Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/587
Title: Cultural Tourism Management Model of Thai Ethnic Communities, Thai-Kui, Thai-Khmer and Thai-Lao in Thung Kula Ronghai Area
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูยไทยเขมร และไทยลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
Authors: Bhadthara Intharagumhaeng
ภัทระ อินทรกำแหง
Sithisak Jupadang
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: จัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
Cultural tourism management
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to; 1) study the history of cultural tourist attractions, 2) investigate the current conditions and difficulties in cultural tourism management, 3) examine the cultural tourism management model of Thai ethnic communities in Kui, Khmer and Lao in Thung Kula Ronghai area. The study was conducted by the qualitative method of inquiry. The population in the study were 136 people selected by purposive sampling method; divided into three groups with the regard of knowledgeable persons, operators, and general information providers. The data collection were done by using the following instruments; survey form, participative observation form, non-participative observation form, structured interview, non-structured interview, and group conversation record. The data was analyzed and presented by using descriptive analysis method.  The findings showed that; the communities in Thung Kula Ronghai area had long history prior to the prehistory era which is approximately 3000 years ago. Then 2,500 years later, there was habitation and livelihood because of the evidence shown in the place where was suitable for both domestic and inter-state trading. Also there were plentiful of commercial resources such as salt and metal which needed by the ancient kingdoms such as Dvaravati, Khmer, and Lanchang. Therefore, there were cultural influences from those state and the cultural diversities such as Kui, Khmer and Lao. There were a number of cultural-based tourism attractions such as food, attire, Naka-ordained ceremony of Kui, Sandonta tradition of Khmer, and Rice soul celebration of Lao. Local wiscom tourism were Elephant raising of Kui, Salt boiling of Khmer, and Clay pottery crafting of Lao. Eco-cultural tourism were the Moon river cruising, elephant riding, trekking to 300-year rubber tree and planting the rubber sampling. Most of the community members believed in Buddhism and the spirit of their ancestors or the land. Speaking of the current conditions and problems of tourism management in this area, even though there were diversity of attractions, it was not recognized from the majority of people. There were only those who were interested visited. The local business and administrative sectors did not well support the tourism; lacks of support from the all stake holders in the community regarding the information sources, personnel and services.  Cultural tourism management model of Thai ethnic communities, Kui, Khmer and Lao in Thung Kula Ronghai area showed that it started from the public to continuous tourism development; 1) the community studied and reviewed the cultural tourism management model  to prevent, solve the problem, and promote the environment, local wisdom, and cultural  conservation of each cultural background for the sustainable community development 2) conduct the tourism activities as planned and also promote the annual fair to the public via online platform 3) the tourism should be managed holistically; specific group of people should be assigned for responsibility such as environmental conservation, tourism promotion with the committee to plan, proceed, and evaluate. Local administrative authorities should be the leader together with the participation of local people, basic and higher education institutions under the governance of sufficiency economy of the late King’s philosophy. In conclusion, the success of cultural tourism management in Thung Kula Ronghai area depended on the cooperation of all involves parties aiming for benefits; creating employment and generating more income. The local authorities should budget financial support. The educational institutions are encouraged to educate people about the projects and tourism-promoted activities to develop the quality of life for community members in the long run.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 136 รูป/คน ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมายาวนานเริ่มตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 3,000 ปีที่มีร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีมนุษย์ได้อาศัยอยู่มาก่อนและเมื่อ 2,500 ปีต่อมาเริ่มมีมนุษย์มาตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนที่มีจำนวนมากขึ้นเนื่องจากอยู่ในเขตเส้นทางการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าภายในภูมิภาคและทางไกล มีทรัพยากรที่สำคัญในการค้าคือเกลือ และโลหะ ซึ่งเป็นที่ต้องการของรัฐโบราณในอดีต จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมทวารวดี ขอมและล้านช้าง ชุมชนจึงมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาวที่ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่ การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี การท่องเที่ยวศึกษาประเพณี วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น อาหาร การแต่งกาย ประเพณีบวชนาคช้างของขาวกูย ประเพณีแซนโฎนตาของชาวเขมร ประเพณีสู่ขวัญข้าวของชาวลาว การท่องเที่ยวศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การเลี้ยงช้างของชาวกูย การต้มเกลือของชาวเขมร และการปั้นหม้อดินของชาวลาว การท่องเที่ยวนิเวศวัฒนธรรม ได้แก่ การชมล่องเรือชมธรรมชาติแม่น้ำมูล การนั่งช้างชมภูมิทัศน์ป่าชุมชน การเดินป่าชมต้นยางใหญ่ 300 ปีและปลูกกล้ายาง คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและผสมผสานการการนับถือผีปู่ตา ผีเจ้าที่และผีบรรพบุรุษ สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ พบว่า ชุมชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มีนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่สนใจมาศึกษาท่องเทียวเรียนรู้วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชน แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ยังไม่เห็นความสำคัญของการนำทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชน ขาดการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านแหล่งข้อมูลความรู้ บุคลากรและด้านการบริการ รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาว ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ พบว่า การท่องเที่ยวของชุมชนมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นการท่องเที่ยวแบบมหาชนทั่วไป สู่การดำเนินการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) ชุมชนมีการศึกษาและทบทวนการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา ฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 2) ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนตามขั้นตอนที่กำหนด เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวงานประจำปีภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงกับชุมชนได้รับรู้ สัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาว 3) การบริหารจัดการแบบองค์รวมคือ มีการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยกำหนดบทบาทหน้าที่คณะกรรมการ การวางแผนติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และดำเนินการจัดกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้นำในการดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบัน การศึกษา เป็นฝ่ายสนับสนุนด้านวิชาการ มีหลักการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและตามแนวทางของศาสตร์พระราชา โดยสรุป การจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมรและลาวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของทุกภาคที่เกี่ยวข้องและจะเกิดประโยชน์ในด้านการสร้างงาน สร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน สมควรที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวจะให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และสถาบันการศึกษาให้ความรู้ด้านการอบรมวิชาการต่อโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมสืบไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/587
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160020.pdf12.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.