Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/569
Title: The Development of Measures to Control the Dengue Hemorrhagic Fever by Community Participation
การพัฒนามาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม
Authors: Yutthachai Nadon
ยุทธชัย นาดอน
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ลูกน้ำยุงลาย
การควบคุมโรค
การมีส่วนร่วม
Aedes larvae
disease control
community participation
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to develop measures to control dengue hemorrhagic fever by community participation. An action research was employed and based on the PAOR cycle. The study samples consisted of community leaders and people in the responsibility area of ​​Ban Nado subdistrict hospital, Na Sok subdistrict, Mueang district, Mukdahan province, which were 723 people. Both quantitative and qualitative data were collected. The study found that the participation started from problem detection, problem analyses, defining problem solutions, then participated the activities. There were 4 programs for solving the problems of dengue hemorrhagic fever (DHF). As those results, the community participation established the measures for DHF control, including "7 days, survey, put in, look, release, spray, flag, fine". 7 days meant cleaning water storage containers every 7 days. Survey meant exploring the houses and put in referred to put abet sand in water retention as the common breeding places for Aedes larvae every 3 months. Look meant keeping environment clean and release meant releasing fish to water jars to control larvae. Spray meant getting rid of mosquitoes from the villages by chemical sparing. Flags were green, yellow, and red, which were used following the criteria of household survey for Aedes breeding places. Fine was to adjust household that the containers were found mosquito larvae as 5 Bahts per container. Summary, it was clear that people had improved knowledge, attitudes and practices. Community environment had been developed such as sleeping rooms, resting areas in daytimes, lighting in houses, hanging clothes, storages in houses, waste management. Therefor, household areas were not at risk for mosquito breeding. The success factors of the DHF control measures by community participation were establishing a committee from all sectors, understanding the community activities, and effectiveness of communication. Consequently, the measures had been conducted in the community.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรการในการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามวงจร P-A-O-R กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วย แกนนำชุมชนและประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโด่ ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 723 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่าง เริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา จนถึงมีกิจกรรมแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 4 โครงการ ส่งผลให้เกิดมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น ได้แก่ “มาตรการ 7 วัน สำรวจ ใส่ ดูแล ปล่อย พ่น ธง ปรับ” โดย 7 วัน คือทำความสะอาดภาชนะเก็บกักน้ำทุก 7 วัน  สำรวจ คือออกสำรวจในหลังคาเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ ใส่ คือใส่ทรายอะเบททุกภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุก 3 เดือน ดูแล คือรักษาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้สะอาด ปล่อย คือ ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะเก็บกักน้ำ พ่น คือ พ่นสารเคมีกำจัดยุงภายในหมู่บ้าน ธง คือใช้ธงผ้าสีเขียว เหลือง แดง ตามเกณฑ์การสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายของครัวเรือน และปรับ คือปรับภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย ภาชนะละ 5 บาท โดยครัวเรือนที่พบลูกน้ำยินดีให้ปรับ สรุปผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติที่ดีขึ้นจากก่อนการพัฒนา มีการจัดการสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เช่น ห้องนอน ที่พักผ่อนในเวลากลางวัน แสงสว่างในบ้าน การจัดแขวนเสื้อผ้า การจัดเก็บสิ่งของในที่พัก การจัดการขยะและวัสดุที่ไม่ใช้และอาจเป็นที่ขังน้ำได้ ทำให้บริเวณบ้านไม่เป็นสถานที่เอื้อต่อการเกาะพักหรือเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการพัฒนามาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วมครั้งนี้คือ มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน การสร้างความรู้ความเข้าใจในโครงการและกิจกรรม การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการ เกิดการนำมาตรการไปใช้ในชุมชน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/569
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011480005.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.