Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/590
Title: Guidelines for  Thai Cultural Learning Activity of The Rajabhat Universities in Bangkok for ASEAN Community
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยในยุคอาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: Somkamol Kanchanapiboon
สมกมล กาญจนพิบูลย์
Somkhit  Suk-erb
สมคิด สุขเอิบ
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: วัฒนธรรมไทย
Thai Cultural
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research are threefold: 1) to study the history of cultural learning activities from Rajabhat Universities in Bangkok. 2) to study current conditions and problems of Thai cultural learning activities toward ASEAN 3) to develop cultural learning activity model toward ASEAN for Rajabhat Universities in Educational Service Area in Bangkok. Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Dhonburi Rajabhat University, Suan Sunandha Rajabhat University, Chandrakasem Rajabhat University and Phranakhon Rajabhat University participated in this study. This study was conducted by qualitative research, documentary study, field study, interview, observation, focus group discussion, and workshop. The finding of the study found that 1) Rajabhat University was originated from teacher training schools and became the teacher college. ‘Rajabhat Institute’ in 1995. In 2004, King Rama IX named and ‘Rajabhat University’ and they became legal entity. 2) In current conditions and problems in Thai cultural learning activities toward ASEAN from Rajabhat Universities in Bangkok, the results of the study found that language and culture was taught in General Education subject while the other subjects less focused on teaching them. Students did some activities on festival days and other days which related to cultures and traditions, therefor they could learn through their exploration and learning in real experience, and finally the information was collected. Furthermore, lacking of the cooperation from other organizations, time and subject were not link to the project may cause the problems for the students to participate in these activities. 3) The three main learning activities for Thai culture toward ASEAN were curriculum, arts and culture, and field trip activities. The success factor is the process of Thai cultural learning activities toward ASEAN and the indicators of success
การศึกษา เรื่อง “แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยในยุคอาเซียน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร” มีความมุ่งหมายดังนี้  1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของหน่วยงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสู่อาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานครโดยกำหนดพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  research) วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary study) และการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field study) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ผลการศึกษาพบว่า 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏจัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และได้รับการ ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู ต่อมาในปีพุทธศักราช 2538 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏ จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาบันราชภัฏเปลี่ยนแปลงสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ ซึ่งได้ยกฐานะวิทยาลัยครูเป็นสถาบันราชภัฏอย่างเป็นทางการ สถาบันราชภัฏจึงเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 เพื่อปฏิบัติภารกิจสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 2) ทางด้านสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยในยุคอาเซียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า วิชาที่ให้นักศึกษาได้เรียนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ในหลักสูตรจะพบอยู่ในรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรม ในสาขาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมจะมีการจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและอาเซียนน้อย ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นจะให้นักศึกษาได้ไปศึกษาเรียนรู้ผ่านการสำรวจและเรียนรู้ในพื้นที่จริงในโครงการต่างๆ และนำข้อมูลเก็บรวบรวบไว้ รวมถึงการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกมีการให้ความร่วมมือยังไม่ดีมากนัก โครงการไม่เชื่อมโยงกับรายวิชาทั้งเรื่องของเวลาและไม่ตรงกับสาขาที่เรียนทำให้นักศึกษาที่ต้องการเข้าร่วมไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ 3) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียนมีสาระสำคัญ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียน 3 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านทัศนศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียน และตัวชี้วัดความสำเร็จ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/590
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160033.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.