Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/582
Title: Chainat : Photographical Model for Provincial History, Social and Culture Data Collection
ชัยนาท: รูปแบบการบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม  
Authors: Jiranan Ngernchang
จิรนันท์ เงินช้าง
Kosit  Phaengsoi
โฆษิต แพงสร้อย
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: รูปแบบการบันทึกภาพ
ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์
Photographical Model
History Photography
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: “One picture is more than thousand words” the Chinese sustainable truth proverb showed the important of photography and Chainat was empirically in short of creative and value added historical, social and cultural photography for the provincial development. So, the aims of this research were: to study and compare historical, social and cultural (HSC) photographs of Chainat in the past and in the present day and to study Chainat’s photographical model for provincial HSC data collection. The study developed in qualitative research in 6 Aumphure historical sites of Chainat. The informants were 15 key informants, 45 casual informants and 45 general informants. Data were collected by means of interview, observation, focus group discussion and work shop, analyzed by mean of  inductive analysis method, verified by triangulation and the research  results were disseminated in analytic descriptive style.   The research results showed that: historical, social and cultural photographs of Chainat in the past were the photographs of ancient community sites, historic sites and artifacts, activities, ritual and ancient community performances of 3 local photographs sources: government office, books and social media and private sources. The photographs implied that Chainat province area was the ancient community site in Tawarawadee period, a part of Kmer Kingdom in Lopburee Period, Chainat Town Southern Town of Dan in Sukothai Peroid, Prince City in Ayuthaya Period, Army Site City in Thonburee Period and and Chainat Province in Ratanakosin Period, in order. It is the overlap of civilization sources in many of historical periods for more than 1,000 years. People of Chainat’s believes and tradition slowly transferred from ghost and god believe to Hindu Brahmanism, Langkawong Buddhism, Tewaniyom  (god) Buddhism, and Tainwat (monkhood) Buddhism in the present day. Their way of lives were similar to those of the main city and continuously perform their ritual of ghost and god on their farming and living together with their Buddhist related tradition and their new identity tradition and their community lifestyles were as other watershed central Thailand ancient communities. Historical, social and cultural photographs of Chainat in the past and in the present day were similar in historical and cultural collected data but different in taking photograph technique, photographs’ value and quality, and the same weak point of unclear of objectives, undeveloped technique, low  photographs’ value and quality and lack of good caring and maintenance, good using and good management. They also lack of photograph center for provincial photography development and utility for province development. The important ways on historical, social and culture photography development was to develop in all photography processes: taking photograph technique, photograph caring, photograph using  and photograph good management that met the need of users and for special province development.          HSCM Model: Chainat’s photographical appropriate model for provincial HSC data collection is a semantic model, describing special systematic method of photography for provincial HSC data collection and being built form local photography indigenous knowledge and needs to be the appropriate and suitable model for provincial HSC data collection of Chainat and the provinces. The model composes  of 4 results: adequate HSC photograph, value added and quality HSC photograph, good caring and using and good management. 