Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/57
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWarranittha Chan-iamen
dc.contributorวรนิษฐา จันทร์เอี่ยมth
dc.contributor.advisorBoonsom   Yodmaleeen
dc.contributor.advisorบุญสม ยอดมาลีth
dc.contributor.otherMahasarakham University. Faculty of Cultural Scienceen
dc.date.accessioned2019-08-08T08:10:04Z-
dc.date.available2019-08-08T08:10:04Z-
dc.date.issued6/12/2018
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/57-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstract           Health care treatment with Thai traditional medicine is both knowledge and ability inherited from prerious generations to solve health problems disease prevention and health care in communities. Health care was and still is situations when people learn and gather experiences and later becomes a health care culture Health care culture varies and covers physical, mental and social areas. In the past each temple was the center of  community  It was there that people learned about their culture. A temple also provided basic health care to people Currently, there were some temples still played active role in providing health care services using Thai traditional medicine in the Central and Northeast regions. The purpose of research was , 1) to study the background of health care culture with Thai traditional medicine in temples in Central and Northeast regions, 2) to study problems of the health care culture with Thai traditional medicine in temples in the regions as given above, and 3) to present models of health care culture with Thai traditional medicine in the areas as given above. The research data were collected documentary studies and field work. Observations, interviews and focus group discussions were carried out during the field work. Three  temples and 75 informants were selected purposively. Of 75 informants, 9 were key informants, 21 were casual informants, and 45 were general informants. The data were analyzed in accordance with the research purpose and was presented descriptively as follows :            1. For the background of health care culture with Thai traditional medicine in the Central and Northeast regions, the study found that the Thai traditional healers had obtained their healing experiences either from their ancestors or from taking courses in Thai traditional medicine. They had to be authorized to provide traditional health care services to patients who had physical, mental and social problems. The study also found that there was a relationship and good faith between traditional healers, patients and patients’ relatives. Most of the Thai traditional healers for this study were Buddhist monks. The rest were folk healers. The medical treatment provided to patients was based on the temple abbot or monk’s decision. Most patients came for medical treatment often had severe symptoms or in such a time that the treatment could hardly be provided. The herbal medicine was prepared at each temple. Patients found time doing mental improvement, meditation, singing, chanting, body massage, and herbal stream.            2.  For the problems of the health care culture with Thai traditional medicine in the areas chosen for the study, the study found that the herbal medical treatment was gradual. It took time. Patients had to follow the rules set by the temples. The treatment used herbal medicine coupled with mental treatments. Each temple had therapeutic activities for patients, such as chanting, meditation, physical, therapy, body massage, herbal stream, and sweeping temple areas. Also, each temple asked the patients’ relatives to come along with the patients for help. They also had to follow the temple’s rules. If they failed to do so, the medical treatment would not be fully achieved.            3. For models of health care culture with Thai traditional medicine in temples in the chosen areas, the study presented 2 models.                3.1 A traditional medical treatment using herbal medicine.  The method of medical treatment was known as a traditional way. Besides herbal medicine, the traditional healers also used hot-iron massage, compression, and hot stream. Other activities were also found to be related to medical treatment. By going into the temple for medical treatment, patients were welcome by the monk healers. From the beginning, most patients felt that their health problems were taken care of. The herbal medicine was specifically prepared for them. They felt very much at home Their uneasiness as well as their troubled mind were also looked after by the healers.                3.2 Integrated medical treatment. The medical treatment applied to this method included rituals, magic spells, herbal medicine, body massage, meditation, and chanting. By taking an active role of healing patients using traditional medicine, the temples brought Buddhism and traditional healing together making it community health care services. Traditional medicine healed illnesses, revitalized and enhanced health care, and finally prevented illnesses. Traditional medicine was both scientific and artistic. It eased mental suffering and brought once lost social unity and community strength and participation to come to live again.            In conclusion, the study indicated that some patients with severe illness turned to well known temples where Buddhist healers resided for medical treatment. The experienced monk healers provided treatment to both in and out patients applying the herbal medicine made specifically for each patient. For good medical treatment, both the patients and their relatives were told to follow the rules set by each temple while they were staying at the templeen
dc.description.abstractการดูแลรักษาสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทยเป็นทั้งองค์ความรู้ และความสามารถที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพชน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ ป้องกันโรค รวมทั้งการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน การดูแลรักษาสุขภาพทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นสถานการณ์ที่ผู้คนเรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์ ต่อมากลายเป็นวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน การดูแลรักษาสุขภาพมีหลากหลาย ครอบคลุมทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ในอดีตวัดแต่ละแห่ง เป็นศูนย์กลางของชุมชน ประชาชนเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม นอกจากนั้น วัดยังช่วยดูแลรักษาสุขภาพพื้นฐานของประชาชน ปัจจุบันยังมีวัดในพระพุทธศาสนาหลายแห่งที่ยังคงมีบทบาทในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทย ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความมุ่งหมายของการวิจัยมีดังนี้            1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยในเขตวัด  ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ            2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคของวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยในเขตวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ            3. เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยในเขตวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ            ข้อมูลการวิจัยได้จาก การศึกษาเอกสาร และการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม  ในการปฏิบัติงานภาคสนามนั้น ผู้วิจัยใช้วิธีการ สังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลวิจัยมี 75 คน คัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก 9 คน ผู้ให้ข้อมูลการปฏิบัติ 21 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 45 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายการวิจัย และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยมีดังนี้            1. ความเป็นมาของวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยในเขตวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า แพทย์แผนไทยได้รับการสืบทอดประสบการณ์การดูแลรักษามาจากบรรพบุรุษ บางส่วนได้ประสบการณ์จากการศึกษาเล่าเรียนจากคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ ก่อนที่จะเปิดให้บริการผู้ป่วย แพทย์แผนไทยต้องได้รับอนุญาตและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย โดยให้การดูแลรักษาทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้วิจัยได้พบความสัมพันธ์และความศรัทธาที่มีต่อกันระหว่างหมอพื้นบ้าน ผู้ป่วย และเครือญาติ ผู้ให้การดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ มีหมอพื้นบ้านเพียงบางส่วน การให้การดูแลรักษาสุขภาพขึ้นกับการพิจารณาของเจ้าอาวาสหรือ หมอพระผู้ที่เข้ารับบริการดูแลรักษาด้วยวิถีแพทย์แผนไทย มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยบางรายมีอาการเกินที่หมอจะให้การดูแลรักษา หมอพระจึงต้องปรุงยาสมุนไพรสำหรับคนไข้แต่ละคนโดยเฉพาะ คนไข้มีเวลาพัฒนาจิตใจ ทำสมาธิ ร้องเพลง สวดมนต์ นวดร่างกาย และอบสมุนไพร            2. สภาพปัญหา อุปสรรคของวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยในเขตวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า การดูแลรักษาสุขภาพของคนไข้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา คนไข้หรือคนที่มาใช้บริการจะต้องปฏิบัติตามข้อห้ามหรือกติกาที่วัดได้กำหนดไว้ การดูแลรักษาสุขภาพนั้น หมอพระใช้ยาสมุนไพร ควบคู่ไปกับการรักษาสภาพจิตใจ แต่ละวัดมีกิจกรรมการบำบัดรักษา โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการสวดมนต์ การทำสมาธิ กายภาพบำบัด การนวด การอบสมุนไพร และการปัดกวาดลานวัด นอกจากนั้นทางวัดยังได้ขอให้ผู้ป่วยนำญาติมาด้วย เพื่อจะได้ช่วยเหลือตามความจำเป็น ญาติจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือกติกาของวัดเช่นเดียวกัน หากญาติๆ มีการละเว้นที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของวัด การดูแลรักษาผู้ป่วยอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร            3. รูปแบบวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยในเขตวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่ามี 2 รูปแบบดังนี้                3.1 การดูแลรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพร เป็นวิธีการแบบพื้นบ้าน วิธีการดังกล่าว นอกจากใช้สมุนไพรแล้ว ยังใช้การนวดเหยียบเหล็กแดง การประคบ และการอบไอน้ำสมุนไพร ผู้วิจัยพบว่ายังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสุขภาพอาทิเช่น เมื่อคนไข้และญาติได้เดินทางไปที่วัด เพื่อขอรับการดูแลรักษาสุขภาพ ทางวัดโดยเจ้าอาวาสพร้อมพระลูกวัดต่างก็ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น เมื่อได้รับการปฏิบัติอย่างนั้น คนไข้มีความรู้สึกสบายใจตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า อาการเจ็บป่วยของตนจะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากหมอพระ นอกจากนั้น ยาสมุนไพรที่ใช้ในการเยียวยารักษา หมอพระก็ได้จัดปรุงให้เหมาะกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป คนไข้ส่วนใหญ่จึงมีความรู้สึกว่าพวกตนมีความอบอุ่นใจ เหมือนได้อยู่ที่บ้านของตนเอง ความอึดอัดใจ ตลอดทั้งความกังวลใจต่าง ๆ นานาของตน ก็ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากวัดและหมอพระ            3.2 การดูแลรักษาสุขภาพแบบผสมผสาน วิธีการดังกล่าว ใช้หลากหลายกิจกรรม อาทิเช่น พิธีกรรม เวทมนต์คาถา ยาสมุนไพร การนวด การทำสมาธิ การที่วัดได้มีบทบาทในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทย เป็นการนำเอาพระพุทธศาสนามาผสมผสานกับการเยียวยาแบบพื้นบ้าน และกลายเป็นการบริการการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน วิธีการดังกล่าวช่วยเยียวยาการเจ็บป่วย ขณะเดียวกันก็ฟื้นฟู และส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพ และสุดท้ายก็เป็นการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ การดูแลรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพร เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นอกจากช่วยลดความทุกข์ทางด้านจิตใจแล้ว การรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว ได้นำเอาความสมานสามัคคี ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่สูญไปให้กลับคืนมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง            โดยสรุป การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าคนป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง ไปรับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยจากพระภิกษุ ที่มีประสบการณ์ในการเยียวยารักษาคนป่วยนอกและในวัด โดยการใช้ยาสมุนไพร ทางวัดได้ขอให้คนป่วยและญาติที่ติดตามให้ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ที่ทางวัดกำหนด  th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพth
dc.subjectวิถีแพทย์แผนไทยth
dc.subjectHeaIth Care Cultureen
dc.subjectThai Traditional Medicineen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleModels of HeaIth Care Culture with Thai Traditional Medicine in Temples in the Central and Norteast Regionsen
dc.titleรูปแบบวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทยในเขตวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012160013.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.