Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/584
Title: Cultural Health care of Pulmonary Tuberculosis Buddhist Monk Patients in Kalasin Province
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคปอดในจังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Tanyaluck Phanprasart
ธัญญลักษณ์ พรรณประสาทน์
Sithisak Jupadang
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพพระสงฆ์
Cultural Health Care of Pulmonary
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study of cultural health care of pulmonary tuberculosis Buddhist monk patients in Kalasin Province was research and development utilizing qualitative research process. The purpose of the study was, 1) to study health carecultural and daily activities of Buddhist monks in Kalasin Province; 2) to studyproblems of health care ofBuddhist monks who were suffering from pulmonary tuberculosisin Kalasin Province; and 3) to develop health care models of Buddhist monks who were sufferingfrom pulmonary tuberculosisin Kalasin Province. The research was carried out in Kalasin Province. The 118 sample chosen by using purposive sampling method, were key, casual and general informants respectively. The research tools used were structured and unstructured interviews, observations (participant and non-participant), focus-group discussions, and workshops. The data were classified in to categories according to the study, and the analysis was done descriptively based on the research purpose. The results were as follows: Daily activities of Buddhist monks were similar according to the 10 tasks of the  Buddhist discipline. If may vary somewhat in the context of each temple. Regardless of whether or not they were ordained at any temple or monastery, the monks had the same activities from dawn to dusk. If a monk was ill, especially from a disease that could be transmitted to other monks, such as tuberculosis. The monk patients had to abstain from daily activities to cure their illness and control the disease from spreading to the monks and people within the temple.  Risk factors for catching tuberculosis were twofold. First, tuberculosisthe lack of disease concern and knowledge in the prevention of tuberculosis, such as not wearing a face mask to prevent the spread of airborne tuberculosis; eating together; car sharing; living in the same room; sharing facilities such as a handkerchief, a towel, a clothing; touching the disease from using the patient’s belongings. Second, the elderly and chronic conditions of patients, commonly known as HIV, diabetes, high blood pressure, chronic kidney disease and blood disease.  Aging and chronic disease could cause low immunity and people could easily be infected. The risk of tuberculosis transmission to others was a lack of knowledge and understanding of the important of the spread of the tuberculosis. Monks who had some form of pulmonary tuberculosis continued their routine activities, such as accepting an invitation to preach without wearing a face mask; a morning walk for alms; join the Ubosot(go to the chapel)or dining with other monks. People and monks who sat near them could be infected with the tuberculosis. Upon development models of health care for the Buddhist monkswho were suffering from pulmonary tuberculosis in Kalasin Province, the study found that there were 2 models. The first model emphasized health care based on the government health care services which were not available at temples at the time of the study. The system also lacked community participation. The second model emphasized health care for sick monks based on services provided by a group of Buddhist monks. At the time of the study, the health care services provided only for patients who had general health problems not infectious disease like  pulmonary tuberculosis. For pulmonary tuberculosis, there was no clearity as to how to go about treating the monk patients. The study suggested that the two models should be further developed so that the treatment could be suitable and more effective.  In conclusion, development models of health care for the monks who were suffering from the given disease in Kalasin Province were carried out by hospitals (general and community hospitals)act as a diagnostic unit, provided treatment and registered of the monks who had pulmonary tuberculosis. Community hospital enhanced health care. Each Tambon Unit visited monk patients and made sure that they continued their medication. Temple and monks acted as Buddhist organization and cooperated with health care authority to prevent the spread of the disease. Other local authorities also models for monks who were suffering from such illness in  Kalasin Province.
การศึกษาวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคปอดในจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นการวิจัยพัฒนา (Research and Development) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมีความมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อ1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและจริยวัตรพระสงฆ์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคปอดในจังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคปอดในจังหวัดกาฬสินธุ์พื้นที่ทำวิจัยคือจังหวัดกาฬสินธุ์  ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มทั่วไป รวมทั้งสิ้นจำนวน 118 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามประเด็นที่ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัยที่ตั้งไว้ โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและจริยวัตรของพระสงฆ์ในแต่ละวัน จะมีความเป็นแบบแผนตามเวลาที่คล้ายคลึงกัน ตามกิจวัตรสิบประการที่เป็นพระวินัยของสงฆ์ที่ควรปฏิบัติ  อาจคลาดเคลื่อนกันบ้างเล็กน้อยตามบริบทของวัด ไม่ว่าจะบวชที่วัดใด หรือนิกายใดก็ตาม ตั้งแต่ตื่นจากจำวัดในตอนเช้ามืดจนกระทั่งเข้าจำวัดในตอนค่ำ ซึ่งหากพระสงฆ์รูปใดอาพาธ โดยเฉพาะการอาพาธเป็นโรคที่สามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นได้เช่นวัณโรคนั้น กิจวัตรในแต่ละวันหรือ กิจวัตรเกือบทั้งหมดจะต้องละเว้นเนื่องจากต้องรักษาอาการอาพาธ  การเว้นจากกิจวัตรสามารถควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่พระสงฆ์ในวัดและประชาชนที่อยู่ใกล้ชิดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการอาพาธเป็นวัณโรคของพระสงฆ์นั้นเกิดได้ในสองลักษณะ คือ 1. การขาดความตระหนักหรือการไม่มีความรูในการป้องกันโรค เช่นการไม่สวมหน้ากากอนามัยป้องกันการเกิดโรคที่สามารถแพร่กระจายในอากาศ  การนั่งรับประทานอาหารร่วมกัน  การโดยสารรถยนต์ด้วยกัน การอาศัยอยู่ในห้องเดียวกัน  การใช้ของใช้ร่วมกันได้แก่ผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า การสัมผัสเชื้อโรคที่อยู่ตามข้าวของเครื่องใช้ของผู้ป่วยวัณโรค2.ความสูงอายุและภาวะที่มีโรคเรื้อรังของผู้ป่วยที่พบมากคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเบาหวาน  และความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเลือดเป็นต้น เนื่องจากความสูงอายุและความที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังจะทำให้ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำสามารถติดโรคได้ง่ายปัจจัยที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคไปสู่ผู้อื่น คือการขาดความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงอันตรายของการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคพระสงฆ์ที่อาพาธบางรูปยังคงดำเนินกิจวัตรตามปกติคือรับกิจนิมนต์ โดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ออกบิณฑบาต  ร่วมอุโบสถ และฉันอาหารร่วมกับพระสงฆ์รูปอื่น  ซึ่งทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้หรือพระสงฆ์รูปอื่นสามารถรับเชื้อวัณโรคได้ สภาพปัญหาการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการวิจัย พบว่าพระสงฆ์ทั่วไปในจังหวัดกาฬสินธุ์  ได้รับความรู้และคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแต่ไม่ละเอียดครบถ้วน จึงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคยังไม่ถูกต้อง  พระสงฆ์ขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากวัณโรค และเมื่ออาพาธเป็นวัณโรคแล้วก็ยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสูผู้อื่น  ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดอื่น คือการขาดการดูแลและขาดการสนับสนุน จากบุคคลรอบข้างในวัดและในชุมชน การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคปอดจังหวัดกาฬสินธุ์  ผลการวิจัยพบว่ามี 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคปอดตามระบบบริการสาธารณสุขของรัฐซึ่งการดำเนินงานยังเข้าไม่ถึงวัดขณะเดียวกันยังขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) รูปแบบการดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคตามระบบการดูแลของคณะสงฆ์ การดำเนินงานยังเน้นการดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคทั่วไป ไม่ใช่โรคติดต่อ ผลการวิจัยพบด้วยว่าคงต้องได้มีการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพพระสงทั้งสองรูป แบบเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคปอดในจังหวัดกาฬสินธุ์มีรูปแบบดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลัก คือโรงพยาบาล (ทั้งโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน)ซึ่งเป็นหน่วยวินิจฉัย เริ่มต้นรักษาและขึ้นทะเบียนการรักษาพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคในชุมชนมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยที่ต้องเยี่ยม ควบคุมดูแลการฉันยาให้มีความต่อเนื่องวัดและคณะสงฆ์ที่เป็นองค์กรหลักทางสงฆ์ที่ต้องร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในการดูแลป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคเนื่องจากเป็นสังกัดที่พระสงฆ์อยู่ซึ่งต้องอาศัยภาคีอื่นในชุมชนหรือองค์กรอื่นช่วยเหลือดูแลเช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชน และสำนักงานพระพุทธศาสนาร่วมดำเนินการพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธเป็นวัณโรคในจังหวัดกาฬสินธุ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/584
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160006.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.