Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/588
Title: Esaew  :  Creating a standard of folk art. Suphanburi Province
อีแซว : การสร้างมาตรฐานศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพลงอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี
Authors: Wanyarut Thouhirun
วัลยรุจ เถาว์หิรัญ
Montri Srirajlao
มนตรี ศรีราชเลา
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: อีแซว
ศิลปะการแสดง
เพลงพื้นบ้าน
Esaew
Performing arts
Folk music
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study of music : The creation of the standard of folk art. Suphanburi Province This is intended to 1. To study the history of folk art performances. 2. To study the current state of art and folk music. 3. To create a standard of folk music. Suphanburi Province The results showed that the music of the artist's local wisdom. Suphanburi Province The exchange of knowledge between artists, local folk music of Suphanburi and teachers of Suphanburi Dramatic Arts College with knowledge of the ability to play the song. Can bring individual knowledge. The systematic knowledge management process. Find out whether the artist or performer Ee Sae will be successful in performing or playing the song of Suphanburi. There must be a way to practice the technique we call it. The knowledge is as follows. 1. The artist or actor. 2. The popular side and good practice. The three elements of the performance of the three. As well as how to develop the play, the song teaser. To be standard and able to stay stable. Follow the example of the teacher. The Beginner's Learning This is very important. For individuals to learn and practice the song. The beginning of an artist in the apprenticeship comes from attentive attention and likes to learn. Apprentice With commitment. Be diligent in paying attention to the talent that exists in the person. People with sound talent It is a good foundation to sing more than a vocalist. But talent is just the beginning of the artist to carry it. Learning e-music should come from voluntary willingness without obligation. This is the beginning of an internship that will result in the first step of the show. Another important aspect is the lack of attention. Do not develop yourself for better skills. Inevitably leads to the failure of a professional mother or father song, good music in the future. The inheritance of quality prototypes. In this place, the teacher who broadcasts the song will have to have a good background in performing the song. Has long experience in acting. And can be conveyed to the disciple in full. Elements of the show Can be told to do the dance. Know the verses well. When the teacher saw the master from the teacher. The learning and practice of the prototype. As well as the inheritance of the show, the song has a long history as well. Thai language proficiency One of the most important is Thai language skills. In terms of speaking, listening, reading, writing, they are all interconnected. By the standards of music in Thailand Suphanburi. Researchers have established criteria for finding relationships by design. And set the standard in 6 aspects: 1. Personnel, actors 2. The verse and the language used in the show 3. The dance 4. The costumes 5. The stage and 6. The duration of the show. Based on the baseline, standard criteria were applied to the experts. And folk songwriter Ela. The criteria must be 75 percent to reach the benchmark. The results of the research show that the folk music performance of Eskimo is at 75 percent of the threshold. Who will perform folk songs? Suphan Buri Province. The standard is based on the standards established by the artist, national artist, local folk song, Eve, Suphanburi. By the resolution of the Association of folk music performances. Suphanburi Province.
