Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/568
Title: Development of  the model for the Home-bound Elderly Care in Community though Elderly Care Giver in BOK Health Promoting Hospital, NongThanam Sub-district, Kudkawbun district, Ubon Ratchathani 
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชนโดยแนวทางนักบริบาลผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบก  ตำบลหนองทันน้ำ  อำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี      
Authors: Tasawan Charoenwong
ทัศวรรณ์ เจริญวงศ์
Songkramchai Leethongdee
สงครามชัย ลีทองดี
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน
นักบริบาลผู้สูงอายุ
The Model for the Home-bound Elderly Care
Elderly home group
CAREGIVER
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Action research  this time have the objective for development care old people group format sticks a house in the community by the model for the home-bound elderly care in community though elderly care giver in bOK health promoting hospital, nongthanam sub-district, kudkawbun district, ubon ratchathani, Action research takes action 4 pillar step, be, planning, (Planning), practice, (Action), the observation is, (Observation), and refection, take a random from from the target group, be, the participant relates, public health personnel, old people and a superintendent, 119 persons amounts, pick collect manner quantity data by use the questionnaire that establishes, analyse manner quantity data by use manner statistics describes, for example,  percentage, average, the part deviates the standard, and manner statistics estimates to are, Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test, collect data quality manner, by group conversations, and analyse manner quality data by manner substance analysis, the research result meets that, the procedure develops this time, there is 8 the step, for example, 1) the education confiscates /, 3) 2) base havingappointed working group analysis common data datas 4) planning s operate 5) train to resuscitate extremely 6) old peoples s take action to take care 7) old observation peoples, follow, and 8) evaluate, and take off a lesson, later format development, meet that, participant network group, and public health personnel, there is knowledge change, participating in, and the contentment in care old people format, for old people group and a superintendent, meet that, there is knowledge change, the behaviour and the contentment build [wasp] the format improve before more format development, can summarize that, side success important factor composes 1) having policy and 2) distinct development latency regulations of extremely old people continuously 3) participating in of 4) network budget participants support enough.  
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชนโดยแนวทางนักบริบาลผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบก เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอนหลัก คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตผล (Observation) และการสะท้อนผล (Refection) สุ่มตัวอย่างจากจากกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง, บุคลากรสาธารณสุข ผู้สูงอายุและผู้ดูแล  จำนวน 119 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาครั้งนี้  มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาบริบท/ข้อมูลพื้นฐาน 2) การแต่งตั้งคณะทำงาน 3) การวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน 4) การวางแผนดำเนินงาน 5) อบรมฟื้นฟูนักบริบาลผู้สูงอายุ 6) ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ 7) การสังเกต ติดตาม  และ 8) ประเมินผล และถอดบทเรียน ภายหลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า กลุ่มภาคีเครือข่าย และบุคลากรสาธารณสุข  มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจในรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแล พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อรูปแบบดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบสรุปได้ว่าปัจจัยด้านความสำเร็จที่สำคัญประกอบด้วย 1) การมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน 2) การพัฒนาศักยภาพของนักบริบาลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง  3) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  4) งบประมาณสนับสนุนเพียงพอ
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/568
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59051480010.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.