Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/591
Title: Field Trip Arts and Cultural Resources Management Model for Secondary  Schools in Central Area of Northeastern Thailand 
รูปแบบการจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคอีสานตอนกลาง
Authors: Suttirak Prajonglul
สุทธิรักษ์ ประจงกูล
Sithisak Jupadang
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การจัดการแหล่งศิลปวัฒนธรรม
ทัศนศึกษา
Cultural Resources Management
Field Trip
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of the study were, 1) to study the historical background of cultural field trip resources in the Central area of Northeastern Thailand; 2) to study current circumstances and problems of the cultural field trip resources for secondary schools in the Central area of Northeastern Thailand, and 3) to develop management models of cultural field trip resources for secondary schools in the Central area of Northeastern Thailand. The research sample were selected purposively. They included 21 key informants, 25 casual informants, and 78 general informants. The research tools used were participant observation, a basic survey, interviews, and focus – group discussions. Data for this qualitative research were collected from documentary studies and fieldwork. Data were checked for accountability and analyzed in accordance with the research purposes.  The results were presented descriptively as follows.  1. Upon the historical background of the cultural field trip resources in the Central area of Northeastern Thailand, only 3 sites were chosen: 1) Mueang Fa Dad Song Yang and Phra That Yaku. The site is located in Kalasin Province. It used to be a town. Now only bricks, earthen mounds; and double - town moats were left there. Important ancient remnants were Phra That Yaku and Bisema or dummies. They were built or made during Dvaravati period. The area was later renovated. The archaeological objects left indicated ancient settlement and civilization of different periods; 2) Ku Santarat is located in Maha Sarakham Province. It was a Khmer ruins, known as Arokaya Sala or a hospital. Ku Santarat was made of laterite stone. People in the area hold a ceremony, known as Song Ku, or water giving at Ku Santarat in April each year; and  3) Bo Pan Khan is located i n Roi Et Province. People who lived there believed that the water kept in the pond (Bo) was sacred because the water seeped out naturally and continually. People could draw a thousand bowls of water from Bo Pan Khan without exhausting it. That was why the pond was and still is given the name of Bo Pan Khan. The physical area where the pond is located was covered with red sand stone plank and was surrounded by historic and archaeological sites. People, believed to be civilized, settled in the area around 12th Buddhist century. 2. For current circumstances and problems of the cultural field trip resources for secondary schools in the Central area of Northeastern Thailand, the study found that the 3 archaeological sites chosen for the study carried historic, cultural and natural value for students’ field trips. The places were suitable for holding various traditional and local activities. They were the center of mind of people in the areas. As for the problems of the cultural field study resources; the study found that arrangement and management of the cultural resources for learning was not appropriate and locked of systems, the people in the community neither realized the value of such cultural resources nor participated in conservation of the sites, the areas designated for cultural field study resources were not suitable for studies, there was a lack of interpretation of the sites, places for holding students’ activities, and food and souvenir stand; toilets were not suitable and there was no one around to take visitors on site tours. 3. Concerning the management models of the cultural field trip resources for secondary schools in the Central area of Northeastern Thailand, the study found the followings: 1) The site of Mueang Fa Dad Song Yang and Phra That Yuku should determine the space areas used for exhibitions and services. The archaeological objects being displayed should be fully described. Labels should be put up wherever needed. There should a rest or relax area for visitors. The site should have clean toilets, garbage cans and a souvenir shop. For academic service, the site should give out leaflets or brochures and there should be a tourist guide who could show the people around the site. 2) For Ku Santarat, there should be labels describing the history of this Khmer ruins particularly the archaeological objects; there should be a layout plane of the site, a food stand and a rest area for visitors. Finally, people should pay admission fee so that the authority in charge may have money for maintenances. 3) For Bo Pan Khan, the author suggested that there should be sings posted along the road in order to prevent getting lost. The site was suitable for holding academic camping. There should be network of related archaeological sites in the surrounding areas. The should be exhibitions detailing identities that link to Thung Kula Ronghai. There should be an authority in charge or people’s participation in the sustainable management of the site. In conclusion, the management models of the cultural field trip resources for secondary schools in the Central area of the Northeastern Thailand should used as a guideline for management school learning resources and at the same time assisting communities to become a learning society. The schools and community members will all learn about their own culture, live happily and conserve culture together.
  การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของแหล่งศิลปวัฒนธรรมในเขตภาคอีสานตอนกลาง 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคอีสานตอนกลาง  และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคอีสานตอนกลางกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากครู นักเรียน นักวิชาการและประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ จำนวน 21 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 25คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป  จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเกต แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม (Cultural Qualitative Research) นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้อง  แล้ววิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า            1. ประวัติความเป็นมา 1) เมืองฟ้าแดดสงยางและพระธาตุยาคู  จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐ หิน มีคูเมืองสองชั้น มีมีโบราณสถานสำคัญ เช่น พระธาตุยาคู พบใบเสมาจำนวนมาก เป็นศิลปะทวารวดี ซึ่งมีการบูรณะภายหลัง นอกจากนี้เครื่องมือเครื่องใช้อันแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของชุมชนในอดีต เป็นแหล่งอารยธรรม ที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน เป็นพื้นที่ทับซ้อนหลายยุคหลายสมัย 2) กู่สันตรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม เป็นปราสาทขอมประเภทอโรคยศาล หรือสถานพยาบาล ก่อด้วยศิลาแลง คนในท้องถิ่นเข้ามาจัดกิจกรรมเดือนเมษายนของทุกปี เรียกว่าพิธีสรงกู่ 3) บ่อพันขัน จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีน้ำจืดผุดขึ้นเองตามธรรมชาติ มาอยู่ตลอดเวลา ตักเป็นพันขันก็ไม่หมดจึงเป็นที่มาของชื่อบ่อพันขัน บริเวณพื้นที่ลักษณะทางกายภาพของบ่อพันขัน เป็นลานหินทรายแดงกว้างใหญ่ บริเวณโดยรอบมีแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่เคยมีผู้คนตั้งถิ่นฐานราวพุทธศตวรรษที่ 12 บ่งบอกถึงอารยะธรรมที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต  2. สภาพปัจจุบัน ของแหล่งศิลปวัฒนธรรม ของเมืองฟ้าแดงสงยางและพระธาตุยาคู กู่สันตรัตน์ และบ่อพันขัน พบว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งทัศนศึกษาที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติ เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการจัดกิจกรรมการศึกษา และกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  อันเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของคนในชุมชน ส่วนปัญหาของแหล่งศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวต้องปรับปรุงในเรื่องการจัดบริเวณสถานที่ให้เหมาะสมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้  การบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่เห็นคุณค่าของแหล่งศิลปวัฒนธรรม ขาดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ การแบ่งพื้นที่เพื่อการศึกษายังไม่เหมาะสม ขาดการสื่อความหมายสถานที่ ไม่มีสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมของนักเรียน ไม่มีจุดจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และของที่ระลึก ห้องน้ำสำหรับบริการยังไม่เหมาะสม และไม่มีเจ้าหน้าที่แนะนำในการเข้าชมสถานที่    3. รูปแบบการจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาควรมีรูปแบบดังนี้  1) เมืองฟ้าแดดสงยางและพระธาตุยาคู ควรแบ่งพื้นที่ในการจัดแสดง และพื้นที่บริการ มีคำอธิบายเพื่อการสื่อความหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ มีป้ายแนะนำสถานที่ต่างๆ ควรมีจุดพักผู้เข้ามาชม หรือมีศาลาพักผ่อน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค ควรมีห้องน้ำสะอาด มีที่ทิ้งขยะ ที่จำหน่ายของที่ระลึก ในการนำเสนอทางวิชาการ ควรมีการบริการแจกเอกสารความรู้ แผ่นพับเกี่ยวกับแหล่งทัศนศึกษา และจัดหามัคคุเทศก์แนะนำสถานที่ 2) กู่สันตรัตน์ ในด้านบริเวณสถานที่ควรมีป้ายอธิบายความหมายของปราสาทขอม ซึ่งมีรูปเคารพ หรือเทวรูปต่างๆ ต้องจัดให้มีผังแสดงรวมของกู่สันตรัตน์  ควรมีสถานที่จำหน่ายอาหาร การจัดให้มีจุดหรือสถานที่สำหรับถ่ายภาพที่ระลึกกับตัวปราสาท  มีเอกสาร แผ่นพับสำหรับแจกผู้มาศึกษา ควรมีการจัดเก็บค่าเข้าชม เพื่อบำรุงสถานที่ 3) บ่อพันขันซึ่งเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้งและห่างไกลชุมชน มีเส้นทางที่เข้าถึงยาก ควรมีป้ายบอกทางเป็นระยะ พื้นที่เหมาะในการค่ายวิชาการ ควรสร้างเส้นทางการศึกษาเชื่อมโยงแหล่งโบราณคดีและแหล่งธรรมชาติใกล้เคียง ในด้านการจัดแสดงควรเน้นการนำเสนออัตลักษณ์ของบ่อพันขันที่เชื่อมโยงกับทุ่งกุลาร้องไห้ และต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจน หรือให้ชุมชนมีส่วนในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน โดยสรุป การจัดการแหล่งทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนให้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ และส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ นักเรียน และสมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน อันเป็นการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่และใช้วิถีการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/591
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55012160037.pdf11.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.