การศึกษาวิจัยเรื่องเพลงอีแซว  :  การสร้างมาตรฐานศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพลงอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อสร้างมาตรฐานศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการวิจับพบว่าการละเล่นเพลงอีแซวของศิลปินภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี จากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างศิลปินภูมิปัญญาด้านเพลงพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี และครู อาจารย์ ของวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ที่มีความรู้ ความสามารถในการละเล่นเพลงอีแซว สามารถนำความรู้ของแต่ละบุคคล สู่กระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ  พบว่าการที่ศิลปินหรือผู้แสดงเพลงอีแซวจะประสบผลสำเร็จในการแสดงหรือสามารถเล่นเพลงอีแซวของสุพรรณบุรีได้นั้ จักต้องมีวิธีในการปฏิบัติเฉพาะทางที่เราเรียกว่าเทคนิค โดยประมวลองค์ความรู้ได้ ดังนี้ คือ 1. ด้านตัวศิลปินหรือผู้แสดง 2.ด้านขนบนิยมและแนวปฏิบัติที่ดี 3.ด้านองค์ประกอบการแสดง โดยทั้ง 3 ด้าน มีแนวทางการปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการที่จะพัฒนาการละเล่นการแสดงเพลงอีแซว ให้มีมาตรฐานและสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคง ตามแบบอย่างของครูผู้ถ่ายทอด การเรียนรู้เริ่มต้นของศิลปิน  นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับบุคคลที่จะเรียนรู้และฝึกเพลงอีแซว การเริ่มต้นของศิลปินในการฝึกหัดต้องมาจาก ความสนใจ ใส่ใจ และชอบที่จะเรียนรู้ ฝึกหัดเพลงอีแซว ด้วยความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่ ควบคู่กับพรสวรรค์ที่มีอยู่ในตัวตน คนที่มีพรสวรรค์ด้านเสียง ถือเป็นพื้นฐานที่ดีในการร้องเพลงอีแซวมากกว่าคนที่ไม่มีพรสวรรค์ด้านเสียง หากแต่พรสวรรค์เป็นเพียงทุนเริ่มต้นของศิลปินที่ติดตัวมา การเรียนรู้เพลงอีแซวควรมาจากความเต็มใจ ความสมัครใจ โดยไม่มีการบังคับ สิ่งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกหัดที่จะส่งผลให้พบกับความสำเร็จก้าวแรกของการแสดงเพลงอีแซว  สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งถ้าผู้เรียนขาดการเอาใจใส่ ไม่พัฒนาตัวเองให้เกิดทักษะที่ดีขึ้น ย่อมนำไปสู่ความล้มเหลวของการเป็นมืออาชีพ หรือแม่เพลง พ่อเพลงที่ดีในอนาคต การได้รับการถ่ายทอดจากต้นแบบที่มีคุณภาพ  ในที่นี้หมายถึงครูผู้ถ่ายทอดเพลงอีแซวจะต้องเป็นผู้ที่มีภูมิรู้ภูมิหลังเกี่ยวกับการแสดงเพลงอีแซวอย่างดียิ่ง มีประสบการณ์ในการแสดงที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน และสามารถถ่ายทอดให้แก่ศิษย์อย่างครบถ้วน องค์ประกอบของการแสดง สามารถบอกให้ทำรำให้ดู รอบรู้ในบทกลอนอย่างชำนาญ เมื่อศิษย์ได้เห็นต้นแบบจากครู จึงเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติตามต้นแบบที่ได้รับการถ่ายทอด รวมทั้งเป็นการสืบทอดแนวทางการแสดงเพลงอีแซวที่มีมาแต่โบราณได้เป็นอย่างดี เป็นผู้มีทักษะด้านภาษาไทย  การแสดงเพลงอีแซวหรือเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป ความสำคัญประการหนึ่ง คือ ทักษะด้านภาษาไทย ทั้งในด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนล้วนแล้วมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกันทั้งสิ้น จากการสร้างมาตรฐานเพลงอีแซวจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์การหาผลสัมพันธ์โดยออกแบบ และกำหนดมาตรฐานเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านบุคลากรผู้แสดง 2. ด้านกลอนเพลงและภาษาที่ใช้ในการแสดง 3. ด้านท่ารำ 4. ด้านเครื่องแต่งกาย 5. ด้านเวที และ 6. ด้านระยะเวลาที่ใช้แสดง จากการสร้างมาตฐานแล้วได้นำเกณฑ์มาตรฐานไปใช้กับผู้เชี่ยวชาญ และนักแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซว พบว่าเกณฑ์การวัดจะต้องอยู่ในระดับ 75 เปอร์เซ็นต์ถึงจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ว่ามาตารฐานการแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซวจะอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์ของเกณฑ์ที่สร้างขึ้น ผู้ที่จะแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรีที่จะมีคุณภาพ และอยู่ในมาตรฐานได้ต้องผ่านเกณฑ์ทั้ง 6 ด้านนี้ เพราเป็นการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานที่สร้างขึ้นจากศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญ ศิลปินแห่งชาติเพลงพื้นบ้านอีแซวจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมติของสมาคมการแสดงเพลงพื้นบ้านอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/588
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160024.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.