Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/585
Title: The Integration of Seniors’ Wisdom into Local Leaders’ Roles for Thai-Lao, Phutai and Kalerng Ethnic Groups Living in the Northeastern Region of Thailand 
การบูรณาการการใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ผู้ไทย และกะเลิง สู่บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในภาคอีสาน
Authors: Boonchan Tipchai
บุญจันทร์ ทิพชัย
Boonsom   Yodmalee
บุญสม ยอดมาลี
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การบูรณาการ
เจ้าโคตร
ภูมิปัญญาเจ้าโคตร
ผู้นำชุมชน
Integration
Seniors’ wisdom
Social control
Community leaders
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The use of seniors’ wisdom between ethnic groups of Thai-Lao, Phu-tai and Kalerng has never been integrated by community leaders. The purposes of this research were 1) to study the history of local wisdom used among Thai-Lao Phu-tai and Kalerng’s senior family members. 2) To study current conditions and issues of the use of seniors’ wisdom of Thai-Lao Phu-tai and Kalerng ethnic groups. 3) To study the use of seniors’ wisdom integration of Thai-Lao Phu-tai and Kalerng ethnic groups into community leaders’ roles. The researcher purposively used 3 ethnic groups as the scope of the study as follows: 1) The ethnic group of Thai-Lao (Ban Chiang Mai, Chiang Mai, Pho Chai, Roi-Et). 2) The ethnic group of Phu-tai (Ban Koodwa, Kuchinarai, Kalasin). 3) The ethnic group of Kalerng (Ban Koodhaed, Koodbark, Sakon Nakorn). The duration of the study was from May 2016 to May 2017. This qualitative research was accomplished by using observation forms, interviews and group discussion as the research methods to archive data from intellectuals, practitioners and general informers. It comprised 90 people. The primary data was subsequently verified by data triangulation and descriptive Statistics techniques. It was found that the background of local seniors’ wisdom of Thai-Lao, Phu-tai and Kalerng ethnic groups is used in several aspects of life, namely earning for a living, herbal treatment, occupation, coexistence, art creativity, rituals led by senior leaders of the community. This also helps with peaceful settlement of disputes. Seniors are still found to play important roles in the community, coping  with difficult situations and bringing peace and harmony into families. Ceremonies such as weddings are led by seniors who give blessing and advice to new couples. Use of local wisdom is currently supported by government sectors so it can be passed on to others. Basketry makes a good example of this value.  However, ways of the wisdom use has been changed due to economic situations, cultural changes, unemployment, ignorance, poverty, divorcement, arguments, and drug addiction.  This also leads to being less respectful to seniors, and lack of knowledge about law makes the people deal with cases and end up with meeting in court. Integrating seniors’ wisdom into leadership is aimed at improving  the leaders’ interpersonal and communicative skills. This performance needs co-operation from members in the society. The study revealed that integration of seniors’ wisdom into leadership benefits the communities with peaceful settlement of disputes, justice, equality, local wisdom, and how to exchange one’s own wisdom with others’ before learning to integrate it into their work for the ultimate in prosperity of the society.
การใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว  ผู้ไทย  และกะเลิง  แต่ละกลุ่มไม่มีการบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม  อันเกิดจากบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน  แต่ละกลุ่ม   ชาติพันธุ์ในภาคอีสาน  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 3  ประการคือ  1.  เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตรของกลุ่มชาติพันธ์ไทยลาว  ผู้ไทย  และกะเลิง  2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว  ผู้ไทย  และกะเลิง  3.  เพื่อศึกษาการบูรณาการการใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว  ผู้ไทย  และกะเลิง  สู่บทบาท  หน้าที่ของผู้นำชุมชนในภาคอีสาน  ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่วิจัยแบบเจาะจง  3  กลุ่มชาติพันธุ์  คือ  1)  กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวบ้านเชียงใหม่  ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2)  กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยบ้านกุดหว้า  อำเภอกุฉินารายณ์  จังหวัดกาฬสินธุ์ 3)  กลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง บ้านกุดแฮด  ตำบลกุดบาก  อำเภอกุดบาก  จังหวัดสกลนคร  ระยะเวลาทำการวิจัย  เริ่มจากเดือนพฤษภาคม  2559  ถึงเดือนพฤษภาคม  2560 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์  และการสนทนากลุ่ม  ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้รู้  ผู้ปฏิบัติ  และ ผู้ให้ข้อมูลทั่วไป รวมทั้งสิ้น  90  รูป/คน  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า  และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย  พบว่า  ความเป็นมาของการใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ผู้ไทย  และกะเลิง  ได้แก่  การทำมาหากิน  การรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพร การประกอบอาชีพ  การอยู่ร่วมกันในสังคม  การสร้างสรรค์ศิลปะ  การประกอบประเพณีพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมความเชื่อ  โดยมีผู้อาวุโสในชุมชน หรือผู้ใหญ่ในตระกูลหรือเจ้าโคตรเป็นต้นแบบ เป็นเจ้าพิธีในงาน เป็นปราชญ์ให้ความรู้อบรมหล่อหลอมบุตรหลาน  และยังช่วยระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในสังคมหรือ  ช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ปัจจุบัน พบว่า เจ้าโคตรยังมีบทบาทในสังคมของชาวอีสาน ได้แก่  การระงับข้อพิพาท  เช่น  สามี-ภรรยาทะเลาะกันรุนแรงถึงขั้นหย่าร้างกัน  คู่กรณีจะให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาคุยกันหาสาเหตุไกล่เกลี่ยตกลงกัน  การเป็นเจ้าพิธีในงานแต่งงาน  เจ้าโคตรหรือผู้ใหญ่ฝ่ายผู้ชายจะทำพิธีสู่ขอก่อนแต่งงาน  ในวันแต่งงานเจ้าโคตรทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะอยู่ร่วมพิธีให้การอบรมสั่งสอนคู่บ่าวสาวเกี่ยวกับการครองเรือน  และด้านปราชญ์ชาวบ้าน ปัจจุบันภาครัฐมีการสนับสนุนให้ปราชญ์ชาวบ้าน   มีบทบาทในการเผยแพร่ภูมิปัญญา  เช่น  การจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือนจากไม้ไผ่  โดยมีผู้นำชุมชน  เป็นผู้ให้ความรู้เพื่อให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมกับภาครัฐ  และยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านเชิญ ผู้อาวุโสซึ่งเป็นผู้มีภูมิปัญญาพื้นบ้านเข้าร่วม  เพื่อจะได้ถ่ายทอดความรู้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป ปัญหา พบว่า การใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว  ผู้ไทย  และกะเลิง  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม  เช่น  ชาวบ้านขาดที่ทำกิน  รายได้น้อย  อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้  ยากจน  ครอบครัวหย่าร้าง  ทะเลาะวิวาท  คนในชุมชนมัวสุมยาเสพติดมากขึ้น  การเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ลดน้อยลง  ความขัดแย้งในสังคมเพิ่มมากขึ้น  ไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ ขาดความรู้ด้านกฎหมายเข้าไม่ถึงความยุติธรรมเป็นสาเหตุที่ทำให้คดีความขึ้นไปอัดแน่นในศาลทุกแห่งทั่วประเทศ การบูรณาการการใช้ภูมิปัญญาเจ้าโคตร  โดยนำภูมิปัญญาการระงับข้อพิพาทการเป็นเจ้าพิธี ในงาน และการเป็นปราชญ์ชาวบ้านมาบูรณาการกับบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนด้านการพูด การเขียน และการนันทนาการ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สรุป  การศึกษาครั้งนี้ชุมชนจะได้รับประโยชน์ด้านการระงับข้อพิพาท สามารถเข้าถึง ความยุติธรรมได้รวดเร็ว  ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในชุมชน  ด้านการเป็นเจ้าพิธีในงาน  เข้าใจขั้นตอนการจัดพิธีในงานต่างๆ ได้ดีขึ้น  และการเป็นปราชญ์ชาวบ้าน  ผู้นำชุมชนสามารถนำภูมิปัญญา เจ้าโคตรของกลุ่มตนมาถ่ายทอดโดยนำมาบูรณาการกับบทบาทหน้าที่ของตนตามโอกาสเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนและสังคมชาวอีสานตลอดไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/585
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160008.pdf5.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.