Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/58
Title: Famous Khon Narrators: Knowledge and Intuition for Inheriting Wisdom of Cultural Heritage   
ครูพากย์โขน : องค์ความรู้และปรีชาญาณ เพื่อสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
Authors: Ketnipa Ninbalan
เกษนิภา  นิลบาลัน
Boonsom   Yodmalee
บุญสม ยอดมาลี
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: ครูพากย์โขน
ปรีชาญาณ
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
Famous Khon narrators
intuition
Cultural Wisdom
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Khon voice actors and Khon performance is considered as a form of classical performance of Thailand and Khon voice actors and Khon performance are united as well as its evolution Khon was seen as acts of feudalism.it was believed to originate from the indian Ramayana in Kalinggarat State in easterm India.The story was Ramayana depicted Bramhinism and Buddhism it was also believed to come from civilized ancient Khmer. Khon was dissolved.Later became popular in the Kingdom of Cambodia under the name of Bhanni or Lakhon Khon at present Khon was transmitted to Thailand  since the Sukothai period until the present day respectively. This research aims to study the background of Khon performance, Khon voice over narration and royal Khon performance in order to synthesis the body of knowledge and intuition in Khon voiceover narration of Khon voice masters. As such, researcher focuses on the issue that can be synthesizing towards the body of knowledge and intuition through 5  Her Majesty the Queen Sirikit granted  five persons a position of Khon narrators Khon voice narrative masters in the royal Khon performance which are Kru Theeraphat Thongnim, Kru Suthee Chamchuen, Kru Chaowanat Pengsuk, Kru Dumrongsak Natprasert and Kru Somporn Tiengcham. Researcher also studies undertake many many related tasks including a study of cultural heritage of wisdom in Khon voiceovers narrators. In this research, researcher studies from academic document, literature, textbooks, journal, research, storytelling, innovative media and collecting filed data by exploring, observing and interviewing 6 experts; 5 practitioners and 15 general key informants.  The research instrumentations are surveying form, observation form, empirical form and interviewing form both structured and unstructured interview, group discussion by employing the concept of music and theory of chorus which is related to the Khon voice over narration and presenting research with descriptive analysis The research outcome suggests that the background of Khon performance and Khon voiceover narration both general Khon performance and royal Khon performance from the queen Sirikit’s speech have been performed for 6 times. It gains most popularity from audiences since the first performance was debuted in 2008 until present day. The recent royal Khon performance was arranged in the royal cremation for the late King Bhumibol Adulyadej. In tRegarding to Khon voiceover narration, it is found that the Khon voiceover narration divides the original content as follow: the Khon voiceover for the main character (Pak Mueng), the Khon voiceover for admiring vehicles in the story of Khon performance (Pak Rod), the Khon voiceover for admiring the forest and juggle (Pak Chom Dong), the Khon voiceover for unsing in the situation of sorrow and condelences (Pak Oh), the Khon voiceover for mentioning the background of the story (Pak Ban Yai) and the Khon voiceover for general occasion (Pak Bet Ta Let). The Khon voiceover narration can also be divided into 2 categories; describing behavior of the role of actor (Jae Ra Ja Don) and narrative expression of the Khon performers (Jae Ra Ja Kra Tuu). The synthesis of the body of knowledge and intuition of Khon voiceover actors leads to the discovery that the qualification of Khon narrators consist of following qualifications which are 1) having a satisfactory voice 2) must be a male narrator 3) engaging and focusing on the story 4) concentration and improvisation is required 5) actors must have a comprehensive wisdom in linguistics 6) punctuation is required 7) having a principle of lip slurs as well as good skill of inhalation 8) having method and self-technique 9) can be conveying the meaning of expression 10) ability to improvise 11) understand the Na Pat song. Regarding to the synthesis of the body of knowledge and intuition of 5 Khon voiceover narrative masters, it is found that the 5 Khon voiceover narrative masters are full of improvisation, techniques and specializing in styles both familiarly and differently to compare with other Khon narrative masters. The cultural heritage of wisdom in Khon narration and dialogue is adherence to the musical practice which are 1) voices 2) motions 3) lyrics 4) rhythm control 5) inhalation management 6) To relate emotion in narration Khon voiceover narration as well as having an ability to transfer the body of knowledge to students who are the next generation to conserve this cultural heritage in Khon narration and dialogue To sum up, Khon narrators are seen as the crucial element of Khon performance. Namely,  Khon narrators have to present their own knowledge in music, linguistics, dance and having the process of knowledge transformation articulating with techniques and process of making better understanding to a person who feels in need to study the Khon narration both theory and practice. Furthermore, Khon narrators are qualified by the improvisation technique in Khon narration. Khon narrators, therefore, are the most important actors to every moment of Khon performance
