Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/566
Title: The Application of Technology of Participation Program for Liver Fluke Prevention in Community at Thanya Subdristrict, Kammalasai Dristrict, Kalasin Province
รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Woragon Wichaiyo
วรกร  วิชัยโย
Wirat Pansila
วิรัติ ปานศิลา
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: เทคโนโลยีการมีส่วนร่วม
ป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ
โรคพยาธิใบไม้ตับ
รูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ
Participatory technology
Liver fluke disease prevention
Liver fluke disease
model of liver fluke disease prevention
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Liver fluke disease most commonly occurs from the behavior of eating raw or uncooked fish dishes. It has been largely found in the northeastern region of Thailand. Prevention heavily depends on serious participation of those who involve with. This research aims to study a model of applying participatory technology to prevent liver fluke disease in a community in Thanya sub-district, Kamalasai district, Kalasin province. The research participants are a sample of 400 persons who are 30 years of age and over. It is a cross-sectional analytic study using chi-squared test statistic and multiple logistic regression analysis. A statistical significance is determined at a level of 0.05 and relative risk in getting liver fluke disease is defined by odds ratio (OR) and 95%CI. Interview forms are used to collect data in conjunction with qualitative data analysis. The findings from the study showed that in phase 1 cats were raised in households and the risk of getting the disease was 7.00 times higher than households that did not raise cats. In the meantime, self-cooking or cooking raw fish dishes by oneself could be more at risk of getting the disease by 2.58 times. By the way, if those persons did not cook by themselves but have their relatives or siblings to cook raw fish dishes for them, this resulted in being at risk of getting the disease by 4.74 times. For those who did not have much time to cook by themselves and bought raw fish dishes from a community market, they were at risk of getting the disease by 2.33 times. The study also found that the research sample used to take anthelmintics; conversely, resulted in prevention of getting liver fluke disease by 0.43 times or those who never took anthelmintics before were at risk of liver fluke disease by 2.33 times. The study results in the phase 2; making and using a model of the application of participatory technology to prevent liver fluke disease in a community in conjunction with Discussion-ORID-Method comprising  collaborative interaction in situation analysis, studying area context, returning data to a community, and creating an operational plan. There were 5 activities consisting of 1. Waste sorting activity. 2. Role model community. 3. Stop eating raw fish community. 4. Role model person and 5. Zero liver fluke disease community. Conclusion: The most important thing for preventing liver fluke disease caused by getting infection of Opisthorchis viverrine is acquiring data collected from a community that are important and useful for relevant personnel to employ such data to seek methods to raise awareness of people in a community to realize the importance and make collaboration to help solve the problem including returning data to people to use as sharing data for seeking problem-solving methods based on everyone’s participation.
โรคพยาธิใบไม้ตับล้วนเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารจากปลาดิบ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การป้องกันจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของผู้เกี่ยวข้อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เป็นการการศึกษาวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytic study) โดยใช้สถิติไคสแคว์ และใช้สถิติ Multiple logistic regression analysis กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และการหาอัตราเสี่ยงต่อการป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับนั้นโดยใช้ค่า Odds Ratio (OR) และใช่ค่า 95%CI  ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวรวมข้อมูล และร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 พบว่ามีการเลี้ยงแมวในครัวเรือน มีความเสี่ยงต่อโรคถึง 7.00 เท่า ของครัวเรือนที่ไม่ได้เลี้ยงแมว และการประกอบอาหารหรือการทำเมนูปลาดิบด้วยตนเอง ก็ยังทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคได้ถึง 2.58 เท่า ประกอบกับถ้าตนเองไม่ได้ทำเองก็จะมีญาติพี่หรือน้อง มาทำเมนูปลาดิบให้กินภายในครอบครัว ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคถึง 4.74 เท่า ส่วนถ้าไม่มีเวลาทำก็จะมีพฤติกรรมเสี่ยงคืออีกอย่าง นั่นก็คือการซื้อเมนูปลาดิบมาจากตลาดภายในชุมชน ก็ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคถึง 2.33 เท่า แต่ก็ยังพบอีกว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่เคยกินยาถ่ายพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งในกลับกันกับส่งผลต่อการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ 0.43 เท่า หรือคนที่ไม่เคยกินยาถ่ายพยาธิมีความเสี่ยงป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับถึง 2.33 เท่า และผลการวิจัยในระยะที่ 2 สร้างและใช้สรุปรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน ร่วมกับกระบวนการถกปัญหาแบบ ORID โดยมีองค์ประกอบด้วย การร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ การศึกษาบริบทในพื้นที การคืนข้อมูลให้กับชุมชน และการวางแผนปฏิบัติการผลที่ได้จำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ 1.กิจกรรมคักแยกขยะ 2.ชุมชนต้นแบบ 3.ชุมชนเลิกกินปลาดิบ 4.บุคคลต้นแบบ และ 5. ชุมชนปลอดโรคพยาธิใบไม้ตับ สรุป สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับที่เกิดจากการติดเชื้อ Opisthorchis viverrini นั้นคือการได้มาซึ่งข้อมูลจากการเก็บรวบรวมในชุมชนที่สำคัญและเป็นประโยชน์ให้สำหรับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องนำเอาไปเป็นข้อมูลเพื่อช่วยหาวิธีการให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและร่วมกันแก้ไขปัญหา การรวมถึงการคืนข้อมูลให้กับประชาชนเพื่อใช้เป็นข้อมูลร่วมกันค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/566
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011460012.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.