Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/570
Title: Risk Management to Prevent Medication Errors among the Outpatient Department in Khaowong Hospital, Kalasin Province
การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Warunya Yatpramot
วรัญญา ญาติปราโมทย์
Songkramchai Leethongdee
สงครามชัย ลีทองดี
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การจัดการความเสี่ยง
ความคลาดเคลื่อนทางยา
Risk management
Medication error
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research was aimed to develop a model for risk management to prevent medication errors among the outpatient department in Khaowong hospital, Kalasin province. Participants were selected from a random criteria of 20 people. Data was collected both quantitative and qualitative. Quantitative data were analyzed using by frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics (Wilcoxon Signed-Ranks Tests). Qualitative analyzed by content. The research found that the development of this model has 10 stages : 1) Problem analysis. 2) Explore information, knowledge and compliance before development. 3) Analyze, evaluate, identify problems find the actual cause and set goals. 4) Plan of action. 5) Approach a new medication management system. 6) Using the look-alike sound-alike medication names (LASA) project .7) Implement a new system of a drug risk management. 8) Observe, participate in the process and after the operation. 9) Evaluate according to the action plan after implementation. 10) Lessons learned. The results of development risk management to prevent medication errors among the outpatient department effected to the level of knowledge and practice of participants were increased from the beginning with the statistical significant (p-value<0.05). The incidence of outpatient medication errors has decreased from 11.89 to 9.82 times per thousand prescriptions. The primary resulted in a risk management system model for preventing the medication errors was called KWSC model with a focus on creating a medication safety culture in the organization. In conclusions, the key success factors comprised 1) Participation of volunteer multidisciplinary teams. 2) Approach information and knowledge to apply systematically. 3) Conduct with intention policy support from the leaders. and 4) Promote a quality work culture and create public awareness of patient safety.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน Wilcoxon Signed-Ranks Tests ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาครั้งนี้ 10 มีขั้นตอนประกอบด้วย 1) ศึกษารวบรวมข้อมูล 2) สำรวจความรู้และการปฏิบัติก่อนพัฒนา 3) วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และตั้งเป้าหมาย 4) ประชุมกำหนดแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม 5) พัฒนาระบบการจัดการยา 6) พัฒนาระบบเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา 7) พัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงด้านยา 8) สังเกตการณ์มีส่วนร่วมระหว่างดำเนินการ และหลังการดำเนินงาน 9) ประเมินผล และ 10) จัดเวทีถอดบทเรียน กระบวนดังกล่าวส่งผลให้ผู้กลุ่มเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และการปฏิบัติเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา เปลี่ยนแปลงดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยนอกลดลงจากเดิม 10.85 ครั้งต่อพันใบสั่งยา เป็น 9.82 ครั้งต่อพันใบสั่งยา การดำเนินงานในครั้งนี้ ทำให้ได้รูปแบบเบื้องต้นในการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลเขาวง ที่เรียกว่า “K- W- S- C model”  ที่มีจุดเน้นที่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านยาในองค์กร สรุป ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงด้านยาครั้งนี้ คือ 1) การมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพอย่างสมัครใจ 2) ใช้ข้อมูลข่าวสารและความรู้มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ 3) การสนับสนุนเชิงนโยบายจากผู้นำที่ชัดเจน และ 4) ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นคุณภาพ และสร้างจิตสำนึกแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/570
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011480006.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.