Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/589
Title: Utilization of property within temples To strengthen the Isan community
การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัด เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภาคอีสาน
Authors: Wichai Vetchayan (Kanlayano)
วิชัย เวชยันต์ (กลฺยาโณ)
Kosit  Phaengsoi
โฆษิต แพงสร้อย
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: ทรัพย์สินภายในวัด
การใช้ประโยชน์
ความเข้มแข็งของชุมชน
Property within the temple
Utilization
Strength of the community
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Research Utilization of property within temples To strengthen the Isan community using quality research methodology. It aims to: 1) study the history of the property within the Isan temple; 2) study the problems of using the property in the Isan temple; and 3) study the use of the property within the temple. To strengthen the Isan community.Research instruments include observation, interview, and group discussion.From the group of 52 people, 18 people / person and 18 people, 52 people / person.Research starts from September 2016 to September 2017.In the area of ​​3 provinces as WatBueng (Royal Monastery), Wat Sakae (Royal Monastery) and WatPhra Rat. NakhonRatchasimaWatIsan (Royal Monastery), WatPhraPhutthabatKhao Malang And Baan Jot Temple Buriram province WatBurapha Ram (Royal Monastery), SalaWat (Temple of the Emerald Buddha) and WatKhokKratSurin Province. The information obtained was verified by means of triangular data. And present the findings. By way of analytical descriptive. The research found that. The history of the property within the nine Northeast temple found that the property is. Monuments of the Northeast Temple under Section 40 of the Sangha Act, 1962, as amended by the Sangha Act (No. 2) BE 2535The property of the temple is the property of any temple. Because the temple is a legal entity. The temple must fall under the provisions of the Civil and Commercial Code and other laws. Property belonging to the religion is called. Monument of monastery Both are movable. And real estate They are divided into two categories: 1) the central property consists of the property of the religion, not one of the monasteries, and 2) the monastic property of the temple is the property of one temple. The problem of using the property in the temple in the northeast of the 9 measurements found that: 1) planning system is lack of planning. Clear and significant lack of involvement in planning with partner networks, communities and the public sector. On matters of care, borrowing, maintenance, worship, sourcing, donation and activities. 2) The structure of the work found that the measurements were unstructured, systematic, and clear with the community and government agencies. 3) The order found that some work may be delayed due to the work of the priest. Go through many steps according to the ecclesiastical hierarchy.4)Coordinationfound lack of good coordination with government agencies that directly supervised and responsible; and 5) Control and follow up found that the utilization of assets in the Isan measure was borrowing, collecting Maintenance, worship, sourcing, donation and activities Lack of follow-up and long-term follow-up.    Guidelines for the utilization of property within a temple. To strengthen the 9 northeastern communities, 1) planning should be systematically planned. And have a clear responsibility with the community and government agencies involved in lending issues. Collection, maintenance, worship, sourcing and donation. And activities2) structuring work Should have a clear management structure. Responsible by the ability and work integrated with the community. 3) Order should be good order should be assigned to the 4 right: the right person, the right place, time and time.4) Coordination should be coordinated with the community and the public sector, with a friendly and continuous presence. Assign the duty to the clergyman with rhetorical coordination and 5) Control and follow up. It should keep track of the progress of each phase continuously with the community and government agencies. To make the operation more effective. In summary, the utilization of property within a temple To strengthen the Isan community. It is the implementation of all five aspects of management: planning, structuring, working, directing, coordinating, controlling, and monitoring.The temple is home to schools, schools and communities. As a partner, the network develops integrated measurement integration. This resulted in the utilization of the property within the temple. Effective And strengthen the community of the northeast.
การวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัด เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภาคอีสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของทรัพย์สินภายในวัดภาคอีสาน 2)  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัดภาคอีสาน และ  3)  เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัดเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภาคอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ  แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม  การวิจัยครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม โดยกำหนดพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจำนวน 88 รูป / คน จากกลุ่มผู้รู้   52 รูป/คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ  18  รูป/คน  และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 18 คน  ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยแบบการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของทรัพย์สินภายในวัดภาคอีสาน ทั้ง 9  แห่งพบว่าทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติของวัดภาคอีสานตามมาตรา40แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2535 ศาสนสมบัติของวัด คือ  ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง เพราะเนื่องจากวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล  วัดจึงต้องตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นๆทรัพย์สินที่เป็นของพระศาสนาเรียกว่า ศาสนสมบัติของวัด  ทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์  ซึ่งแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ 1)  ศาสนสมบัติกลาง  ได้แก่  ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง  และ 2)  ศาสนสมบัติของวัด  คือ  ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งสภาพปัญหาการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัดภาคอีสาน พบว่า  1)  การวางแผนขาดการวางแผนที่เป็นระบบ ชัดเจนและที่สำคัญขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผนกับภาคีเครือข่ายชุมชนและภาครัฐ ในประเด็นการดูแล  การยืม  เก็บค่าบำรุงรักษา  การบูชา  การจัดหา  การรับบริจาคและการจัดกิจกรรม2)  การจัดโครงสร้างการทำงานพบว่า วัดต่างๆ ยังไม่มีโครงสร้างการทำงานที่เป็นระบบและชัดเจนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ 3)  การสั่งการพบว่า  การทำงานบางอย่างอาจจะล่าช้าเนื่องจากการทำงานของพระสงฆ์ต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่างตามระดับการปกครองคณะสงฆ์4)  การประสานงานพบว่า  ขาดการประสานงานที่ดีและต่อเนื่องกับหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลและรับผิดชอบโดยตรงและ 5) การควบคุมและติดตามผลพบว่า การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัดภาคอีสาน ได้แก่ การยืม การเก็บค่าบำรุงรักษา การบูชา การจัดหา  การรับบริจาค  และการจัดกิจกรรมขาดการติดตามผลระยะยาวและต่อเนื่อง แนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัด เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  ภาคอีสาน พบว่า  1)  การวางแผน  ควรมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ และมีผู้รับผิดชอบชัดเจนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในประเด็นการให้ยืม การเก็บค่าบำรุงรักษา  การบูชา  การจัดหา และการรับบริจาค และการจัดกิจกรรม 2)  การจัดโครงสร้างการทำงาน  ควรมีโครงสร้างบริหารงานอย่างชัดเจน  มีผู้รับผิดชอบตามความสามารถและทำงานแบบบูรณาการร่วมกับชุมชน  3)  การสั่งการ  ควรสั่งการที่ดีควรมอบหมายงานให้  4  ถูก  ได้แก่  ถูกบุคคล  ถูกสถานที่  ถูกเวลา และถูกกาลเทศะ4) การประสานงานพบว่า  ควรประสานงานกับชุมชนและภาครัฐด้วยความเป็นมิตรและต่อเนื่อง มอบหมายหน้าที่แก่พระสงฆ์ที่มีวาทศิลป์ในการประสานงาน และ  5) การควบคุมและติดตามผล ควรติดตามผลการดำเนินงานทุกระยะอย่างต่อเนื่องร่วมกันกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพต่อไป โดยสรุป  การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัด เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภาคอีสาน  เป็นการปฏิบัติตามการบริหารจัดการ ทั้ง  5  ด้าน  ได้แก่  การวางแผน  การจัดโครงสร้างการทำงาน  การสั่งการ  การประสานงาน  การควบคุมและติดตามผล  เป็นตัวขับเคลื่อน โดยต้องอาศัย วัด  บ้าน  โรงเรียน ร่วมกันคิด  ร่วมกันทำ  ร่วมกันตัดสินใจเป็นภาคีเครือข่ายพัฒนาวัดแบบบูรณาการร่วมกัน ส่งผลให้การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินภายในวัด มีประสิทธิภาพและสร้างเข้มแข็งของชุมชนภาคอีสานต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/589
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160025.pdf8.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.