คนพากย์โขน กับการแสดงโขน เป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทย ที่มีวิวัฒนาการควบคู่กัน มาโดยลำดับอย่างแยกกันไม่ได้ การแสดงโขน ถือเป็นการแสดงของศักดินา จุดกำเนิดของการแสดงโขนมาจากเรื่องราวของวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ เรื่องรามายณะของอินเดียที่ถือกำเนิดในแคว้นเตลิงค์ (กาลิงคราษฎร์) ฝั่งอินเดียตะวันออก เรื่องที่ใช้แสดงโขนมีเพียงเรื่องเดียวคือรามเกียรติ์ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงถึงเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ อีกเส้นทางหนึ่งเชื่อว่า มีที่มาจากอารยธรรมขอมโบราณซึ่งเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในอดีต แต่สูญหายไปกับการล่มสลายของอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่แล้วกลับมาอีกครั้งบนแผ่นดินเขมรในอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้ชื่อ ละครภาณี (Bhanni) หรือ ละครโขน ในปัจจุบัน การแพร่กระจายทางวัฒนธรรมการแสดงโขน เข้าสู่ประเทศไทย  นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และมีวิวัฒนาการตามยุคตามสมัยจนมาถึง ปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการวิจัยคือ เพื่อศึกษาความเป็นมาของการแสดงโขน การพากย์  – เจรจาโขน เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้และปรีชาญาณในการพากย์ – เจรจาโขนของครูพากย์โขนซึ่ง ผู้วิจัยมุ่งประเด็นที่จะวิเคราะห์องค์ความรู้และปรีชาญาณของครูพากย์ โขน 5 คน ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้เป็นผู้พากย์โขนพระราชทาน คือ ครูธีรภัทร์ ทองนิ่ม ครูสุธีร์ ชุ่มชื่น ครูเชาวนาท เพ็งสุข ครูดำรงศักดิ์ นาถประเสริฐ และครูสมพร เที่ยงแช่ม ที่ครูทั้ง 5 คนนี้เป็นครูพากย์–เจรจาโขน เป็นที่ยอมรับในวงการแสดงโขน ในยุคปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาถึงการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การพากย์ – เจรจาโขน โดยใช้วิธีการศึกษาจาก เอกสารทางวิชาการ  หนังสือวรรณคดี วรรณกรรม วารสาร งานวิจัย คำบอกเล่า สื่อนวัตกรรมทุกแขนง และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสำรวจ  สังเกต และสัมภาษณ์ผู้รู้จำนวน 6 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 15 คน จาก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ทั้งแบบมีโครงสร้าง  และไม่มีโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม โดยการใช้แนวคิดทางคีตศิลป์ และทฤษฎีการขับร้องซึ่งเป็นศาสตร์แขนงที่สัมพันธ์ กับการพากย์ – เจรจาโขนมาใช้ในการวิเคราะห์  นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าความเป็นมาของการแสดงโขนและการพากย์ – เจรจาโขน ทั้งการแสดงโขนทั่วไป และโขนพระราชทาน จากพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดการแสดงมาแล้ว จำนวน 7 ครั้ง ได้รับความนิยมจากผู้ชม ตั้งแต่การแสดงครั้งแรก จนมีเสียงเรียกร้องให้จัดการแสดงอีก พระองค์ท่านจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดการแสดงทุกปี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2550 มาจนถึงปัจจุบัน และมาจัดการแสดงโขนพระราชทานครั้งล่าสุด ขึ้นในพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกฏิ รัชกาลที่ 9 ส่วนการพากย์ – เจรจาโขน พบว่าการพากย์โขนแบ่งตามเนื้อหาที่แบ่งไว้แต่เดิมคือ พากย์เมือง พากย์รถ พากย์ชมดง พากย์โอ้ พากย์บรรยาย และพากย์เบ็ดเตล็ด  และการเจรจาแบ่งตามวิธีการ ออกเป็น 2 ประเภท คือเจรจาด้น และเจรจากระทู้   การวิเคราะห์องค์ความรู้และปรีชาญาณของครูพากย์ – เจรจาโขน พบว่าคุณสมบัติของคน พากย์โขนที่เรียกว่าปรีชาญาณนั้นประกอบด้วย 1) มีกระแสเสียงดี  2) ต้องเป็นผู้ชาย 3) มีใจรัก ตั้งใจจริง 4) มีสมาธิและปฏิภาณไหวพริบ 5) มีความรู้ทางภาษาศาสตร์ 6) แบ่งวรรคตอน แบ่งคำ 7) มี หลักการเอื้อนและการขโมยหายใจ 8) มีกลเม็ดเคล็ดลับ 9) สื่ออารมณ์ความรู้สึก 10) แต่งบทโขนและบอกบทโขนได้ 11) สามารถบอกเพลงหน้าพาทย์ได้ ในการสังเคราะห์องค์ความรู้และปรีชาญาณของครู พากย์ – เจรจาโขนพระราชทาน 5 คนนั้น พบว่า ครูทั้ง 5 ท่าน เป็นผู้ที่มีปฏิภาณ ไหวพริบ มีกลเม็ด  เคล็ดลับ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อีกทั้งมีลีลากับการใช้บทบาทในการพากย์เจรจาโขนตลอดจน  เทคนิคพิเศษในการพากย์ – เจรจาโขน ที่แตกต่างกันบ้าง และเหมือนกันบ้าง การสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านการพากย์ – เจรจาโขน ยึดหลักปฏิบัติทางคีต  ศิลป์ คือ 1) ด้านเสียง 2) ด้านคำร้อง 3) การเอื้อน 4) การควบคุมจังหวะ 5) การแบ่งช่วงหายใจ 6) การสื่ออารมณ์ในการพากย์–เจรจา และยังต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการถ่ายทอด ความรู้สู่ศิษยานุศิษย์ อันเป็นกำลังหลักในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมการพากย์ – เจรจาโขน เป็นประการสำคัญ โดยสรุป คนพากย์โขน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการแสดงโขน กล่าวคือ คนพากย์โขน จะต้อง แสดงภูมิรู้ทั้งด้าน คีตศิลป์ ภาษาศิลป์ สังคีตศิลป์ นาฏยศิลป์ และมีกระบวนการถ่ายทอดที่ผสมผสานเทคนิควิธีการสร้างความเข้าใจให้ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาการพากย์ – เจรจาโขน ได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง อีกทั้งเป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบ ในการพากย์ – เจรจาโขน ที่จะนำพาการแสดงโขน ให้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ คนพากย์โขน ยังเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อการแสดงโขนทุกช่วงเวลาในการแสดง ไม่ว่าจะเป็น ก่อนการแสดง ขณะแสดง และหลังการแสดง ทุกครั้งอีกด้วย 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/58
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012160001.pdf10.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.