3 methods of HSC photography: Taking historical photograph based on historical data, value added and integrated technique; Taking social and cultural photograph based on social and cultural identity and creativity  and Good HSC photographs management usage. These methods will be success by mean the 4 HSC model conditions: stakeholders support and co-operation, photography knowledge management, modern and appropriate technique and tools and good management mechanism.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทในอดีต เปรียบเทียบภาพทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาท ในอดีตและปัจจุบันและศึกษารูปแบบการบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทที่เหมาะสมตามลำดับ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในชุมชนที่มีการบันทึกภาพร่องรอยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฎิบัติที่เป็นบันทึกและเก็บรักษาภาพ และกลุ่มเด็ก เยาวชนและผู้เกี่ยวข้องทั่วไป จำนวน 15 : 45 : 45 คน ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่มและการประชุมปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ ด้วยการจำแนกข้อมูล (Typological Analysis) การวิเคราะห์แบบอุปมัย (Analytic Induction) และการตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า (Triangulation) พร้อมกับนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาทในอดีต จำแนกภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์เป็น 5 กลุ่มตามสมัยทางประวัติศาสตร์ ภาพถ่ายทางสังคมและวัฒนธรรม 3 กลุ่ม ตามโครงสร้างทางวัฒนธรรม แหล่งที่มาของภาพ 3 แหล่งสำคัญคือ แหล่งเอกสาร หน่วยงานราชการและองค์กรชุมชน และบุคคลและชุมชน การบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์สะท้อนความเป็นมาของจังหวัดชัยนาทในแต่ละสมัยในอดีต ด้วยภาพแหล่งทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ บันทึกข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม ที่สะท้อนทั้งเหตุการณ์ กิจกรรมและขั้นตอนและพิธี ทั้งที่เป็นคติความเชื่อและพิธีกรรม ประเพณี และวิถีชีวิต สะท้อนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ว่าเมืองชัยนาท เมืองมโนรมย์และเมืองสรรค์เป็นเมืองที่มีความสำคัญในอดีต พัฒนาต่อเนื่องมาจากชุมชนเล็ก ๆ จนมีฐานะเป็นจังหวัด มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ชาวบ้านยังมีความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมแบบผสมผสานทั้งความเชื่อเรื่องผี ไสยศาสตร์ พุทธศาสนา มีการสืบสานและสร้างสรรค์ทางประเพณี วิถีชีวิตมาอย่างต่อเนื่อง 2. ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทในอดีตและปัจจุบัน ไม่มีความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของการบันทึกและขาดแหล่งภาพกลางในการสืบค้น สาระเนื้อหาหรือข้อมูลที่บันทึกมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวน สภาพ วิธีการบันทึกและความสามารถในการสะท้อนข้อมูลหรือการแปลความจากภาพ วิธีการบันทึกภาพรวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในการบันทึกแตกต่างกันตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีการถ่ายภาพ ภาพในอดีตนั้นหายาก มีจำนวนน้อยและต้องสะท้อนข้อมูลโดยใช้จินตนาการประกอบ ส่วนภาพถ่ายในปัจจุบันมีจำนวนมาก สวยงาม น่าสนใจและแปลความข้อมูลได้ง่าย ทั้งภาพถ่ายในอดีตและปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ไม่แตกต่างกัน การบันทึกภาพทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาท ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีข้อจำกัดทั้งเกี่ยวกับความรู้และเทคนิควิธีการในการบันทึก การดูและรักษา การใช้ประโยชน์และการจัดการ ขาดศูนย์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดเป็นการเฉพาะ  การพัฒนาการบันทึกภาพเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม จึงต้องพัฒนาทั้งวิธีการในการบันทึก การเก็บรักษา การใช้ประโยชน์ ควบคู่กับการจัดการที่ดีที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น 3. รูปแบบการบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทเป็นรูปแบบวิธีการ (Semantic Model) เป็นรูปแบบเฉพาะของจังหวัดชัยนาท พัฒนาจากแนวทางการพัฒนาการบันทึกภาพของจังหวัดชัยนาท รูปแบบประกอบด้วย เป้าหมาย แนวทาง และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีเป้าหมายที่จะให้การบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเฉพาะของจังหวัดชัยนาทมีการบันทึกภาพแบบพอเพียง  มีภาพถ่ายที่มีคุณภาพ มีการเก็บและรักษาอย่างดี และมีการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม  ดำเนินการใน 4 แนวทางคือ บันทึกตามสภาพและลักษณะข้อมูลแบบพอเพียง สร้างภาพถ่ายอย่างมีคุณภาพ  จัดระบบการจัดเก็บควบคู่กับระบบข้อมูล และจัดการภาพถ่ายอย่างเป็นระบบเป็นรูปธรรม โดยมีเงื่อนไขคือต้องจัดการการบันทึกภาพทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/582
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160001.pdf12.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.