Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/580
Title: Pong Lang : A Study of Classification of Melodies
โปงลาง : การจัดหมวดหมู่ทำนองลายพื้นบ้านอีสาน
Authors: Sarawut Choatchamrat
ศราวุธ   โชติจำรัส
Tanaporn Bhengsri
ธนภร เพ่งศรี
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: โปงลาง
การจัดหมวดหมู่
ทำนอง
ลาย
พื้นบ้าน
Pong Lang
classification
melody
Song
Folk Music
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to study background and development of Pong Lang in Isan culture.  The methodology includes reviewing of related research, surveying, observing, interviewing. Data are collected from 3 groups of 6 experts of Isan music, 6 of musicians, and 10 of the other. The analysis description is used for researching report.   The results are that in 1957-1980 (B.C. 2500-2523) at the beginning of Pong Lang history, Pong Lang is developed from 1) Kro, which Isan people called Krolo or Kholo. It is a tool that is hanging at the roof of the cottage for eviction the animals. 2) It is a tool for telling time at the temple that is called Pong. 3) It is also a tool for signaling of animals such as cow and buffalo of the merchant. And it is developing from Pong Lang that is hanged on the back of buffalo and cow. Then after, in 1987-1994 is a prosperous term of Pong Lang. Songs for playing with the other Isan musical instruments are created and also for other performances such as dancing and solo. In the adaptation era of Pong Lang 1995-2017, it has the change and creation by having melody of Pong Lang’s song to create new songs for dancing and listening. The songs are created by the Isan music experts. They use the melody of Khaen, Morlam melody, and the imagine of nature to create the Pong Lang as a musical instrument that includes 6-15 of logs. At the moment, Pong Lang is developed in the shape, sound, and techniques for playing as the band, solo, and also for contemporary music. The results were that classification of melody and element in the Pong Lang song was divided as 3 groups: 1) a basic level of song was a group of Lai Yai. It had a short melody such as Lai Pong Lang, Lai Toei, Lai Toei Khong, Lai Toei Phama, Lai Namtontaad, Lai Noksai Binkhamtung, Lai Lompadprow, Lai Lon Padpai and Lai mangphu Tomdok; 2) a middle level of song was songs for performance. This group had its identity melody in side of lifestyle, tradition and culture of each area, which included Lai Phutai (Phutai lenu, Phutai Klalasin, Phutai Sakol and Muay Boran), Lai tei (Tei Huanontan, Tei Keaw, Tei Dueanha), Lai Lam Plern (Mak Kapkeb Lamplern, Kalasin lanplern, Salakham Lamplern, Manorha Lennam and Sangsinchai) and Lai Zerng (Zerng bangfai, Zerng kapo, Zerng Yeakhai Moddang, Zerng Klongtum, Zerng Katipkhaw and Zerng Sahwing); and 3) a high level of song (solo) was a group of Lai Yai: Lai Sudsanan. It had a long and complicated melody also fast rhythmic pattern such as Lai Katenkon, Lai Laivoua Khunphu and Lai Sudsanan. Analysis result of the basic lick category reveled that an intermediate lick and an advanced lick are in the lick group called “Lai Yai”.“Lai Sudsanaen” has a short, compact and also a long and complex melody. The element of “Lai Pong Lang” consists of a slow, medium and fast tempo. There are 5 pitches in the lick that are Do, Re, Mi, Sol and La. “Look Tok” means down beat, and it has 2 pitches which are La and Me. The lick of Pong Lang has an identity pattern form. The art of playing Pong Lang is to divide hands, the left hand hits on an accompaniment, while the right hand hits on a melody then switch left and right hand. Basically, there are players. The first one plays the main melody and the other one plays accompaniment, controls rhythm, and tempo. Pong Lang is usually played with other instrument that are Pin, Kaen, Vote and percussion instrument of I-Sarn folk music.
