหมากฝรั่งนิโคตินและสมุนไพรหญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอม ร่วมกับการให้คำปรึกษาเชิงรุกและพฤติกรรมบำบัดที่บ้าน กรณีศึกษา : จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Tanaprat Thuksin
ธนะพัฒน์  ทักษิณทร์
Prachumporn Lauprasert
ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: โปรแกรมการเลิกบุหรี่
สารลดความอยากบุหรี่
หมากฝรั่งนิโคติน
สมุนไพรหญ้าดอกขาว
การให้คำปรึกษาเชิงรุกและพฤติกรรมบำบัดที่บ้าน
smoking cessation Program
medications use reduction tobacco dependence
Nicotin Gum
Vernonia cinerea
intensive counseling and behavioral therapies at home
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: These guidelines are development to assist patients who are addicted to cigarettes and reduce the rate of sickness and premature deaths. This quasi-experimental research aimed to evaluate effects of smoking cessation program by medications use reduction tobacco dependence type nicotine gum and Vernonia cinerea lozenge with intensive counseling and behavioral therapies at home. The samples were 93 smokers who ages ranged from 15-59 years old. The samples were divided into 3 groups; 2 experimental groups and 1 control group.  The samples were chosen by randomized controlled trial for consider random allocate. The research tools used a questionnaire and the smoking cessation program by medications use reduction tobacco dependence type nicotine gum and Vernonia cinerea lozenge with an intensive counseling and behavioral therapies at home. The collected data were analyzed using percentages, means, standard deviations, paired samples T-test and independent T-test. Results revealed that after implementation, the two groups of experimental and control group in terms of knowledge, attitude, behavior and quality of life were statistically significant at p < 0.05. Notwithstanding, behavior and quality of life in the control group was not significantly different. The results revealed that before comparison between groups were not significantly different. After implementation the results revealed to comparison between groups the both of experimental groups were not significantly different. Excepted the both of experimental groups to compared control group a results were statistically significant at p < 0.05.  The average levels of exhaled carbon monoxide and carboxyhemoglobin based on before experimental, point prevalence abstinence (PAR) and continuous abstinence (CAR) of the two experimental groups and control group were statistically significant at p < 0.05.  The results revealed of comparison between groups base on before experimental were not significantly different. The comparative of PAR and CAR were statistically significant at p < 0.05. However, a comparison in the both groups of experimental were not significantly different. The Fagerstrom score test was also applied to both the experimental and control groups on basis of before the experiment. The comparative of PAR and CAR. between groups were statistically significant at p<0.05.  Except the comparison of PAR and CAR were not significantly different. The successful smoking cessation on basis in both the experimental and control groups of PAR percentage were 83.9, 67.7, 32.3, respectively and CAR percentage were 67.7, 54.8, 25.8, respectively. In conclusion, the effects of the smoking cessation program using tobacco dependence nicotine gum and Vernonia cinerea lozenge via intensive counseling and behavioral therapies at home showed the reduction of exhaled carbon monoxide, carboxyhemoglobin levels and Fagerstrom score in subjects practicing smoking cessation. The research also showed improvement of knowledge, attitude, behavior and quality of life after they smoking quitted. The samples who already on the smoking cessation program responded positively to the use of tobacco dependence nicotine gum. However, collaborating with intensive counselling and behavioral therapies at home would have increases the results of smoking cessation.