การวิจัยเรื่องโปงลาง: การจัดหมวดหมู่ทำนองลายพื้นบ้าน ในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายของการวิจัยดังนี้ 1)เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของโปงลางในบริบทวัฒนธรรมอีสาน 2)การจัดหมวดหมู่ ทำนองและองค์ประกอบในลายของโปงลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ซึ่งข้อมูลภาคสนามได้จากการสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสังเกต จากกลุ่มผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 10 คน นำข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้าวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยข้อที่ 1 พบว่า ความเป็นมาและพัฒนาการของโปงลางในบริบทวัฒนธรรมอีสาน ยุคเริ่มต้น พ.ศ. 2500-2523 สันนิษฐานว่าโปงลางมีการพัฒนามาจาก 1) เกราะ ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า เกราะลอ ขอลอ เป็นเครื่องมือใช้เคาะไล่สัตว์ที่แขวนไว้กระท่อมปลายนา 2) เป็นเครื่องมือใช้ตีบอกสัญญาณในวัดเรียกว่า โปง 3) เป็นเครื่องให้สัญญาณที่ใช้แขวนคอสัตว์เลี้ยง วัว ควาย และ 4) หมากโปงลางโลหะที่ใช้เป็นเครื่องให้สัญญาณในขบวนค้าขายต่างถิ่น เช่น ค้าวัวต่าง และมีการพัฒนาจากโปงลางที่ใช้แขวนบนหลังวัวต่าง ต่อมา พ.ศ. 2530-2537 ในยุคที่โปงลางรุ่งเรือง ได้มีลายเพลงที่แต่งขึ้นมาประสมบรรเลงแบบรวมวงกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดอื่น ๆ  บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ และการบรรเลงเดี่ยว ต่อมา พ.ศ. 2538-2560 ในยุคปรับตัว มีการเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ โดยการนำทำนองลายโปงลางเข้ามาดัดแปลงทำเพลงและเต้นรำ ปราชญ์ดนตรีชาวบ้านที่ช่างสังเกตและมีปฏิภาณไหวพริบ ได้คิดประดิษฐ์และพัฒนาปรับปรุงรูปแบบโปงลางสำหรับลายเพลงที่ใช้บรรเลง โดยเลียนแบบมาจากทำนองของลายแคน ทำนองหมอลำ และลายเพลงที่จิตนาการจากภาพพจน์ธรรมชาติ จนกระทั่งมีรูปร่างท่อนไม้ร้อยต่อกันเป็นผืน จำนวนตั้งแต่ 6- 15 ลูก โปงลางได้มีการพัฒนาทั้งรูปร่าง เสียง ลักษณะกลวิธีในการบรรเลง ทั้งแบบบรรเลงรวมวง บรรเลงเดี่ยว และบรรเลงร่วมสมัย พร้อมทั้งมีเสียงดังกังวาน ไพเราะ อย่างที่ได้ฟังในปัจจุบัน ผลการวิจัยข้อที่ 2 พบว่า การจัดหมวดหมู่ ทำนอง และองค์ประกอบในลายโปงลาง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) หมวดหมู่ลายขั้นพื้นฐาน คือ กลุ่มเสียงลายใหญ่ มีทำนองที่สั้น กะทัดรัด เช่น ลายโปงลาง, ลายเต้ย, ลายเต้ยโขง, ลายเต้ยพม่า, ลายน้ำโตนตาด, ลายนกไซบินข้ามทุ่ง, ลายลมพัดพร้าว, ลายลมพัดไผ่, ลายแมงภู่ตอมดอก 2) หมวดหมู่ลายขั้นกลาง (ลายประกอบชุดการแสดง) คือ กลุ่มเสียงลายใหญ่ มีทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ ในด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ลายผู้ไท (ภูไทเรณู ภูไทกาฬสินธุ์ ภูไทสกล มวยโบราณ), ลายเต้ย (เต้ยหัวโนนตาล เต้ยเกี้ยว เต้ยเดือนห้า) ลายลำเพลิน (หมากกั้บแก๊บลำเพลิน กาฬสินธุ์ลำเพลิน สารคามลำเพลิน มโนราห์เล่นน้ำ สังข์ศิลป์ชัย) ลายเซิ้ง (เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งกะโป๋ เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เซิ้งกลองตุ้ม เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสะวิง) และ 3) หมวดหมู่ลายขั้นสูง (ลายเดี่ยวโปงลาง) คือ กลุ่มเสียงลายใหญ่ ลายสุดสะแนน มีทำนองที่ยาว สลับซับซ้อน และอัตราความเร็ว เช่น ลายกาเต้นก้อน ลายไล่วัวขึ้นภู และลายสุดสะแนน ผลการวิเคราะห์หมวดหมู่ลายขั้นพื้นฐาน หมวดหมู่ลายขั้นกลาง หมวดหมู่ลายขั้นสูง อยู่ในกลุ่มเสียงลายใหญ่ ลายสุดสะแนน มีทำนองสั้น กะทัดรัด ไปจนถึงทำนองที่ยาวและสลับซับซ้อน องค์ประกอบในลายของโปงลาง มีอัตราจังหวะช้า ปานกลาง เร็ว มีกลุ่มตัวโน้ต 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา มีลูกตก 2 ลูกตก คือ เสียง ลา และเสียง มี ลายของโปงลางมีรูปแบบกระสวนจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละลาย มีเทคนิคของการบรรเลงในการแบ่งมือในการตีโปงลางโดยใช้มือซ้ายเคาะเสพมือขวาตีดำเนินทำนอง และการตีสลับมือซ้ายมือขวา มีคนตีเสียงประสาน (คนเสพ) คอยควบคุมจังหวะให้ผู้บรรเลงดำเนินทำนองพร้อมทั้งบรรเลงรวมกับเครื่องดนตรีประเภทอื่นคือ พิณ แคน โหวด และเครื่องประกอบจังหวะของดนตรีพื้นบ้านอีสาน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/580
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012060003.pdf9.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.