การพัฒนาแนวทางในการเลิกบุหรี่ เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดบุหรี่และลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่โดยใช้สารลดความอยากบุหรี่ในหมากฝรั่งนิโคตินและสมุนไพรหญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอม ร่วมกับการให้คำปรึกษาเชิงรุกและพฤติกรรมบำบัดที่บ้าน และเปรียบเทียบผลการวิจัยในก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูบบุหรี่อายุ 15-59 ปี ที่ประสงค์จะเลิกบุหรี่จำนวน 93 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 31 คน  ใช้การสุ่มพื้นที่และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และใช้การจัดกลุ่มการทดลองโดยวิธีการ Random Allocate  เครื่องมือในการวิจัย คือ โปรแกรมการเลิกบุหรี่โดยใช้สารลดความอยากบุหรี่หมากฝรั่งนิโคตินและสมุนไพรหญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอม ร่วมกับการให้คำปรึกษาเชิงรุกและพฤติกรรมบำบัดที่บ้าน และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและสภาพปัญหาการสูบบุหรี่  ส่วนที่ 2 แบบบันทึกข้อมูลผลของโปรแกรมการวิจัย และส่วนที่ 3 ระดับคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานโดยวิธี Paired Samples T-test  และ Independent T-test  ในการวิเคราะห์ผลการศึกษาก่อนและหลังการทดลอง และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มการทดลอง ผลการวิจัย พบว่าการเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลองในด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรม และระดับคุณภาพชีวิตหลังการเลิกบุหรี่ เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  ยกเว้นภายในกลุ่มควบคุมด้านพฤติกรรม และระดับคุณภาพชีวิตหลังการเลิกบุหรี่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง พบว่าการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มในด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรม และระดับคุณภาพชีวิต ในหลังการทดลองกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)   ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกและระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในฮีโมโกลบิน ภายในกลุ่มระยะก่อนการทดลอง กับการเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มระยะก่อนการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ  และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มการเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) ระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ  ระดับการเสพติดนิโคติน ภายในกลุ่มระยะก่อนการทดลอง การเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มการเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) ระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ  เปรียบเทียบจำนวนผู้เลิกบุหรี่สำเร็จภายในกลุ่มพบว่าระยะก่อนการทดลอง การเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) ระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มการเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นการเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ 2 กับกลุ่มควบคุม และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR) ระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และมีอัตราการเลิกบุหรี่ในแต่ละระยะ ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ร้อยละ 83.9 และ 67.7 กลุ่มทดลองที่ 2 ร้อยละ 67.7 และ 54.8 กลุ่มควบคุม ร้อยละ 32.3 และ 25.8 ตามลำดับ โดยสรุปการศึกษาผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่โดยใช้สารลดความอยากบุหรี่ในหมากฝรั่งนิโคตินและสมุนไพรหญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอม ร่วมกับการให้คำปรึกษาเชิงรุกและพฤติกรรมบำบัดที่บ้านทำให้ผู้ป่วยติดบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ซึ่งการใช้สารลดความอยากบุหรี่ในหมากฝรั่งนิโคตินมีประสิทธิผลมากกว่าสมุนไพรหญ้าดอกขาวชนิดเม็ดอม ตามผลการทดลองสามารถช่วยเหลือให้ผู้ป่วยติดบุหรี่สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่และเลิกบุหรี่ได้ ลดระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก และร้อยละคาร์บอนมอนอกไซด์ในฮีโมโกลบิน ทั้งในการเลิกบุหรี่ระยะแรก (PAR) และการเลิกบุหรี่ระยะต่อเนื่อง (CAR)  การใช้สารลดความอยากบุหรี่ร่วมกับการให้คำปรึกษาเชิงรุกและพฤติกรรมบำบัดที่บ้านสามารถช่วยให้เพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ได้สูงมากขึ้นกว่าการใช้การให้คำปรึกษาเชิงรุกและพฤติกรรมบำบัดที่บ้านอย่างเดียว  และยังเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มผู้ป่วยติดบุหรี่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในการเลิกบุหรี่ในรูปแบบการบริการเชิงรุก และในกระบวนการกิจกรรมตามการทดลองในการวิจัยสามารถช่วยให้กลุ่มตัวอย่าง ลดภาวะความทรมานที่เกิดจากอาการขาดนิโคตินและการถอนนิโคตินได้อย่างเหมาะสม
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/565
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011460007.pdf10.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.